อำเภอบางมูลนาก
ที่ตั้ง
อำเภอบางมูลนาก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร จังหวัดพิจิตรตั้งอยู่ที่ ภาคกลางตอนบน ของประเทศไทย ตามหลักภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ อยู่ห่างจากจังหวัดพิจิตร ๕๒ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๒๙๗ กิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอบางมูลนาก ตั้งอยู่ที่ ถนนประเทืองถิ่น ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก
ประวัติความเป็นมา
บางมูลนาก เป็นชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก อยู่ห่างจากจังหวัดพิจิตรทางรถไฟ ๕๐ กม. และทางรยนต์ ๕๒ กม. ก่อนที่จะมาเป็นอำเภอบางมูลนากในปัจจุบันนี้นั้นท้องที่อำเภอบางมูลนากในอดีตเคยเป็นเมืองภูมิมาก่อน ซึ่งมีทำการอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลภูมิ จากคำเล่ากันต่อ ๆ มาแต่โบราณว่ามีพระธรรมยา เป็นผู้ว่าราชการเมืองตั้งแต่สมัยใดอาจจะเป็นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นหรือสมัยอยุธยาก็ได้ ปัจจุบันมีผู้สร้างศาลพระธรรมยาที่วัดหนองเต่า ตำบลภูมิ มีคนนับถือกันมากและมีคนบนบานศาลกล่าวกันอยู่เสมอจากหลักฐาน ที่พอจะค้นคว้าได้เกี่ยวกับเมืองภูมิ ก็คือจากใบบอกเมืองพิจิตรศักราช ๑๒๕๑ (พ.ศ.๒๔๓๒) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวว่า " พระณรงค์เรืองเดช" เป็นผู้ว่าราชการกรมการเมืองภูมิ และได้กล่าวถึงคำเล่าลือมาแต่โบราณเกี่ยวกับเมืองภูมิ การเก็บภาษีอากรด้วย สำหรับใบบอกเมืองพิจิตรนี้นับว่าน่าสนใจยิ่ง ซึ่งจะกล่าวไว้เป็นบางตอนดังนี้ข้าพเจ้าหลวงศรีสงคราม ปลัดผู้รักษาเมืองและกรมการเมืองพิจิตร บอกปรนนิบัตรลงมายังท่านออกพันนายเวน ขอได้นำขึ้นกราบเรียนแด่ พณ หัวเจ้าท่านลูกขุน ณ ศาลาทราบ ด้วย แต่ ตั้งข้าพเจ้าขึ้นไปรับราชการฉลองพระเดชพระคุณอยู่ ณ เมืองพิจิตร หามีข้าหลวง เสนา ภาษีอากร ไปเก็บค่านาภาษีอากรแก่ผู้ว่าราชการเมือง กรมการ และราษฎรในแขวงเมืองภูมิขึ้นเมืองพิจิตรไม่ข้าพเจ้าจึงได้แต่ถาม พระณรงค์เรืองเดช ผู้ว่าราชการกรมการเมืองภูมิ ให้ถ้อยคำแจ้งความว่าเป็นคำเล่าลือต่อ ๆ กันมาแต่โบราณ พระธรรมยาเป็นผู้ว่าราชการเมืองภูมิ ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดมิได้ปรากฎ พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกพระราชทาน ค่านาภาษีอากรใจแขวงเมืองภูมิให้แก่พระธรรมยา พระธรรมยาถึงแก่กรรมแล้ว เป็นเทพารักษ์อยู่ที่เมืองภูมิราษฎรนับถือ พระธรรมยาเทพารักษ์ว่า ศักดิ์สิทธิ์ จึงหาได้มีข้าหลวงเสนาเจ้าภาษีอากรไปเก็บค่านาภาษีอากรกับราษฎรในแขวงเมืองภูมิ...เป็นที่น่าสังเกตุว่าเมืองภูมิ เป็นเมืองขึ้นของเมืองพิจิตร และมีผู้ว่าราชการเมือง ชื่อ พระณรงค์ เรืองเดช ตรงกับใบบอกเมืองพิจิตรที่กล่าวไว้ตอนต้น
ต่อมา ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๖) การปันแขวงปกครองหัวเมือง ได้กล่าวว่าเมืองพิจิตรแบ่งเป็น ๓ อำเภอ คือ อำเภอท่าหลวง(อำเภอเมือง)อำเภอบางคลาน (ปัจจุบันคือ อำเภอโพทะเล) และเมืองภูมิ (ปัจจุบันคือ อำเภอบางมูลนาก) จึงเห็นได้ว่าเมืองพิจิตรแบ่งเป็น ๓ อำเภอ และเมืองภูมิก็กลายเป็นอำเภอหนึ่งของเมืองพิจิตรไปแล้ว แต่ก็ยังใช้เมืองภูมิอยู่ เข้าใจว่าตอนนี้ที่ว่าการอำเภอคงยังตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบลภูมิ ต่อมา พ.ศ.