ป้อมเมืองสงขลาหัวเขาแดง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นเมื่อพ.ศ. ๒๔๘๙ เป็นป้อม ปราการที่แข็งแรงมาก สร้างขึ้นทั้งหมด ๑๔ ป้อม ได้แก่ ๑. ป้อมบนที่ราบและเชิงเขา 5 ป้อม ได้แก่ ป้อมหมายเลข ๑,๒,๓,๑๒,๑๓และ9หรือป้อม เชิงเขาน้อย ซึ่งเป็นป้อมที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ตั้งอยู่ริมทางหลวงหมายเลข ๔๐๘ ช่วงสิงหนคร- เกาะยอ มีลักษณะเป็นป้อมที่ก่อด้วยอิฐและหินถือปูนรูปสี่เหลี่ยม มีช่องทางเข้า หรือบันได อยู่ทางด้านในหรือด้านข้าง ส่วนบนทําเป็นเชิงเทิน มีช่องมองสลับใบบังรูป สี่เหลี่ยมอยู่โดยรอบ ด้านนอกมีเสาค้ำยันเพื่อป้องกันแรงกระแทกจากปืนใหญ่ที่ใช้งานอยู่ ตอนบน แต่ละด้านมีช่องเสมาสําหรับวางปืนใหญ่ 3 ช่อง เป็นป้อมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ตะวันตก
๒. ป้อมบนภูเขาและลาดเขา ได้แก่ป้อมหมายเลข ๔,๕,๖,๗,๘,๑๑และ๑๔ มีลักษณะเป็น ช่องสี่เหลี่ยม มีช่องมองและใบบัง มีช่องเสียบไม้เสาธง เป็นป้อมสังเกตการณ์และส่งสัญญาณคือป้อมหมายเลข ๘ ป้อมปากน้ำเขาแดงและป้อมหมายเลข 5 บนเขาค่ายม่วง รวมป้อมบนเขาและลาดเขา ๗ ป้อม
๓. ป้อมในทะเล ๑ ป้อม มีลักษณะเช่นเดียวกันกับป้อมบนที่ราบ แต่เดิมคงเป็นป้อมที่ตั้งอยู่ ตามแนวชายทะเลด้านหลังเมือง และคงพังทลายลงด้วยภัยธรรมชาติในเวลาต่อมา จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายฉบับ ยืนยันว่าสงขลาตั้งแต่สมัยดาโต๊ะ โมกอล ผู้สําเร็จราชการเมืองคนแรก เริ่มก่อสร้างท่าเรือและป้อมปราการขึ้น และต่อมาสุลต่าลสุไล มาลได้สร้างค่าย คู ประตู หอรบ กําแพงและป้อมปราการขึ้นอย่างแข็งแรงแน่นหนา จึงถือ เป็นอนุสรณ์สถานดังปรากฏหลักฐานให้เห็นดังทุกวันนี้