ชันโรงหรือแมงขี้สูดคือ ผึ้งชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นของไทยมานานแล้วโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นขึ้สูด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) การเลี้ยงชันโรง เพื่อเก็บน้ำผึ้งและไขผึ้งมีมานานแล้ววิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมคนพื้นเมืองจะตัดต้นไม้ที่มีรังชันโรงอยู่ภายในมาเลี้ยงบริเวณบ้าน ง่ายต่อการจัดการเพราะไม่มีเหล็กในจึงไม่มีอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ระยะทางในการบินไปหาอาหารไม่ไกลจากรังมากนัก น้ำผึ้งของชันโรงจะมีคุณสมบัติเป็นสารปฏิชีวนะนำไปใช้เป็นยาได้ ราคาจึงแพงกว่าน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์ถึง3เท่า
นอกจากนี้ชันโรงยังมีบทบาทสำคัญในการผสมเกสรพืชป่า ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมทำให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และคงอยู่ได้ตลอดไปแล้ว ชาวบ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม จะนำไขผึ้งหรือชาวบ้านเรียกว่าขี้สูด มาใช้ประโยชน์ในการผลิตเครื่องดนตรี ประเภท แคน แลโหวด เช่นการนำขี้สูดอุดรอยรั่วระหว่าเต้าแคนกับลูกแคน ทำให้ไม่มีรอยรั่วและทำให้ลูกแคนและเต้าแคนติดกันแน่นและนำไปติดหัวโหวดเพื่อทำปิดรอยรั่วและใช้สำหรับเป็นที่รองเป่าของโหวด ดังนั้น ขี้สูดถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่าและราคาแพงสำหรับพี่น้องบ้านท่าเรือ ที่ยึดอาชีพในการผลิและจำหน่ายเครื่องดนตรีอีสาน