ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 28' 59.9999"
16.4833333
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 31' 12"
99.5200000
เลขที่ : 198142
แกงมัสมั่นกล้วยไข่
เสนอโดย กำแพงเพชร วันที่ 27 ตุลาคม 2566
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 27 ตุลาคม 2566
จังหวัด : กำแพงเพชร
1 1216
รายละเอียด

แกงมัสมั่นกล้วยไข่

ประวัติความเป็นมา

แกงมัสมั่น ซึ่งเป็นเมนูอาหารไทย ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณซึ่งถือว่าเป็นอาหารที่มีการผสมผสาน อาหารไทยและอาหารต่างชาติที่มีส่วนผสมของสมุนไพรและเครื่องเทศ จึงเป็นอาหารที่มีความลงตัวในเรื่องของโภชนาการอาหารและคุณค่าทางสมุนไพรเป็นสำคัญ

การรับประทานอาหารตำรับไทย ในสำรับต้องมีแกงเป็นหลัก แกงหลักมัสมั่นรสชาติเข้มข้นกลมกล่อมและให้พลังงาน คนชาติไทยสมัยโบราณนิยมรับประทานอาหารหลักทั้ง ๓ มื้อ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ ๕ หมู่ และต้องมีความเป็นสมุนไพรอยู่ร่วมด้วย และส่วนใหญ่จะมีสมุนไพรเป็นหลัก จึงได้ชื่อว่า”รับประทานอาหารให้เป็นยา”

ด้านความเชื่อการได้รับประทานแกงมัสมั่นกล้วยไข่ที่มีคุณค่าทางด้านอาหารแป้งและโปรตีนกล้วยไข่ ซึ่งให้ประโยชน์ในหลายๆอย่าง เช่น ให้พลังงานสูงช่วยรักษาแผลในลำไส้ ลดอาการกระเพาะอาหารอักเสบช่วยลดการเกาะตัวของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดเราจึงได้นำกล้วยไข่มาทำแกงมัสมั่นกล้วยไข่แทนมันเทศ จึงเป็นการต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับกล้วยไข่

วัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับแกงมัสมั่นกล้วยไข่

๑. พริกแกง ๒๐๐ กรัม

๒. เนื้ออกไก่หั่นชิ้นพอคำ ๕๐๐ กรัม

๓. กล้วยไข่ดิบต้มสุก ๕๐๐ กรัม

๔. หอมแดงปอกเปลือก ๑๐๐ กรัม

๕. ถั่วลิสงคั่ว ½ ถ้วยตวง

๖. หัวกะทิ ๓ ถ้วยตวง

๗. หางกะทิ ๕ ถ้วยตวง

๘. น้ำมะขามเปียก ๔ ช้อนโต๊ะ

๙. น้ำตาลมะพร้าว ๒ ช้อนโต๊ะ

๑๐. เกลือบ่น ๒ ช้อนโต๊ะ

***ส่วนผสมของน้ำพริกแกงมัสมั่นกล้วยไข่***

พริกชี้ฟ้าแดงแห้ง ๖ เม็ด

พริกแดงจินดาแห้ง ๑๐ เม็ด

กระเทียมไทย ๒ หัว

หอมแดงเผา ๕ หัว

ตะไคร้ ๒ ต้น

ข่า ๑ ช้อนโต๊ะ (๕แว่น)

ผิวมะกรูด ๑ ลูก

กะปิ ½ ช้อนโต๊ะ

ลูกผักชี ๑ ช้อนโต๊ะ

ยี่หร่า ½ ช้อนโต๊ะ

ลูกจันทร์ ๑ ลูก

ลูกกระวาน ๕ ลูก

อบเชย ๒ ชิ้น

กานพลู ๒ ดอก

เกลือ ๑ ช้อนชา

วิธีการและขั้นตอนการแกง

๑. ต้มน้ำให้เดือด หลังจากน้ำเดือดแล้วใส่กล้วยไข่ที่เตรียมไว้ลงไป ต้มในน้ำเดือดประมาณ ๓ - ๕ นาที อย่าให้สุกเกินไปตักขึ้นใส่ภาชนะที่ใส่น้ำเย็นพักไว้