๒๕๔๐ จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตก เหนือวัดบางมูลนาก เข้าใจว่าเป็นบริเวณที่ตั้งโรงเรียน บางมูลนากภูมิวิทยาคมในปัจจุบันเมื่อย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอใหม่นี้ คงใช้ชื่ออำเภอภูมิอย่างเดิมไม่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางมูลนาก จากหลักฐานเรื่องนี้จะพบในพระราชหัตถเลขาคราวสมเด็จมณฑลฝ่ายเหนือในรัชกาลที่ ๕ กับรายงานตรวจราชการมณฑลพิษณุโลกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดังนี้ ในพระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือในรัชกาลที่ ๕ นั้น ปรากฎในฉบับที่ ๘ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) มีข้อความตอนหนึ่งว่าอนุสนธิ รายงานเวลา ออกเรือเวลาเช้า ๒ โมงเศษ ฝนตกพรำตลอดวันยังค่ำน้ำที่ได้ลดลงครั้งหนึ่งกลับขึ้น มาถึงพลับพลาบางมูลนากเหนือที่ว่าการอำเภอเมืองภูมิเวลาบ่าย ๓ โมง ไปดูที่ว่าราชการอำเภอทำเรียบร้อยหมดจด มี คันดินกว้างขวาง สนามหญ้าทำดี มีออฟฟิศไปรษณีย์โทรเลขตั้งอยู่ในที่นั้นด้วย ทำหมดจดเหมือนกัน สำหรับรายงานตรวจราชการมณฑลพิษณุโลกของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓) ถึงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ.๒๔๕๐)มีข้อความตอนหนึ่งว่า เวลาบ่าย ๒ โมงถึงที่พักบางมูลนาก พบพระยาศรีสุริยราชวรานุวัติ ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก มาคอยรับอยู่ที่นั่นได้ขึ้นตรวจอำเภอเมืองภูมิซึ่งตั้งที่ว่าการที่บางบุญนากนี้ หลวงศรีสงครามเป็นนายอำเภอพึ่งมาอยู่ใหม่ จากข้อความในรายงานนี้ จะเห็นว่า เมื่อมีการย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งใหม่ที่บางมูลนากนี้ ยังคงใช้ชื่ออำเภอเมืองภูมิอยู่จนกระทั่งวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๕๙ กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศใช้ชื่ออำเภอที่เปลี่ยนใหม่ให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ สำหรับที่ว่าการอำเภอเมืองภูมิ ตั้งอยู่ที่บางมูลนาก จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางมูลนาก ในปี พ.ศ.๒๔๕๙ นี้ด้วย
สำหรับชื่อ บางมูลนาก นี้ เดิมเรียกว่า บางขี้นาก เล่ากันว่า เดิมทีคลองบุษบง (เหนือตลาดบางมูลนาก) มีนากชุมนุมมาก และได้ขี้ไว้เกลื่อนกลาดคลองและหมู่บ้าน นี้จึงเรียกว่า “บางขี้นาก” ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น บางมูลนาก เพื่อให้ฟังดูไพเราะและสุภาพ ต่อมาที่ว่าการอำเภอบางมูลนากย้ายมาตั้งใหม่ ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน เมือ พ.ศ.๒๔๗๕ เรื่อยมาถึงปัจจุบัน
ลักษณะที่ตั้ง อำเภอบางมูลนาก เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร จังหวัดพิจิตรตั้งอยู่ที่ภาคกลางตอนบน ของประเทศไทย ตามหลักภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๕ อยู่ห่างจากจังหวัดพิจิตร ๕๒ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๒๙๗ กิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอบางมูลนาก ตั้งอยู่ที่ ถนนประเทืองถิ่น ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอดงเจริญ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพทะเล
ประชากร อำเภอบางมูลนาก มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน ๔๗,๙๙๑ คน ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ขนาดพื้นที่ อำเภอบางมูลนาก มีพื้นที่ประมาณ ๓๕๔.๙๔๑ ตารางกิโลเมตร
การปกครอง
อำเภอบางมูลนาก แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ออกเป็น ๙ ตำบล ๗๘ หมู่บ้าน เทศบาลเมือง ๑ แห่ง เทศบาลตำบล ๔ แห่ง
