ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 30' 38.5862"
15.5107184
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 43' 37.0002"
104.7269445
เลขที่ : 185885
ที่ว่าการอำเภอม่วงสามสิบ
เสนอโดย Nongsanongkun วันที่ 27 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 28 มีนาคม 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
1 2221
รายละเอียด

ประวัติที่ว่าการอำเภอม่วงสามสิบ

เมื่อปี พ.ศ.2452 ได้มีพระราชโองการรวมเขตการปกครองอำเภอเกษมสีมากับอำเภออุตรูปลนิคมตั้งชื่อว่า“อำเภออุตรูอุบล”

เมื่อปี พ.ศ.2456 ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อเดิม คือ“อำเภอเกษมสีมา ”

เมื่อปี พ.ศ.2460 ได้ย้ายมาตั้งที่ว่าการที่บ้านม่วงสามสิบ และเปลี่ยนชื่อเป็น“อำเภอม่วงสามสิบ”มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อปี พ.ศ.2467 ได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นที่ บ้านม่วงสามสิบ หมู่ที่ 5 ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อปี พ.ศ.2536จึงได้รื้อที่ว่าการอำเภอหลังเก่าและได้ก่อสร้างอาคารที่ว่าการหลังใหม่ขึ้นเป็นอาคารคอนกรีตเหล็กสองชั้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

อำเภอม่วงสามสิบเป็นอำเภอเก่าแก่อำเภอหนึ่งในจำนวน 25 อำเภอ ของจังหวัดอุบลราชธานี มีประวัติและความเป็นมาโดยสรุปดังนี้

ในยุคสมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์บ้านเมืองค่อนข้างสงบพระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระบรมราโชบายที่จะจัดตั้งให้มากชั้น เพื่อเป็นกระบวนการรวบรวมไพร่พลให้เป็นปึกแผ่นมีความอุดมสมบูรณ์ ในการประกอบอาชีพของไพร่บ้านพลเมือง ด้วยพระบรมราชโอกาสดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ.2452 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเขตอำนาจการปกครองอำเภอเกษมสีมาและอำเภออุตรูปลนิคมเข้าเป็นอำเภอเดียวกัน ให้มีชื่อใหม่ว่า“อำเภออุตรูอุบล”ซึ่งมีความหมายว่าอำเภอที่ตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองอุบล มีนายอุตรู อักษรสุวรรณ (หนู อินทรีย์) เป็นนายอำเภอคนแรก โดยนายอำเภออุตรู อักษรสุวรรณ ได้พาพรรคพวกข้าราชการยกขบวนมาจากอำเภอเกษมสีมาเดิม (ปัจจุบันคือบ้านเกษมอำเภอตระการพืชผล) เดินทางรอนแรมมาหาที่ตั้งอำเภอแห่งใหม่ เมื่อมาถึงชุมชนบ้านหนองคู เห็นเป็นชัยภูมิอันเหมาะอุดมสมบูรณ์ จึงยึดเอาที่ดินส่วนหนึ่งทางตอนใดของหมู่บ้านหนองคู ตั้งเป็นที่ทำการของราชการอำเภอ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2456 ได้เปลี่ยนชื่อจากอุตรูอุบลกลับเป็นอำเภอเกษมสีมาอีกครั้ง นายอำเภออุตรู อักษรสุวรรณ ดำรงตำแหน่งจนถึง พ.ศ.2457

พ.ศ. 2458 พระวิภาคพนกิจ(หนูเล็ก สิงห์สถิตย์) มาดำรงตำแหน่งแทน นายอุตรู อักษรสุวรรณ เมื่อ พ.ศ.2459 นายเฉ็ง นิยมวัน เป็นนายอำเภอแทนพระวิภาคพนกิจ นายอำเภอเฉ็ง นั้น ได้มาพิจารณาเห็นสถานที่ตั้งอำเภอ ในขณะนี้มีบริเวณคับแคบจนเกินไป การที่จะพัฒนาขยับขยายก็เป็นไปได้ยาก เป็นเหตุให้ความเจริญเป็นไปได้ช้า จึงได้พิจารณาหาที่ตั้งอำเภอใหม่โดยได้นำข้าราชการมาพักแรมที่โคกดอนยูง ในขณะนั้นยังมีผู้เฒ่าผู้แก่คนหนึ่ง ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านม่วงซึ่งเป็นญาติผู้ใหญ่ของพระครูวจีสุนทร ทองญาณวรมหาเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วงสามสิบ อดีตเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ ได้ทราบข่าวมาว่ามีนายอำเภอพร้อมด้วยข้าราชการได้มาพักแรมอยู่ที่โคกดอนยูง เพื่อหาที่ตั้งอำเภอจึงได้ออกไปต้อนรับทักทายปราศรัยด้วยความยินดีแล้วได้มีศรัทธาที่ดินแปลงหนึ่งให้ซึ่งที่ดินแปลงนั้นอยู่ทางใต้ของโนนบ้านม่วงเป็นชัยภูมิอันเหมาะอย่างยิ่งที่จะตั้งเป็นที่ทำการอำเภอแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2460

ครั้นต่อมาเห็นว่าสถานที่ที่ตั้งทำการอำเภอนั้นยังแคบอยู่ จึงได้ย้ายที่ทำการอำเภอไปสร้างขึ้นบนที่ดินแหล่งใหม่อีกไกลจากที่ตั้งเดิมประมาณ 10 กว่าเส้น ประกอบกับขณะนั้นได้มีการตัดถนนใหม่จากจังหวัดอุบลราชธานีผ่านอำเภอนี้ ไปยังอำเภอเลิงนกทา เพื่อให้การเดินทางติดต่อราชการมีความสะดวกยิ่งขึ้นถนนสายใหม่ที่ว่านี้คือ ถนนชยางกูรในปัจจุบันนี้เอง และเปลี่ยนชื่ออำเภอเสียใหม่ว่า“อำเภอม่วงสามสิบ”ตามชื่อหมู่บ้านเดิม บ้านม่วงจึงได้กลายเป็นอำเภอตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 เป็นต้นมา โดยมีขุนศรีสุทัศน์ (มล อนุชิต) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ เมื่อ พ.ศ.2467 ได้ก่อสร้างอาคารที่ว่าการโดยใช้งบประมาณของทางราชการ จำนวน 50,000 บาท ราษฎรบริจาคสมทบ จำนวน 25,711.50 บาท

อำเภอม่วงสามสิบ มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอม่วงสามสิบมาแล้ว จำนวน 48 คน ปัจจุบัน (พ.ศ.2556) มี นายพีระศักดิ์ องกิตติกุล เป็นนายอำเภอม่วงสามสิบ

สถานที่ตั้ง
บ้านม่วงสามสิบ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕/บ้านม่วงสามสิบ ถนน ชยางกูร
ตำบล ม่วงสามสิบ อำเภอ ม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางสาวสุรีฉาย อริกุล ปลัดอำเภอ
บุคคลอ้างอิง สนองคุณ ทักทาย อีเมล์ Nongsanongkun@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕/ บ้านม่วงสามสิบ ถนน ชยางกูร
ตำบล ม่วงสามสิบ อำเภอ ม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34140
โทรศัพท์ 0868759050 โทรสาร 045489132
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่