ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 23' 59.3084"
18.3998079
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 0' 28.6722"
99.0079645
เลขที่ : 152587
บ้านแม่ขนาด
เสนอโดย tippawan_mat วันที่ 23 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 24 สิงหาคม 2555
จังหวัด : ลำพูน
2 769
รายละเอียด

โบราณสถานน่าผ่อ ผ้าทอสีสวย รวยวัฒนธรรม

ล้ำเลิศสำเนียง กระเหรี่ยงงาม นามแม่ขนาด

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านแม่ขนาด

บ้านแม่ขนาดมีแม่น้ำขะนาด หรือห้วยแม่คะนะไหลผ่าน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลำห้วยว่า “บ้านแม่ขะนาด”หรือ “บ้านแม่ขะนาดหลวง”ต่อมาเขียนเป็น “บ้านแม่ขะนาด”เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงอยู่ในพื้นที่ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน นอกจากจะเรียกว่าบ้านแม่ขนาดแล้ว ในพื้นที่ใกล้เคียงยังเรียกว่า “บ้านยางหลวง”หรือ “บ้านหลวง”ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเรียกว่า ยางขาว หรือ ยางโป เรียกตนเองว่า โพล่ง หรือ ปากะญอบ้านแม่ขนาดมีพื้นที่ติดต่อกับหมู่บ้านชาวเขาอีก 5 หมู่บ้าน คือ บ้านดอยคำ บ้านป่าเลา บ้านผาด่าน บ้านปงผางและบ้านแม่สะแงะ ซึ่งเป็นชนเผ่าปากะญอเช่นเดียวกัน ชนเผ่านี้มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง โดยเฉพาะผ้าทอด้วยกี่เอว

วิถีชีวิต

ใช้วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย ไม่พิถีพิถันและไม่ฟุ่มเฟือยตามวิถีของโพล่ง คือ อยู่ง่าย กินง่าย การแต่งกายด้วยชุดโพล่ง หรือ ปากะญอ จะสังเกตได้จาก ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วจะนุ่งผ้าถุงสีแดง คาดลายสีต่างๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและจะแต่งด้วยผ้าสีแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหญิงที่แต่งงานแล้ว ส่วนหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานจะใส่ชุดยาวสีขาวแต่งลวดลายด้วยสีต่างๆ และจะเรียกตามภาษาโพล่งว่า “มือหน่าง”ส่วนเด็กชายและผู้ชายจะแต่งเสื้อโพล่งสีแดง การเกงสะดอ หรือโสร่งก็ได้ ผู้หญิงก่อนแต่งงานจะมีการสักรอบๆ ที่หน้าแข้งเหนือข้อเท้า เพื่อแสดงว่า มีครอบครัวแล้ว ปัจจุบันการสักหน้าแข้งเริ่มจะหายไป เพราะหาผู้เชี่ยวชาญในการสักไม่ได้ ประกอบกับถูกวัฒนธรรมของชาวพื้นราบกลืน

ภาษา

ชาวไทยภูเขาเผ่าปากะญอ มีภาษาพูดเป็นของตนเอง ใช้สื่อสารกันระหว่างกันแต่กับคนพื้นราบจะใข้ภาษาพื้นเมือง

อาชีพ

ผู้ชายจะปลูกพืชตามฤดูกาล อาชีพหลักคือทำนา ทำสวน เข้าป่าล่าสัตว์ ผู้หญิงจะอยู่เฝ้าบ้านทอผ้าและหาอาหาร ตำข้าว ส่วนใหญ่แล้วจะทอผ้าใช้เอง กระบวนการจะเริ่มตั้งแต่ปลูกฝ้าย ปั่นด้าน นำมาทอและประดับตกแต่ง

การทอผ้าด้วยกี่เอว

การทอผ้า ปากะญอเรียกว่า “กะทา”หมายถึง การทอผ้าด้วยกี่เอวจะมีลวดลายสวยงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเผ่า การทอผ้าด้วยกี่เอวได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลาน ซึ่งลวดลายยังคงเป็นแบบดั้งเดิม คือ การทอลายดั้งเดิมบนผ้าสีดำ แดง ม่วง ขาว เขียว เช่น ลายผีเสื้อ กาษากะเหรี่ยง เรียกว่า “ชักกูเป็งได้”ลายดอเล็ก ๆ ภาษาถิ่นชือ “ทะเมขว้าง”ลายเม็ดเกสรเรียกว่า”เมสะคริ”ลายฟันเลื่อย เรียกว่า “ทะกายกอง”และลายที่มีเกสรเล็กๆ อยู่ในสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียกว่า “เมขว้างพะดู”ลายรูปดาวในกรอบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียกว่า “เมขว้าง”และประดับตกแต่งด้วยลูกเดือย

บ้านแม่ขนาด หมู่ที่ 8 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน

สถานที่ตั้ง
บ้านแม่ขนาด
หมู่ที่/หมู่บ้าน 8/บ้านแม่ขนาด
ตำบล ทากาศ อำเภอ แม่ทา จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง น.ส.ทิพวรรณ มาตยาบุญ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
เลขที่ 33 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/พระยืน
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053510243 โทรสาร 053510244
เว็บไซต์ province.m-culture.go.th/lamphun
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่