ตำบลเนินมะกอก ประกอบด้วย ๑๒ หมู่บ้าน ตำบลบางไผ่ ประกอบด้วย ๑๒ หมู่บ้าน ตำบลวังตะกู ประกอบด้วย ๑๒ หมู่บ้าน ตำบลลำประดา ประกอบด้วย ๑๐ หมู่บ้าน ตำบลหอไกร ประกอบด้วย ๙ หมู่บ้าน ตำบลวังสำโรง ประกอบด้วย ๗ หมู่บ้าน ตำบลวังกรด ประกอบด้วย ๖ หมู่บ้าน ตำบลห้วยเขน ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน ตำบลภูมิ ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน
รวมทั้งสิ้น ๗๘ หมู่บ้านมีครัวเรือน ๑๐,๙๕๙ ครัวเรือน ในเขตเทศบาลมีครัวเรือน ๔,๕๖๙ ครัวเรือน รายเฉลี่ย/คน/ปี จำนวน ๓๓,๐๗๑ บาท
ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองท้องถิ่นเป็น ๑๑ แห่ง ประกอบด้วย
เทศบาลเมืองบางมูลนาก เทศบาลตำบลบางไผ่ เทศบาลตำบลวังตะกู เทศบาลตำบลหอไกร เทศบาลตำบลเนินมะกอก องค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู องค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง องค์การบริหารส่วนตำบลภูมมิ องค์การบิรหารส่วนตำบลลำประดา องค์การบริหารส่วนตำบลวังกรด
ลักษณะภูมิประเทศ
อำเภอบางมูลนาก มีแม่น้ำน่านไหลผ่าน ลักษณะภูมิปะเทศแบ่งออกเป็น ๒ เขต คือ
(๑) ภูมิประเทศฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีลำครองหลายสายไหลผ่าน และมีน้ำมากเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น เป็นพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม
(๒) ภูมิประเทศฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน พื้นที่เป็นที่ราบเช่นกัน แต่มีคลองชลประทานซึงมีน้ำตลาดปี พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนส่วนใหญ่จึงมีอาชีพเกษตรกรรม
สถานที่สำคัญของอำเภอบางมูลนาก
1. ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตร สิรินธร
ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตร สิรินธร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลเนินมะกอก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับพระราชาอนุญาต เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ มีพื้นที่ ๙๑ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา ซึ่งนางจรัสศรี จินดาสงวน ได้ทูลเกล้าถวายให้มูลนิธิศูนย์ชัยพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับพระราชานุญาต โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ลักษณะการดำเนินงานของศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตร สิรินธร แบ่งออกเป็น ๑๓ กิจกรรมได้แก่ จุดการเรียนรู้การปลูกผัก เพราะเห็ด ปลูกพืชสมุนไพร เลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก เลี้ยงกบ สวนผักสมุนไพรพื้นบ้าน การผลิตปุ๋ยอินทรีย์การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพราะพันธุ์ปลานิล เพาะพันธุ์ปลาสวยงามและปลากัด การเลี้ยงโคนม พันธุ์ไม้ผล และกิจกรรมระบบชลประทานภายในศูนย์ฯ
2. ศาลเจ้าพ่อแก้ว
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบางมูลนาก ใกล้ที่ว่าการอำเภอบางมูลนาก เป็นศาลเจ้าหลังใหม่ที่สร้างแทนหลังเก่า เพื่อประดิษฐานองค์เจ้าพ่อแก้ว ที่ชาวบางมูลนากต่างเคารพ ซึ่งทุกปีจะมีงานงิ้วเจ้าพ่อแก้วประจำทุกเดือนธันวาคม เพื่อแห่องค์เจ้าพ่อแก้วรอบตลาดเพื่อให้ชาวบางมูลนากสักการะ ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ระดับอำเภออีกงานหนึ่ง
3. วัดห้วยเขนตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยเขน อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ ๘ กิโลเมตร ไปตามถนนสายบางมูลนาก-วังงิ้ว ภายในวัดมีโบสถ์เก่าซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอนุรักษ์ไว้ ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับเรื่องพุทธประวัติเรื่องรามเกียรติ์
4. หลวงพ่อหิน วัดท่าช้าง
