ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 26' 41.4528"
6.4448480
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 20' 57.0476"
101.3491799
เลขที่ : 176567
ข้าวเหนียวกลอย
เสนอโดย ยะลา วันที่ 18 มกราคม 2556
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 18 มกราคม 2556
จังหวัด : ยะลา
0 700
รายละเอียด

กลอยจัดเป็นพืชล้มลุกมีหัวชนิดหนึ่ง ซึ่งนิยมบริโภคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในประเทศไทยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างโปร่ง หัวกลอยฝังอยู่ใต้ดินตื้น ๆ หัวใหญ่ ๆ โตได้เท่ากับไหกระเทียม กลอยมีอาหารจำพวกแป้ง ( Starch )อยู่มากชาวบ้านจึงขุดหัวกลอยมาต้มกิน หรือในบางทีก็จะหุงรวมกับข้าว และยังสามารถทำเป็นอาหารได้หลายรูปแบบเช่น กลอยคลุกน้ำตาลกับมะพร้าว หรือนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูล ทำเป็นข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยาหรือโรยน้ำตาลป่นปนกับงา หรือจะหั่นกลอยเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปชุบแป้งทอดกินแบบกล้วยแขกอาบน้ำตาลหรือจะทำเป็นกลอยบด กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย และบัวลอยกลอย ทั้งนี้ในประเทศไทยมีกลอยประมาณ ๓๒ ชนิด พบมากในภาคเหนือ ช่วงฤดูฝนจนถึงฤดูหนาว ชาวป่าบางเผ่านำน้ำที่คั้นจากหัวกลอยมาผสมกับยางของต้นน่อง (Antiaris toxicaria Lesch.) อาบลูกดอกเพื่อใช้ยิงสัตว์ กลอยมี ๒ ชนิด คือ ๑.กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบสีเขียว เนื้อสีขาวนวลและหยาบ ๒.
กลอยข้าวเหนียว เถาเป็นสีน้ำตาลอมดำ เมื่อนำหัวกลอยมาปอก มีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียวและรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ดังนั้นคนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าว เหนียวมากกว่า


ลักษณะใบของกลอยทั้งสองชนิดมี ๓ แฉกคล้ายใบถั่ว เส้นใบถี่ส่วนเถาจะมีหนามแหลมตลอดเถาดอกออกเป็นช่อมีดอกย่อยดอกเล็กๆสีขาวจำนวนมากหัวกลอยจะฝังในดิน ตื้นๆ มีหลายหัวติดกันเป็นกลุ่ม เท่าที่พบมีตั้งแต่ ๓ หัวถึง ๑๔ หัวใน ๑ กอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกลอยวัด ได้ตั้งแต่ ๒.๕ ซมถึง ๒๕ ซม. เนื่องจากกลอยเป็นพืชแป้งที่มีพิษอย่างแรงเพราะในเนื้อแป้งมีสารไดออสคอรีน(Dioscorine)ฉะนั้นถ้านำมารับประทานโดยไม่ทำลายสารพิษก่อนจะทำให้เกิดอาการเบื่อเมาเพราะสารนี้จะไปทำลายระบบประสาทส่วนกลางทำให้เป็นอัมพาตถ้ารับประทานสดๆ ขนาดเท่าผลมะม่วงอกร่องจะทำให้เสียชีวิตภายใน ๖ ชั่วโมง
วิธีล้างสารพิษ (Dioscorine)
ก่อนนำไปบริโภควิธีการทั่วๆไปคือปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ ๑-๑.๕ ซม.นำหัวกลอยที่หั่นแล้วใส่ในภาชนะนำไปแช่น้ำแล้วเติมเกลือลงไป กลอย ๓๐ ก.ก ใช้เกลือ ๑๐ ลิตร หรือประมาณ ๕ ก.ก แช่น้ำเกลือไว้ ๓ คืน เมื่อครบกำหนด ๓ คืน นำกลอยมาล้างน้ำวันละ ๒ ครั้ง เช้า – เย็น ครั้งละ ๕ น้ำ ทำอย่างนี้สลับกันไปมาจนครบกำหนด ๓ วัน จึงสามารถนำมารับประทานได้ ปัจจุบันการนำกลอยมาทำเป็นอาหารรับประทานหายากมาก เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาและต้องเป็นผู้ที่ความรู้มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะจึงจะสามารถนำกลอยมารับประทานได้ และในปัจจุบันต้นกลอยกลายเป็นพืชที่หายากมากขึ้นและคนในปัจจุบันก็ไม่นิยมรับประทานและไม่รู้จักว่ากลอยคืออะไร

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 บ้านมะเดื่อ ถนน โกตา-ท่าเรือ
ตำบล โกตาบารู อำเภอ รามัน จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางมณฑา แก้วจันทร์ฤทธิ์
บุคคลอ้างอิง นางสาวกนกวรรณ พรหมทัศน์ อีเมล์ k-yala@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อีเมล์ yala@m-culture.go.th
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511,073213916
เว็บไซต์ ้http://povince.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่