กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช กำแพงเมืองเป็นกำแพงดินมีน้ำล้อมรอบอย่างที่พบที่เมืองโบราณเวียงสระ ต่อมาในสมัยหลังได้มีการก่ออิฐขึ้นบนแนวคันดิน ต่อมาในราวพ.ศ.2229 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ลามาร์วิศวกรชาวฝรั่งเศษ เข้ามาทำแผนที่และร่างแบบแปลนแผนผังป้อมกำแพงเมือง
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชตั้งอยู่ริมคลอง หน้าเมือง ถนน มุมป้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช การ สร้าง ปรากฏหลักฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อตั้งเมืองขึ้นที่ หาด ทรายแก้ว แล้วจึงสร้างกำแพง เมืองเป็นกำแพงดิน มีคูล้อมรอบ สันนิษฐานว่า มี การบูรณะกำแพง เมืองส่วนต่างๆ กันมาหลายครั้งทุกครั้ง คง พยายามรักษาแนวกำแพงเดิมไว้
ใน พ.ศ.๑๙๕๐ สมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงศรีอยุธยาตีล้านนาไทยได้ได้กวาดต้อนผู้ คนมาไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ชาวล้านนาไทยจึงนำเอาแบบอย่างการสร้างกำแพงเมืองมาจากเมืองเชียงใหม่ มาซ่อมกำแพงเมืองนครศรีธรรมราชโดยทำเป็นกำแพงแบบปักเสาพูนดิน
ในราว พ.ศ. ๒๑๐๐ เมื่อชาวโปรตุเกสนำวิธีการสร้างแบบก่ออิฐและตั้งฐานปืนใหญ่เข้ามา กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชได้ถูดดัดแปลงเป็นกำแพงก่ออิฐขึ้นเพื่อให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแรง
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นายช่างวิศวกรและสถาปนิกของฝรั่งเศสเข้ามาเมืองไทย จึงมีการสร้างกำแพงเมืองตามแบบชาโต (Chateau) กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นกำแพงเมืองที่สร้างขึ้นสมัยพระนารายณ์มหาราช
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งตรงกับสมัยที่พระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ครองเมืองนครศรีธรรมราช ได้มีการซ่อมกำแพงอีกครั้ง
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ครั้งเป็นพระยาสุขุมนัยวินิต ข้าหลวงสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลนครศรีธรรมราช สั่งให้รื้อกำแพงเมืองซึ่งชำรุดแต่ยังคงเห็นรูปทรงและใบ เสมาชัดเจน เอาอิฐมาทำถนนที่เลียบริมกำแพงด้านในทุกด้าน
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการซ่อมกำแพงด้านทิศเหนือเพียงบางส่วน ใบเสมาและแนว ป้อมจึงยังคงปรากฏให้เห็น ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พังทลายเห็นเพียงซากอิฐหรือดินเท่านั้น
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเครื่องแสดงถึงความเก่าแก่ ควนแข็งแกร่ง ความ เจริญรุ่งเรือง และประวัติศาสตร์อันยาวนาน
กำแพงเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืน ผ้ามีอาณาเขตดังนี้
