ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 41' 0.6691"
18.6835192
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 3' 46.6258"
99.0629516
เลขที่ : 180447
อนุสาวรีย์พญาชมภู
เสนอโดย nene1180 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
1 4240
รายละเอียด

พญาชัยชมภูหรือเจ้าพ่อพญาชมภู ซึ่งเป็นผู้ที่ถือกำเนิดอยู่ ณ แคว้นไทยเดิม บริเวณมีการแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า ได้มีการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจโดยไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เจ้าพ่อพญาชมภูเป็นแม่ทับนายกองของฝ่ายไหน จนกระทั้งเดินทางมาถึงแคว้นพระยาเม็งราย หรือจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน และได้หยุดทัพอยู่ที่จังหวัดเชียงรายประมาณ ๕ ปี แต่เนื่องจากเห็นว่าภูมิประเทศดังกล่าวไม่เหมาะสมกับการตั้งหลักปักฐาน จึงได้อพยพล่องมาทางใต้ จนถึงแคว้นเขลางนคร หรือจังหวัดลำปางในปัจจุบัน และตั้งหลักปักฐานอยู่ประมาณ ๓ ปี แต่เนื่องจากแคว้นเขลางนครในสมัยนั้นอยู่ในการปกครองของพระยาผาบ ซึ่งอพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาเช่นกน และเคยมีความขัดแย้งกัน จึงได้มีการต่อสู้และขับไล่เจ้าพ่อพญาชมภู จนได้ถอยหนีอีกครั้งหนึ่ง ผ่านแคว้นหริภุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน และอพยพมาจนถึงเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์หรือเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นมีความเจริญอย่างมาก เนื่องจากพ่อขุนเม็งรายมหาราชได้สร้างความเจริญไว้ ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศเหมาะสมในการตั้งรกราก ท่านเจ้าสพ่อพญาชมภูจึงได้ตัดสินใจตั้งรกรากอยู่ร่วมกับครอบครัวและลูกอีกสามคน ซึ่งได้แก่บริเวณแจ่งขะต๊ำในปัจจุบันและอยู่สถานที่ดังกล่าวประมาณ ๑๐ ปี

ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๑๘๐ เจ้าพ่อพญาชมภูได้ทำการสำรวจภูมิประเทศทางด้านทิศใต้ จนได้พบกับสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำมาหากิน ซึ่งชุมชนดังกล่าวคือ บ้านป่าแดง และที่นั่นเองที่เจ้าพ่อพญาชมภูได้พบรักกับนางธิ (หรือแม่อุ้ยธิ ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวพญาชมภูในปัจจุบัน)

มาวันหนึ่ง นางธิได้ออกไปเก็บผักต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบอาหาร บังเอิญได้พบกับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ซึ่งมีลักษณะใหญ่โตและงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมารสมัยสุโขมัย บริเวณวัดร้างป่าแดงนางเหลียว ทางเจ้าพ่อพญาชมภูและชาวบ้านปรึกษากันว่า สมควรที่จะบูรณะสถานที่ดังกล่าวให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาสืบไป จึงพร้อมในกันตั้งชื่อว่า วัดพญาชมภู

หลังจากเจ้าพ่อพญาชมภูได้ภรรยาอีกคนหนึ่ง ท่านก็ได้เดินทางไปมาหาสู่ระหว่างบ้านสองบ้านอยู่ตลอด และได้พัฒนาสถานที่ทั้งสองแห่งจนเจริญรุ่งเรืองสำหรับบ้านป่าแดงอดีตนั้น ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นบ้านพญาชมภูและตำบลชมภูในปัจจุบัน โดยตำบลชมภูมีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน และเจ้าพ่อพญาชมภูได้จบชีวิตลง ณ บ้านพญาชมภู นี้เอง

สถานที่ตั้ง
อนุสาวรีย์พญาชมภู
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล ชมภู อำเภอ สารภี จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสารภี
บุคคลอ้างอิง หฤท้ย พลารักษ์ อีเมล์ pharuethai@yahoo.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรม อีเมล์ pharuethai@yahoo.co.th
เลขที่ 56 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน เชียงใหม่-ลำพูน
ตำบล ยางเนิ้ง อำเภอ สารภี จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50140
โทรศัพท์ 053 322405 โทรสาร 053 322405
เว็บไซต์ culturecm.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่