ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 37' 33.6972"
6.6260270
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 38' 13.6388"
101.6371219
เลขที่ : 95885
ย่านลิเภา
เสนอโดย kanungnid salo วันที่ 11 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย ปัตตานี วันที่ 27 ธันวาคม 2554
จังหวัด : ปัตตานี
1 1518
รายละเอียด

การจัดเก็บข้อมูลงานช่างฝีมือพื้นบ้าน การสานย่านลิเภานี้เป็นศิลปะเก่าแก่ของบรรพบุรุษเรา แล้วก็วัตถุดิบก็เกิดขึ้นเองภายในประเทศคือ ทางภาคใต้ที่ฝนตกมากตัวย่านลิเภานั่นก็คือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นเอง รกโดยธรรมชาติ ใต้ต้นยาง ใต้สวนยางปิดดินให้ชุ่มชื้น และที่ภาคใต้ใช้ได้ดีเพราะว่าฝนตกมาก ทำให้เกิดความเหนียว ทำให้เส้นเหนียว และอยู่ได้เป็นร้อยปี อันนี้ที่คนญี่ปุ่นบอกว่าเป็นลักษณะพิเศษของย่านลิเภา ถ้าแม้นว่าทิ้งให้แก่กับต้นแล้ว ใยของเขาจะเหนียวอยู่ได้เป็นร้อยปี โดยที่ไม่มีตัวแมลงมากัดกินเลย เพราะฉะนั้นพูดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเมืองไทย คนไทยรู้จักนำย่านลิเภามาสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋า พัด กระปุกอเนกประสงค์ ถาด พาน เป็นต้น มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ได้หมดความนิยมไประยะหนึ่ง จนเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรเห็นเถาย่านลิเภาขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าจังหวัดนราธิวาส จึงทรงฟื้นฟูการจักสานด้วยย่านลิเภาขึ้น โดยหาครูผู้มีความชำนาญมาสอน ย่านลิเภาเป็นต้นเฟิร์นประเภทเลื้อยชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นในป่าชุ่มชื้น เช่น ทางภาคใต้มี 2 ชนิด คือ สีน้ำตาลและสีดำ ย่านลิเภาที่จะนำมาจักสาน จะต้องแก่ได้ขนาด ถึงจะนำมาสารได้ เมื่อย่านลิเภาโตเต็มที่จะยาวประมาณ 2 วา ใบของย่านลิเภาจะมีลักษณะเป็นใบเล็กๆ และหงิกงอชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าละเมาะ และจะเลื้อยขึ้นพันอยู่กับต้นไม้อื่นๆ เกาะอยู่เหนือต้นไม้อื่น จึงทำให้มองเห็นได้ง่าย มีมากทางภาคใต้ แหล่งที่พบมาก คือ ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นต้น โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งถือได้ว่ามีกลุ่มคนมีฝีมือเรื่องงานจักสานย่านลิเภาอยู่มาก จึงมีกลุ่มจักสานย่านลิเภาเกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชหลากหลายกลุ่ม ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์และความงดงามโดดเด่นเฉพาะกลุ่มกันไป เช่นที่ ห้างเพชรทองบุญรัตน์ และกลุ่มจักสานย่านลิเภาบ้านหนองบัว ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งผลิตสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดในฐานะเป็นOTOPระดับ 5 ดาว การนำย่านลิเภามาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ส่งผลให้ชาวบ้านมีรายได้หลักจากการทำผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาตกเดือนละหลายพันบาท ด้วยความที่มีคุณสมบัติพิเศษของย่านลิเภาคือ มีลำต้นเหนียว ทนทาน จึงเหมาะที่จะนำมาสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือ เชี่ยนหมาก กระเป๋าหนีบ เป็นต้น ย่านลิเภาเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน เป็นเครื่องจักสานที่เป็นเอกลักษณ์ มีความปราณีต สวยงาม สามารถทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ได้หลายลวดลาย หลายรูปแบบ ได้ตามความต้องการฉะนั้น กว่าที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภาสักชิ้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก เพราะมีกรรมวิธีและขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่แพ้งานหัตถกรรมชนิดอื่นเลย และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือ มีความแข็งแรงและทนทานด้วย กระบวนการผลิต 1. เริ่มจากการนำวัสดุ ที่เรียกว่าย่านลิเภามากรีดเปลือกดำๆที่หุ้มแกนข้างในออก แล้วฉีกเปลือกเป็นเส้นละเอียด นำไปขูดกับฝากระป๋องที่เจาะรูขนาดต่างๆกัน จนได้เส้นย่านลิเภาขนาดเล็ก เรียบและละเอียดตามต้องการ ทำทีละมากๆ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ โดยส่วนที่ ยังไม่ใช้ให้ใส่ถุงพลาสติกแช่ในตู้เย็นเพื่อเก็บความชื้นไว้ จะง่ายต่อการสานเพราะเมื่อเส้นลิเภาแห้งจะสานได้ยาก 2. จากนั้นใช้หวายเป็นแกนนำในการสาน โดยนำแผ่นโลหะเจาะรูมีขนาดเรียงลำดับจากช่องใหญ่ไปยังช่องเล็กสุด เมื่อได้หวายตามขนาดที่ต้องการนำหวายมาขดเป็นวงรีเพื่อทำก้นกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ นำเส้นลิเภาที่เตรียมไว้มาสาน โดยใช้เหล็กปลายแหลมเจาะนำที่หวายให้เป็นรู แล้วนำเส้นลิเภาสอดเข้าไป โดยใช้วิธีสานสลับเดินหน้า เวลาสานมุมโค้งต้องใช้ความละเอียด สานจนได้ขนาดกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ตามต้องการ 3. เมื่อสานก้นกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ขนาดที่ต้องการแล้ว นำหวายมาขดเป็น วงรีวางให้เหลื่อมกับก้นกระเป๋าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ถ้าต้องการ ให้มีลวดลายใช้วิธีสานกลับด้านเส้นลิเภา ซึ่งจะมีสีอ่อนกว่าเล็กน้อย ระหว่างสาน ใช้มีดขูดเส้นลิเภาเพื่อเพิ่มความเรียบ 4. สำหรับการทำฝากระเป๋า การขึ้นต้นแบบเดียวกับการขึ้นก้นกระเป๋า เมื่อสานย่านลิเภาได้ 2-3 รอบ วางเส้นหวายชั้นต่อไปให้เหมือนเป็นชั้นลายพื้นก็ได้ สำหรับขนาดก็ขึ้นอยู่กับตัวกระเป๋า วัตถุดิบและอุปกรณ์ 1. ย่านลิเภา 2. หวาย 3. เข็ม 4. มีด 5. แผ่นโลหะเจาะรู (สำหรับหวาย) 6. ฝากระป่องที่เจาะรู (สำหรับย่านลิเภา) 7. ปากกาเคมีสีดำ 8. กระดาษทราย ๙. ที่ตัดเล็บ

สถานที่ตั้ง
บ้านบิลยา
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
จังหวัด ปัตตานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่