ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 32' 16.4983"
14.5379162
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 59' 28.4114"
99.9912254
เลขที่ : 18503
สำเนียงสุพรรณ
เสนอโดย ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554
อนุมัติโดย สุพรรณบุรี วันที่ 16 มกราคม 2556
จังหวัด : สุพรรณบุรี
0 1212
รายละเอียด

สุพรรณบุรีเป็นเมืองนักร้องลูกทุ่ง เป็นเมืองวรรณคดี และยังเป็นเมืองประวัติศาสตร์ซึ่งมีหลักฐานทางโบราณคดียืนยันมากมาย นอกจากเป็น เมืองนักร้อง เมืองในวรรณคดี และเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นเมืองที่คนพูดสำเนียง "เหน่อ" ได้มาตรฐานอีกด้วย เรื่องนี้ถ้าไม่เชื่อคงต้องไปถาม "บุญชู" แต่ถ้าจะให้เข้าใจถึงรากเหง้าของเสียงเหน่อแล้ว สุจิตต์ วงษ์เทศ แห่งนิตยสารรายเดือนศิลปวัฒนธรรมเคยอธิบายไว้ว่า เสียงเหน่อสุพรรณเป็นสำเนียงในราชสำนัก อย่างน้อยก็ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลักฐานที่นำมายืนยัน ก็คือเสียงพากย์โขน เพราะโขนเกิดในสมัยกรุงศรีอธุยาและต้องใช้เสียงเหน่อตามแบบฉบับสุพรรณ เท่านั้นถึงจะพากย์ได้ลงตัว สำเนียงอื่นๆไม่อาจพากย์โขนได้ไพเราะอย่าง เด็ดขาด สำเนียงท้องถิ่นในประเทศไทยมีมากมายหลายสำเนียง ผู้ที่มีภูมิลำเนาคนละจังหวัดมักมีสำเนียงพูดที่แตกต่างกัน สำเนียงสุพรรณเป็นสำเนียง หนึ่งที่รู้จักโดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าบรรดาสำเนียงต่างๆในภาษาไทย สำเนียงสุพรรณเป็นสำเนียงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด แต่เท่าที่ผ่านมาสำเนียง สุพรรณมักถูกกล่าวถึงในทางลบเป็นส่วนใหญ่ คือคนต่างถิ่นมักเห็นว่าสำเนียงสุพรรณเหน่อ และมักหัวเราะอย่างขบขันเมื่อได้ยินสำเนียงนี้ ผศ.ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทย์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสำเนียง ท้องถิ่นต่างๆในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำเนียงในภาคกลาง อาจารย์กัลยามีความเห็นว่าสำเนียงสุพรรณเป็น สำเนียงที่มีความไพเราะ หาสำเนียงอื่นเปรียบเทียบได้ยาก สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เขียนถึงสำเนียงสุพรรณไว้ในหนังสือ สุพรรณบุรี 400 ปี ยุทธหัตถี ในหัวข้อเรื่องว่า คนสมัยนี้ว่า "เหน่อ" แต่คนสมัยอยุธยาว่า "สำเนียงหลวง" โดยกล่าวถึงความเป็นมาว่า ชนชาติที่จีนโบราณเรียกว่า "สยาม" มาก่อนก็คือ แคว้นสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรีนั่นเอง ฉะนั้น จากข้อความดังกล่าว เราอาจกล่าวได้ว่าสุพรรณบุรี คือที่มาแห่งคำว่า สยาม ที่เราเรียกใช้ประเทศไทยมาจนถึงรัตนโกสินทร์นี้ นอกจากนี้ ตามประวัติศาสตร์กษัตริย์เชื้อสายสุพรรณบุรี คือสมเด็จพระนครินทราธิราชหรือเจ้านครอินทร์ ทรงเป็นผู้ที่สามารถควบคุม กรุงศรีอยุธยา ไว้ในอำนาจอย่างเด็ดขาด ทำให้เมืองสุพรรณถูกลดความสำคัญลง เพราะกษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณบุรี ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา หลักฐานทางวรรณกรรม ที่เห็นชัดคือนิทานพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีกำเนิดในดินแดนแคว้นสุพรรณภูมิ ก็แพร่หลายเข้าไปในกรุงศรีอยุธยาด้วย กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จ พระศรีนครินทราธิราช มีความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามาก ยุคนี้เองที่ได้ชื่อว่า อาณาจักรแห่งสยาม อย่างแท้จริง เราไม่สามารถบอกได้อย่างแน่นอนว่าคนกรุงศรีอยุธยามีสำเนียงพูดเหมือนคนกรุงเทพหรือไม่ เพราะสมัยนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียงและคน กรุงศรีอยุธยา ก็มีหลายกลุ่มหลาย เผ่าพันธ์ แต่สำเนียงหลวงในราชสำนักน่าจะใกล้เคียงกับสำเนียง เหน่อ แบบสุพรรณ เพราะสังเกตได้จาก ร่องรอยพากษ์และเจรจาโขน เป็นพยานอยู่ เหตุที่เจรจาโขนมีสำเนียงเช่นนี้ ก็เพราะราชสำนักอยุธยาพูดจาในชีวิตประจำวันด้วยสำเนียงอย่างนั้น เมื่อโขนเป็นการละเล่นศักดิ์สิทธิ์ในราชสำนัก การสืบทอดจะต้องรักษาขนบธรรมเนียมสำคัญของสมัยโบราณเอา ไว้ให้มากที่สุด ปัจจุบันกรมศิลปากรก็ยังพากษ์และเจรจาโขนด้วยสำเนียงดั้งเดิม เป็นสำเนียงหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา สำเนียงสุพรรณมีเสียงวรรณยุกต์ส่วนใหญ่เป็นเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ จึงมีเสียงขึ้นๆลงๆทำให้เสียงเด่นขึ้น บางลักษณะมีระดับเสียงอยู่ ในช่วงสูง ทำให้สำเนียงสุพรรณ อยู่ไปในช่วงสูง จากลักษณะดังกล่าวทำให้สำเนียงสุพรรณนี้มีความไพเราะ สำเนียงสุพรรณเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ล้ำค่าของชาวสุพรรณบุรีที่ควรอนุรักษ์เพื่อรักษาไว้ ที่ต้องต่อสู้เพราะในบรรดาสำเนียงท้องถิ่นต่างๆ สำเนียงสุพรรณเหมือนจะถูก ดูถูกดูแคลนและถูกหาทางกำจัดมากที่สุดทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็มีการสอนเด็กๆ ชาวสุพรรณให้เลิกใช้ สำเนียงท้องถิ่น ส่วนทางอ้อมเกิดขึ้นเมื่อผู้ฟังแสดงอารมณ์ ขันเมื่อได้ยินสำเนียงสุพรรณ หรือกำหนดบทบาท ให้ผู้พูดสำเนียงสุพรรณในละคร หรือวรรณกรรม มักเป็นคนรับใช้ที่ทำอะไรผิดๆถูกๆ ทำให้ผู้พูดสำเนียงสุพรรณเกิดปมด้อย สำเนียงของสื่อมวลชน ที่เป็นสำเนียงมาตรฐานสื่อสาร สู่ชาวสุพรรณบุรี ทำให้เยาวชนสุพรรณบุรีเกิดค่านิยมที่ผิด คิดว่าพูดสำเนียงสุพรรณเป็นคนโบราณ ไม่ทันสมัย ด้วยเหตุผลทั้งทางประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ สำเนียงสุพรรณนับเป็นสมบัติอันล้ำค่าควรแก่การภาคภูมิใจยิ่งนัก และเป็นที่น่ายินดีว่า วรรณกรรมในยุคปัจจุบันหลายเรื่อง ที่เผยแพร่ทางสื่อมวลชนได้สะท้อนให้สังคมเห็น ว่าบุคคลที่พูดสำเนียงสุพรรณนั้นเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่า ทั้งด้านปัญญา และคุณธรรม ชาวสุพรรณหวังว่าสำเนียงสุพรรณจะคงอยู่เป็นเพชรประดับวัฒนธรรมภาษาไทย และเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม อย่างหนึ่งของ คนสุพรรณไปชั่วนิรันดร์

สถานที่ตั้ง
จังหวัดสุพรรณบุรี
หมู่ที่/หมู่บ้าน ทุกพื้นที่
อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี
บุคคลอ้างอิง ว่าที่ ร.ต.สุพัฒน์ หอมสุวรรณ อีเมล์ panloa1@hotmail.com
ถนน สุพรรณบุรี-ชัยนาท
ตำบล สนามชัย อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000
โทรศัพท์ 035-536058 โทรสาร 035-536045
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่