๒. นำกล้วยไข่ที่แช่น้ำเย็นไว้มาหั่นชิ้นพอดีคำ และนำไปแช่น้ำมะนาวพักไว้ และนำขึ้นมาพักไว้ให้ให้สะเด็ดน้ำ

๓. ตั้งกระทะเปิดไฟอ่อนเทหัวกะทิลงไปในกระทะครึ่งถ้วย รอให้กะทิแตกมัน แล้วใส่พริกแกงลงไปผัดให้เข้ากันจนมีกลิ่นหอม

๔. ทยอยเติมหัวกะทิลงไปทีละน้อย ๆ จนหมด ค่อย ๆ ผัดให้เข้ากัน

๕. ผัดให้ไก่พอสุก แล้วนำหอมแดงเผา และถั่วลิสงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลมะพร้าว น้ำมะขามเปียกผัดให้เข้ากัน

๖. เติมหางกะทิลงไป รอให้เดือดแล้วจึงค่อย ๆ ใส่กล้วยไข่ที่ต้มเสร็จแล้วลงไป หลังจากนั้นรอให้เดือดอีกรอบ ชิมรสชาติตามรสที่ต้องการ ตักเสิร์ฟกับข้าวสวย

เคล็ดลับการปรุง

ไฟต้องสม่ำเสมอในการปรุงใช้ไฟกลางและไฟอ่อนห้ามให้กะทิแตกมันเป็นก้อนๆ กล้วยไข่ต้องไม่เละจนกลายเป็นเมือก รสชาติ อมเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม กลมกล่อมไม่เผ็ดมาก

คุณประโยชน์คุณค่าด้านสุขภาพ/โภชนาการ/สมุนไพร

๑. อบเชยรักษาผิวพรรณ

๒. หัวหอมเผาให้พลังงานสูง

๓. ตะไคร้ซอยป้องกันอัลไซเมอร์

๔. ลูกกระวานช่วยให้อารมณ์ดี

๕.ลูกผักชีช่วยรักษาแผลในกระเพาะ

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมตลอดจนระบบนิเวศซึ่งเป็นแหล่งที่มาของวัตถุดิบ
การนำกล้วยไข่มาแทนมันฝรั่งในการแกงมัสมั่นกล้วยไข่เป็นการส่งเสริมเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ผลไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชรนำมาประยุกต์เป็นอาหารคาว ที่ประสมประสานกับเครื่องเทศและแทนการใช้มันฝรั่ง ซึ่งมีราคาแพงกว่า ประกอบกับกล้วยไข่มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารและสมุนไพร ใช้เป็นอาหารคาวหวานได้ดีและกล้วยไข่ยังเป็นที่ตระกูลกล้วยที่ให้ผลผลิตที่สามารถส่งออกได้ดีทางด้านเศรษฐกิจพันธุ์เกษตรศาสตร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนกล้วยไข่ในการสร้างแบรนด์ผลไม้ไทยในต่างประเทศ จากโครงการ Branding Project-Thai Produce and Graina

การเผยแพร่และพัฒนาต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เราควรส่งเสริมสนับสนุนและรังสรรค์ให้กล้วยไข่ได้เป็นทั้งอาหาร คาว หวาน และผลไม้ ที่มีคุณค่า
หารับประทานเป็นเอกลักษณ์ของคนกำแพงเพชร รับประทานได้ทั้งในฤดูกาล และแกงมัสมั่นกล้วยไข่ได้เผยแพร่ในงานประเพณี สารทไทย - กล้วยไข่ และของดีเมืองกำแพง

อีกทั้งเป็นเมนูที่มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการร้านอาหารนำไปจัดจำหน่ายสามารถนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนด้านคหกรรมในสถานศึกษา สามารถส่งเสริมการตลาดและพัฒนาธุรกิจอาหารไทยเพื่อนำไปสู่การรณรงค์การบริโภคอาหารไทยสู่สากลได้ และสามารถพัฒนาเป็นอาหารเอกลักษณ์ท้องถิ่นได้

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ศูนย์บริรักษ์ไทย วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง อิทธิเดช เปลี่ยมแพร อีเมล์ ittidech2016@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สวจ.กำแพงเพชร
ตำบล หนองปลิง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
โทรศัพท์ 0818742430
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่