บ้านหอกลอง ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำนา ข้าวจึงเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่เป็นพืชที่ใช้บริโภคสำหรับสมาชิกในครัวเรือน และชาวบ้านยังยกย่องและสำนึกในบุญคุณของข้าว โดยเชื่อว่ามีเทพคอยดูแลรักษา จึงสอนบุตรหลานไม่ให้ทิ้งข้าวโดยตักข้าวแต่พอรับประทาน ดังนั้นข้าวสวยที่หุงติดก้นหม้อ จึงมีชาวบ้านคิดวิธีถนอมอาหารด้วยการนำข้าวที่ติดก้นหม้อเป็นแพไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปทอดให้พองเหลือง กรอบ เรียกว่าข้างตัง และคิดวิธีประดิษฐ์หน้าข้าวตัง เพื่อรับประทานเป็นอาหารว่างร่วมกัน เช่นข้าวตังหน้าตั้ง ข้างตังเมี่ยงลาว ต่อมาได้พัฒนาให้เหมาะสมกับรสนิยมของผู้บริโภคให้มีหลากหลายหน้าข้าวตังขึ้น และเมื่อมีการผลิตมากขึ้นตามความนิยมของผู้บริโภค ทางผู้นำชุมชนจึงได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพผลิตข้าวตังหมูหยอง และ ข้าวแตนรสต่าง ๆ ขึ้น เดิมทีข้าวตังหมูหยองเป็นการแปรรูปผลผลิต คือข้าวที่คนในชุมชนปลูกไว้รับประทานเป็นอาหารหลัก และเหลือรับประทานนำมาแปรรูปเป็นขนมข้าวตัง เป็นอาหารว่าง และแบ่งปันกันรับประมานในชุมชน เมื่อ ปี พ.ศ.2540 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีการเลิกจ้างงานของโรงงานอุตสาหกรรม ผู้คนต้องอพยพกลับถิ่นฐานเดิม และมีบางส่วนนำความรู้ที่ได้จากการไปรับจ้างในโรงงานผลิตข้างตังหมูหยองในตัวเมือง มาถ่ายทอดและพัฒนาความรู้ดังเดิมที่มีการทำข้าวตังจาการหุงข้าวกระทะในงานวัด และงานต่าง ๆ ในชุมชน ต่อมาเกิดการรวมตัวกันของกลุ่มสตรีแม่บ้าน เพื่อผลิตข้าวตังโรยหน้าด้วยหมูหยองจำหน่ายในชุมชน