ด้านทิศเหนือ กว้าง 11 เส้น 10 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงด้านนี้ ทิศตะวันออก จากวัดมุมป้อม ทิศตะวันตกจดมุมของเรือน จำกลางนครศรีธรรมราช มีคลองหน้าเมืองเป็นคู เมือง ด้านทิศใต้ กว้าง 11 เส้น 10 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้าน นี้ ทิศตะวัน ออก จากโรงเรียอนุบาลโสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ ทิศ ตะวันตกจดหัวท่า มีคลองป่าเหล้าเป็นคูเมือง ด้านทิศตะวันออก ยาว 55 เส้น 5 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมือง ด้านนี้ ทิศ เหนือ จากวัดมุมป้อม ทิศใต้จดโรงเรียนอนุบาลโสภณวิทยา โรงเรียนเทคนิคพานิชยการโสภณ คูเมืองด้านนี้ตื้นเขินเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนได้สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย ด้านทิศตะวันตก ยาว 55 เส้น 5 วา ปัจจุบันแนวซากกำแพงเมืองด้านนี้ ทิศ เหนือจากมุมเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ทิศ ใต้จดหัวท่า มีคลองจากหัวท่า มาตามแนวกำแพงมาเลี้ยวขาวที่มุมเรือนจำเป็นคลองหน้าเมือง เป็นคูเมือง
ลักษณะกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
ความสูงถึง ยอดเสมา 15 ศอก เชิงเทินหนา 22 ศอก ริมเชิงเทินสูง 2 ศอก กำแพงลึก 8 ศอก มีป้อมทั้งหมด 10 ป้อม แม่ไฟรองรับฐานกำแพงเป็นไม้ทองหลาง บนเชิงเทินมีช่องปืนตลอดแนวโดยรอบ 4 ด้าน
ประตูกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช
๑. ประตูชัยเหนือ เดิม ชื่อประตูชัยศักดิ์ เป็น ประตูเมือง ด้านทิศเหนือ หรือด้าน หน้าเมือง อยู่ตรงเชิงสะพานนคร น้อยด้านใต้ในปัจจุบัน เดิมมีสะพาน หก สำหรับ เปิด ปิดได้เป็น ประตูขนาดใหญ่ช้างม้าพาหนะทุกชนิด ผ่านเข้าออกได้ ทางด้านเหนือมีประตูเดียว
๒. ประตูชัยใต้ เดิมชื่อประตูชัยสิทธิ์ เป็นประตูเมืองด้าน ใต้ อยู่ตรงสี่แยก ประตูชัยในปัจจุบัน เป็นประตูที่มี ลักษณะเช่นเดียว กับ ประตูชัยเหนือ ทางด้านใต้มี ประตูเดียวเช่นกัน
๓. ประตูลัก เป็นประตูแรกของกำแพงด้านตะวันออก นับมา ทางทิศเหนือ เป็นประตูขนาดเล็ก เรียกว่าประตูผี เพราะเป็นทางที่เอาศพ ออกไปนอกกำแพงเมือง เพราะห้าม นำศพ ออกทางประตูชัยเหนือ และใต้
๔. ประตูโพธิ์ เป็นประตูที่สอง ของกำแพงด้านตะวันออก นับ มาจากทิศเหนือ
๕. ประตูลอด เป็นประตูที่สามของกำแพงด้านตะวันออก นับ มาจากทิศเหนือ
๖. ประตูพาน ยม (สะพานยม) เป็นประตูที่สี่ของกำแพง ด้านตะวันออก นับมา จากทิศเหนือ เรียกกันว่าประตูผี เช่นเดียวกับประตูลัก
๗. ประตูท่าม้า เป็นประตูแรกของกำแพงด้านตะวันตก นับ มาจากทิศเหนืออยู่ ตรงข้ามกับประตูโพธิ์
๘. ประตูนางงาม เป็นประตูที่สอง ของกำแพงด้าน ตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ ตรงข้ามกับประตูลอด
๙. ประตูท้ายวัง เป็นประตูที่สามของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ อยู่หลังศาลากลาง ด้านทิศใต้
๑๐. ประตูท่าชี เป็นประตูที่ สี่ ของกำแพงด้านตะวันตก นับมาจากทิศเหนือ เป็นประตูผี เช่นเดียวกับ ประตูลัก อยู่ตรงข้ามกับประตูพานยม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
มีกำแพงเมืองชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันพังทลายจนไม่ มีซาก อีกแล้วมี อยู่ทั้ง 4 ทิศ คือ
๑ กำแพงถมอยู่ทางทิศตะเหนือ บริเวณวัดกำแพงถมจนถึงบริเวณท่าแพปัจจุบัน
๒ กำแพงเซาอยู่ทางทิศตะวันตก บริเวณตำบลกำแพงเซาปัจจุบัน
๓ กำแพงโคกอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณทุ่งแพงโคก ตำบลท่าไร่ ปัจจุบัน
๔ กำแพงสูงอยู่ ทางทิศใต้ บริเวณบ้านแพงสูงหรือแคสูงปัจจุบัน