วัดท่าช้าง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๓ ตำบลเนินมะกอก เป็นวัดซึ่งเป็นที่ตั้งพระพุทธรูปที่สำคัญที่ชาวบางมูลนากเคารพนับถือ คือ หลวงพ่อหิน เป็นพระพุทธรูปหินทรายและสลัก มีอายุนานนับเป็นร้อยปี ภายในวัดมีพระพุทธรูปหินที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง มีรูปปั้นช้างขนาดใหญ่ ๒ เชือก อยู่บริเวณด้านหน้าวัด
5. วัดบางมูลนาก
ตั้งอยู่ที่ตำบลบางมูลนาก ภายในวัดมีพระพุทธรูปทองสำริด(หลวงพ่อพระพุทธชินวร)ที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองอายุราว ๑๐๐ - ๑๕๐ ปี สันนิฐานว่าวัดบางมูลนากสร้างในสมัยกรุงธนบรี ประมาณ ๒๓๕ ปีได้
กลุ่มชาติพันธ์
ไทยพื้นถิ่น, ไทยเชื้อสายจีน, ไทยวน, ลาวแง้ว
เทศกาลสำคัญ
ประเพณีเจ้าพ่อแก้ว, ประเพณีเรียกขวัญข้าว, ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ วัดท่าช้าง
ของดีอำเภอบางมูลนาก (OTOP)
๑. ส้มลิ้ม
ส้มลิ้ม จากกลุ่มแปรรูปวัสดุการเกษตร ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ ๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลหอไกร มีการผลิตส้มลิ้มแผ่นเล็กๆ ตัวผลิตภัณฑ์มีลายเส้นของใบทองกาวสีสวยทำจากเนื้อมะม่วงตามธรรมชาติไม่มีสารกันบูด ไม่มีสีผสมอาหาร ทำจากมะม่วงพิมเสนแท้ รสชาติหวานซ่อนเปรี้ยว ยิ่งเคี้ยวยิ่งอร่อย การบรรจุหีบห่อสวยงาม เหมาะแก่การเป็นของฝาก
๒. ข้าวกล้องหอมมะลิแดง
เป็นข้าวกล้องปลอดสารพิษ ผลิตโดย กลุ่มผลิตข้าวปลอดภัยต่อสุขภาพบ้านโคกกระถิน หมู่ที่ ๑๐ตำบลวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
๓. ข้าวกล้องงอกหอมมะลิแดง/น้ำข้าวกล้องงอก
กลุ่มผลิตข้าวปลอดภัยต่อสุขภาพบ้านคลองขุด หมู่ที่ ๕ ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
๔.ข้าวหอมทิพย์
ตั้งอยู่ที่ ๑๐๒ หมู่ที่ ๙ ตำบลวังตะกู ข้าวทิพย์ข้าวหอมนิล เป็นข้าวปลอดสารพิษ มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนเพราะมีจมูกข้าว
๕.ข้าวสารขาวกอเดียว
ข้าวสารขาวกอเดียว จากโรงสีชุมชนบ้านห้วยเรียงกลาง ตั้งอยู่ที่ หมูที่ ๕ ตำบลวังกรด เป็นข้าวพันธ์พื้นบ้านของอำเภอบางมูลนาก ส่งเสริมการใช้สารชีวภาพในการเพาะปลูก
๖. ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งอยู่ ที่ หมู่ที่ ๖ ตำบลลำประดา และ หมู่ที่ ๖ ตำบลบางไผ่ เป็นปุ๋ยชีวภาพส่วนผสมของ มูลค้างคาวผสมดิน นำเข้าเครื่องอัดเม็ด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
๗. เห็ดโคนญี่ปุ่น
เห็ดโคนญี่ปุ่น ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลภูมิ เป็นเห็ดที่จำหน่ายสดและเก็บไว้ได้นานโดยการดองไว้ในขวด
๘. กระยาสารท
กระยาสารท ตั้งอยู่ที่ ๗๓ ถนนประเทืองถิ่น เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านในการแปรรูปอาหารถนอมอาหาร
๙. น้ำปลาปลาสร้อยแท้ตราชาติเสือ
เป็นน้ำปลาปลาสร้อยแท้ที่ผลิตโดยกลุ่มสตรีบ้านท่าหอย หมู่ที่ ๒ ตำบลบางไผ่ อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
๑๐.ไข่เค็มไอโอดีน
กลุ่มสตรีผิดอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพบ้านคลองขุดหมู่ที่ ๕ ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
๑๑. ขนมเปียะ ขนมกีบดอกลำดวน ขนมมะพร้าวแก้วหอม ขนมมะพร้าวเสวย
เป็นผลิตภัณฑ์ขนมต่างๆ จากกลุ่มสตรีบ้านห้วงกรวดใหญ่ หมู่ที่ ๙ ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้ดูแล
นายมนตรี ชุนศิริทรัพย์ นายอำเภอบางมูลนาก คนปัจจุบัน
คำขวัญอำเภอบางมูลนาก
อาหารปลาขึ้นชื่อ เลื่องลือมะม่วงแผ่น
ดินแดนหลวงพ่อหิน ถิ่นข้าวขาวกอเดียว
เที่ยวศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตร “สิรินธร”