ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 50' 10.9158"
15.8363655
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 26' 16.7107"
104.4379752
เลขที่ : 198493
ถ่านกัมมันต์กระบก
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 17 เมษายน 2568
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 17 เมษายน 2568
จังหวัด : ยโสธร
0 43
รายละเอียด

สาระสำคัญโดยสังเขป: คาร์บอนอะตอมในโครงผลึกของแกรไฟต์ มี ๔ อิเล็กตรอน แต่ละอะตอมจะสร้างพันธะกับคาร์บอน ๓ อะตอมที่อยู่ใกล้เคียงกัน จึงมี ๑ อิเล็กตรอนอิสระที่เคลื่อนที่ไปทั่วภายในชั้น ด้วยเหตุนี้แกรไฟต์ จึงนำไฟฟ้าได้ดี ประกอบกับร่างกายคนเราจะมีเซลล์ในร่างกายจะมีประจุลบ ที่สูญเสียให้กับมลพิษ เช่น โทรศัพท์มือถือ การทำงาน ความเสื่อมของร่างกายตามอายุ ทำให้เกิดปัญหา ชามือ ชาเท้า รองช้ำ ถ่านกัมมันต์กระบกจึงเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่น ที่สามารถนำมาแก้ปัญหา ลด บรรเทาปัญหาของผู้สูงอายุ สร้างเสริมสุขภาพที่ดี ผ่อนคลาย และสร้างความสุข

ประวัติความเป็นมา: วิถีเดิมของชาวบ้านในพื้นที่ จะเก็บผลหรือเมล็ดกระบกหรือที่ชาวบ้านทางภาคอีสานเรียกว่าบักบก มาผ่าแล้วนำเอาเมล็ดไปขาย จะมีรสชาติและมีเนื้อคล้ายกับเมล็ดอัลมอนด์ จึงเรียกกันว่าอัลมอนด์อีสาน ส่วนเปลือกของเมล็ดจะนำไปทิ้งเนื่องจากมีความแข็ง ไม่สามารถนำไปเป็นปุ๋ยและย่อยสลายได้ยาก เพราะมีคาร์บอนในเนื้อเยอะ จึงได้นำเอาเปลือกของผลกระบกมาเผาที่มีความร้อนสูง ๑,๕๐๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง และได้นำถ่านเปลือกกระบก ส่งขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งต้องตรวจค่าดูดซับไอโอดีน ต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ มิลลิกรัม:กรัม ถึงจะผ่านมาตรฐานและพบว่าถ่านเปลือกของกระบก มีค่าดูดซับไอโอดีนตรวจได้ ๘๑๒.๑๐ มิลลิกรัม : กรัม จึงได้มีแนวคิดที่จะนำเอาถ่านเปลือกกระบกที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้แก้ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน

ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์/เอกลักษณ์/ความโดดเด่น:

๑. การใช้วัตถุดิบในพื้นที่มาแก้ปัญหาจากความเสื่อมของร่างกายผู้สูงอายุที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกายวิภาคศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย โบโลนาประเทศ อิตาลี่ ได้ค้นพบว่าร่างกายของมนุษย์เป็นสารกึ่งนำไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะและรูปแบบของอะตอม เนื่องจากในแต่ละอะตอมจะมีนิวเคลียสซึ่งประกอบไปด้วยโปรตอน (ประจุบวก) นิวตรอน (ไม่มีประจุ) และ อิเล็กตรอน (ประจุลบ) จะเห็นว่าในแต่ละเยื่อหุ้มเซลล์ในร่างกายมนุษย์ จะมีพลังงานไฟฟ้าสูงถึง ๓๐-๔๐ ไมโครโวลต์ และในคน ๑ คน มีเซลล์มากถึง ๖ แสนล้านเซลล์ดังนั้นจึงมีพลังงานประจุกระแสไฟฟ้าในร่างกายอย่างมากมายนับไม่ถ้วน มีการประมาณกันไว้ว่า พลังงานประจุไฟฟ้าในเยื่อหุ้มเซลล์ของเด็กจะมีประมาณ ๗๐-๙๐ ล้านโวลต์ ผู้สูงอายุมีต่ำกว่า ๖๐ ล้านโวลต์ ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีพลังงานประจุไฟฟ้าประมาณ ๑๕ ล้านโวลต์ และเมื่อเซลล์ตายพลังงานประจุไฟฟ้าจะเท่ากับ ๐ โวลต์ จะเห็นได้ว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจึงทำให้คนเราสูญเสียประจุลบจาการทำงาน และสภาพแวดล้อม การทำงานของเซลล์ที่มีไฟฟ้าประจุลบในปริมาณสูงซึ่งเป็นผลดีต่อระบบร่างกาย การที่เซลล์ของร่างกายได้รับประจุไฟฟ้าลบมากขึ้น ช่วยให้เกิดการลำเลียงโซเดียมและโพแทสเซียม เข้าออกจากเซลล์ได้ดีขึ้น ทำให้มีการสร้างพลังงานในระดับเซลล์ขึ้นมาใหม่และทำให้ร่างกายโดยรวมมีพลังงานมากขึ้น การใช้ถ่านกัมมันต์กระบก จึงเป็นอีกทางเลือกที่นำมาใช้ลด บรรเทา ปัญหาการชามือ ชาเท้า รองช้ำ ในผู้สูงอายุได้

๒. เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่าจากวัตถุดิบท้องถิ่น และสามารถใช้ซ้ำได้

๓. หลังการใช้ผลิตภัณฑ์แล้วสามารถนำถ่านฝังดิน ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก ลดโลกร้อน

หินกัมมันต์

ขั้นตอนทำ: นำเอาเปลือกกระบกแห้ง พร้อมกับหินธรรมชาติมาเผารวมกันที่อุณหภูมิ ๑,๕๐๐ องศาเซลเซียส นาน ๘ ชั่วโมง จะได้หินธรรมชาติที่หลอมเคลือบด้วยถ่านกัมมันต์กระบก

วิธีใช้ :

วางหินบนฝ่ามือ กำ ปล่อย ประมาณ ๕ นาที แล้วหยุดพัก กำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ไม่กำต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ถ่านสปากระบก

ขั้นตอนทำ: นำเอาเปลือกกระบกแห้ง มาเผาที่อุณหภูมิ 1,500 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง จะได้ถ่านกัมมันต์กระบกนำมาบรรจุถุงสำหรับใช้แช่ในน้ำอุ่นได้

วิธีใช้:

๑. การแช่มือ วางฝ่ามือไว้ที่ถุงถ่านในน้ำอุ่น ครั้งละ ๒๐ นาที

๒. การแช่เท้า วางเท้าสัมผัสถุงถ่านในน้ำอุ่น ครั้งละ ๒๐ นาที

๓. สามารถใช้ถุงถ่านซ้ำได้ จำนวน ๖ ครั้ง

สถานที่ตั้ง
บ้านเชียงเพ็ง
เลขที่ ๒๑๘ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล เชียงเพ็ง อำเภอ ป่าติ้ว จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายอภิชัย รุ่งโพธิ์ทอง (ริสาชาร์โคล)
บุคคลอ้างอิง นายฉัตรชัย วรรณรัตน์ อีเมล์ yasothonculture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000
โทรศัพท์ 045715137 โทรสาร 045715138
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่