ความเป็นมาของชุมชน/หมู่บ้าน ในปี พ.ศ. ๒๒๙๕ ปี ที่แล้ว ในหมู่บ้านนี้มีสถานที่แห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นหนองน้ำและสถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยหินที่มีลักษณะเป็นรูพรุน หินชนิดนี้ภาษายาวีจะเรียกว่า กาแร ซึ่งจะมีลักษณะแข็งมาก และในหมู่บ้านแถบใกล้เคียงกับหมู่บ้านแห่งนี้ จะไม่พบหิน ลักษณะนี้เลย ด้วยเหตุนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่จึงเรียกว่า หมู่บ้านกาแร ลักษณะการตั้งบ้านเรือน การตั้งบ้านเรือนจะเรียงไปตามถนน เป็นกระจุก เป็นกลุ่ม และกระจัดกระจาย อาณาเขตของชุมชน/หมู่บ้าน ทิศเหนือ ติดต่อ ชุมชน/หมู่บ้าน ตะโละมีญอ ต.ตะปอเยาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ทิศใต้ ติดต่อ หมู่บ้านลุโบะบือซา ต.ลุโบะบือซา อยี่งอ จ.นราธิวาส ทิศตะวันออก ติดต่อ ชุมชน/หมู่บ้านพรุ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ทิศตะวันตก ติดต่อ ชุมชน/หมู่บ้าน กำปงปีแซ ต. ลุโบะบือซา อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงมีแม่น้ำไหลผ่าน ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้อ มีเพียง ๒ ฤดู คือ ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน และฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนกุมภาพันธ์ เดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนพฤศจิกายน – เดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ ๒๗-๓๐ องศาเซลเซียส ลักษณะประชากร จำนวนประชากร (ณ.เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒) มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน ๓๓๐ หลังคาเรือน โดยมีจำนวน ๓๓๐ ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น ๑,๕๑๐ คน จำนวนเฉลี่ยครัวเรือนละ ๕-๖ คน แยกประชากรชาย จำนวน ๗๔๘ คน หญิง จำนวน ๗๖๒ คน รวม ๑,๕๑๐คน การย้ายเข้า ย้ายเข้าโดยการย้ายตามคู่สมรส หรือบิดา มารดา การย้ายออก ย้ายออกโดยการย้ายตามคู่สมรส แต่น้อยมาก บ้านกาแรมีเนื้อที่ประมาณ ๕,๓๐๐ ไร่ เป็นเนื้อที่พักอาศัย ๑,๒๖๓ ไร่ เป็นเนื้อที่ทำการเกษตร ๔,๐๑๐ ไร่ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ ๒๗ ไร่ ช่วงชั้นเศรษฐกิจในชุมชน/หมู่บ้าน - กลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดในชุมชน/หมู่บ้าน มีรายได้ประมาณ ๑๖,๐๐๐ บาทต่อเดือน ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพ ทำสวน - กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำสุดในชุมชน/หมู่บ้าน มีรายได้ประมาณ ๘,๐๐๐ บาทต่อเดือน ได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพ รับจ้าง - รายได้เฉลี่ยของประชากรในชุมชน/หมู่บ้าน ๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน ศิลปะ วัฒนธรรม / ภูมิปัญญาของหมู่บ้าน / ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักการอันถูกต้องและดีงามตามหลักศาสนาอิสลาม เช่น การแต่งกาย งานเข้าสุนัต มีการถือศิลอดในเดือนรอมฎอน มีการเฉลิมฉลองวันออกบวช หรือวันละศิลอด มราเรียกว่า “วันรายออิดิลฟิตรี” มีการบริจาคทาน “ซากาต” ให้แก่ผู้ยากจน ๑. การละหมาดอิลดิ้ลฟิฏรี ๒. การละหมาดอิลดิ้ลอัฏฮา ๓. การทำอาซูรอ ๔. งานเมาลิด ๕. การทำอาตีกะห์ในเดือนรอมฏอน ด้านภูมิปัญญาของหมู่บ้าน / ชุมชน ด้านการเกษตร ๑ นายอับดุลรอแม เจ๊ะสาแม เพศชาย อายุ ๖๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๘๔ หมู่ที่๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านการเพาะปลูก มีประสบการณ์ ๑๕ ปี ๒ นายคาเดร์ มะอีซา เพศชาย อายุ ๕๒ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธ์สัตว์ มีประสบการณ์ ๑๗ ปี ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ๑ นายยูโซะ ดอเลาะ เพศชาย อายุ ๘๗ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านการตีมีด มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี ด้านการแพทย์แผนโบราณ ๑ นายหามะ ยามาลา เพศชาย อายุ ๗๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านหมอยาสมุนไพร มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี ด้านศิลปกรรม ๑ นายอาแว อาแว เพศชาย อายุ ๔๙ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๒๖/๒ หมู่ที่ ๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านการละเล่นพื้นบ้าน มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ๑ นายรอซอ ลาโอะ เพศชาย อายุ ๖๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านการประยุกต์คำสอนทางศาสนา มีประสบการณ์มากกว่า ๒๐ ปี ด้านโภชนาการ ๑ นางซารมา โตะสะมือแร เพศหญิง อายุ ๔๐ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๕ หมู่ที่๒ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เชี่ยวชาญด้านการปรุงอาหาร มีประสบการณ์มากกว่า ๑๐ ปี การคมนาคม การติดต่อกับภายนอกชุมชนชุมชน/หมู่บ้าน บ้านกาแรมีการติดต่อกับภายนอกชุมชน เช่น ตำบลอื่นๆในเขตอำเภอยี่งอ และอำเภออื่นในเขตจังหวัดนราธิวาส ถนนลาดยางเป็นสายกลางหมู่บ้านและติดกับถนนสายเอเชีย สามารถเดินทางได้สะดวกมาก และยังมีการใช้โทรศัพท์สาธารณะ ในการติดต่อระหว่างหมู่บ้าน การติดต่อภายนอกก็สะดวก ด้านสังคม ครอบครัวและเครือญาติ ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่ จะอยู่รวมกัน พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย สรุปแล้วเป็น ครอบครัวใหญ่ แรงงานในครอบครัว ส่วนมาก จะเป็นแรงงานของหัวหน้าครอบครัว กลุ่มเครือญาติ (ตระกูล) ใหญ่ในชุมชน/หมู่บ้าน ได้แก่ ความสำคัญ/ความผูกพันธ์อย่างญาติ ในชุมชน/หมู่บ้าน มีความสามัคคีกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านศาสนา ประชากรนับถือศาสนา (เรียงจากมากไปน้อย) อิสลาม ๑๐๐% มีศาสนสถานในชุมชน/หมู่บ้านจำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ มัสยิด ๑ แห่ง บาลาเซาะ ๒ แห่ง บทบาทของสถาบันศาสนาต่อกิจกรรมของชุมชนหมู่บ้าน -เป็นที่ประกอบศาสนกิจและเป็นที่ประชุมองค์กรต่าง ๆ กิจกรรมของชุมชน/หมู่บ้านที่สถาบันศาสนาเป็นแกนในการดำเนินการ -เป็นแกนนำในการดำเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวสารในชุมชน ทักษะ ฝีมือ แรงงานของหมู่บ้าน แรงงานของหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานใช้แรงอย่างเดียว ยังขาดทักษะที่ถูกต้องในการทำงาน