ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 11' 3.6223"
17.184339541534072
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 7' 58.8109"
104.13300301958307
เลขที่ : 159756
ดอนขาม
เสนอโดย สกลนคร วันที่ 21 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 21 กันยายน 2555
จังหวัด : สกลนคร
0 1915
รายละเอียด

ดอนขาม หรือเกาะขามคือพื้นที่ดินที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำที่อยู่ในหนองหาร ซึ่งคำว่า “ดอน” ก็คือเกาะนั่นเอง ตามภาษาอีสานที่ชาวสกลนครใช้เรียกกัน ดอนขามก็เป็นดอนๆ หนึ่งในหลายๆ ดอนที่อยู่ในน้ำหนองหาร และอยู่ใกล้ฝั่งทางทิศตะวันออกและอยู่ใกล้กับชุมชนเขตเทศบาลเมืองสกลนคร มีพื้นที่ประมาณ ๔๕ ไร่ มีระดับพื้นดินสูงกว่าระดับน้ำโดยเฉลี่ยประมาณ ๒ เมตร มีความสำคัญในเชิงนิเวศวิทยา เป็นป่ารกครึ้ม มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นและไม้ผล เป็นแหล่งหากินและอยู่อาศัยของนกหลายชนิด เป็นแหล่งรวมนกเป็ดน้ำ ซึ่งอพยพหนีอากาศหนาวจากมาจากประเทศอื่น และบริเวณโดยรอบดอนมีวัชพืชน้ำปกคลุม ทำให้เป็นแหล่งวางไข่และอนุบาลนกน้ำ ความจริงสมัยก่อนดอนขามในฤดูแล้งน้ำหนองหารจะแห้งผู้คนสามารถเดินสัญจรไปยังเกาะแห่งนี้ได้โดยสะดวกและดอนแห่งนี้มีต้นมะขามเทศจำนวนมาก ลูกผลมะขามเทศเป็นอาหารของคนและพวกนกและค้างคาว คนบริเวณนี้ได้มาเก็บผลมะขามเทศ จึงให้ชื่อว่า ดอนมะขาม และต่อมาได้เรียกให้สั้นว่า “ดอนขาม” และต่อมามีการสร้างเขื่อนกั้นน้ำหนองหารที่ประตูลำน้ำก่ำ สายน้ำที่ไหลสู่แม่น้ำโขง รักษาระดับน้ำหนองหารไว้ ดอนแห่งนี้จึงเป็นเกาะอย่างถาวร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ จังหวัดสกลนครได้ทำการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อรักษาธรรมชาติเดิม โดยทำการก่อสร้างสิ่งต่างๆ เช่น อาคาร สะพานแขวน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ต้นไม้ประดับ งานปรับปรุงภูมิทัศน์ และซึ่งริมฝั่งฟากตรงข้ามกับดอนขามได้ถมดินปรับพื้นเพื่อเป็นลานจอดรถปูด้วยบล็อกปู และได้สร้างสะพานไม้โค้งให้เชื่อมติดต่อกับดอนขามและไม่สามารถจอดรถยนต์ก่อนลงไปยังดอนขาม และต่อมาจังหวัดสกลนครได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครได้ดูแล ดอนขามแห่งนี้จะอยู่ติดกับหมู่บ้านดอนเสาธง ซึ่งดอนเสาธงนั้นอดีตก็เป็นเกาะหรือดอนริมฝั่งเช่นกัน เวลาผ่านไปดอนเสาธงเปลี่ยนแปลงสภาพ จึงทำให้ประชาชนทับถมดินจึงกลายเป็นชุมชนในที่สุดเรียกหมู่บ้านดอนเสาธง ดอนขามมีลักษณะพื้นผิวค่อนข้างเรียบ ระยะทางจากคอสะพานลานจอดรถดอนขามถึงปลายดอนขาม ระยะทางยาวประมาณ ๕๒๕ ม. มีสะพานไม้โค้ง ขนาดความกว้าง ๒.๕๐ เมตร ออกแบบทางสถาปัตยกรรมโค้งและมุงหลังคาเพื่อข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามที่เป็นดอนขาม เนื่องจากระหว่างสะพานนี้จะเป็นพื้นน้ำหนองหารนั่นเอง จากริมฝั่งไปยังดอนขามประมาณ ๓๐ เมตร และในพื้นที่ดอนขามจะปลูกต้นไม้ยืนต้นเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วได้แก่ต้นกระถินณรงค์ ได้จัดทำสวนหย่อม และสร้างศาลาพักผ่อน ๖ เหลี่ยมและศาลาพักผ่อน ๔ เหลี่ยม สำหรับผู้ประสงค์ข้ามไปได้นั่งชมวิวทิวทัศน์ หลายจุด พร้อมได้สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กผิวจราจร กว้าง ๒.๕๐ ม.แนวถนนประกอบสะพานโค้งเชื่อมต่อเข้าไปยังจุดศาลาชมวิวทิวทัศน์ ซึ่งอยู่ห่างจากถนน ประมาณ ๒- ๓ เมตร นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวน กว้าง ๒.๕๐ ม. ความยาวประมาณ ๓๐ เมตร ไว้สำหรับการเดินชมวิวทิวทัศน์หนองหาร และสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กรูปทรงโค้ง กว้าง ๒.๕๐ ม. ขนาดยาว ๕ ม.ข้ามอีกจุดหนึ่งที่ห่างจากสะพานแขวนไม่มากนัก มีป้ายชื่อ ดอนขาม มี ป้อมยาม คอนขามถือว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อีกแห่งหนึ่ง ที่สามารถนำบุตรไปพักผ่อนได้ แต่สำหรับปัจจุบันดอนขามจะเป็นสถานที่ตกปลาของนักประมงและนักตกปลาสมัครเล่นที่นิยมกันไปตกปลาในวันหยุดหรือเวลาว่างๆ ดอนขามตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัวใหญ่ หมู่ที่ ๑ ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร (ผู้ให้ข้อมูล นายวรศักดิ์ ราชพิลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร โทร.๐๘๑๙๗๕๑๐๑๘)

สถานที่ตั้ง
อยู่ในเขตบ้านหนองบัวใหญ่
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/บ้านหนองบัวใหญ่
ตำบล ธาตุนาเวง อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายวรศักดิ์ ราชพิลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร
บุคคลอ้างอิง ว่าที่พันตรีประภาส สะท้านอิทธิฤทธิ์ อีเมล์ praphat2555@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อีเมล์ sakon.culture@gmail.com
ถนน สกล-กาฬสินธุ์
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042716247 โทรสาร 042716214
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่