ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 32' 15.7069"
13.537696374591796
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 35' 1.7197"
100.58381101762689
เลขที่ : 58148
ป้อมพระจุลจอมเกล้า
เสนอโดย admin group วันที่ 12 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย สมุทรปราการ วันที่ 17 มิถุนายน 2555
จังหวัด : สมุทรปราการ
1 771
รายละเอียด

สถานที่:
ที่ตั้ง:ป้อมพระจุลฯตั้งอยู่ที่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา
หมู่ 5 ถนนสุขสวัสดิ์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02 - 4756213 ตำบลแหลมฟ้าผ่า, อำเภอพระสมุทรเจดีย์, อยู่ห่างจากพระสมุทรเจดีย์ 7 กม. บนถนนสุขสวัสดิ์

เวลาทำการ: ทุกวัน ตั้งแต่ 7 นาฬิกา - 18 นาฬิกา
ค่าเข้าชม: ฟรี
Chu



ป้อมพระจุลจอมเกล้า หรือ ป้อมพระจุล
- ตั้งอยู่บริเวณริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า
อยู่ห่างจากแยกพระสมุทรเจดีย์ ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ เดินทาง
โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 303 ประมาณ 7 กิโลเมตร หรือ
สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศสาย 20
ป้อมพระจุลฯ-ท่าดินแดง เป็นป้อมที่ทันสมัยและมีบทบาท
สำคัญยิ่งในการปกป้องอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นที่ทำการยิงต่อสู้
กับอริราชศัตรูมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436)
เป็นป้อมที่จารึกอยู่ในความทรงจำของคนไทยและประวัติศาสตร์
ชาติไทยมายาวนาน เพราะในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า ประเทศอังกฤษ
และฝรั่งเศสกำลังแสวงหาเมืองขึ้น บรรดาประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดเขต
แดนไทย ก็ถูกประเทศทั้งสองเข้าครอบครองไปหมดแล้ว นับเป็น
ภัยใหญ่หลวงสำหรับประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทย พระองค์จึงทรง
หาวิธีป้องกันต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันทางน้ำ ทรงดำริให้
ปรับปรุงป้อมต่างๆ ทางปากน้ำ โดยจ้างชาวต่างประเทศที่ชำนาญการ
ทหารเรือเป็นที่ปรึกษาวางแผนในการปรับปรุง กิจการทหารเรือ
ในครั้งนั้นด้วย

ภายในป้อมพระจุลจอมเกล้ามีสิ่งที่น่าสนใจคือ:
1. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯอยู่หัว
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้มีความสง่างามยิ่ง โดยทรงฉลองพระองค์
ในชุดจอมทัพเรือ พระหัตถ์ถือกระบี่ นอกจากนี้ภูมิทัศน์โดยรอบ
ยังแวดล้อมไปด้วยแมกไม้นานาชนิดดูร่มรื่น ใต้ฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ
เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้าฯ
และเหตุการณ์ในสมัย ร.ศ. 122

2. พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง เป็นเรือรบประจำการมีอายุการใช้งาน
นานที่สุดในกองทัพเรือเป็นเวลากว่า 60 ปี จนกระทั่งกระทรวงกลาโหม
ได้พิจารณาเห็นว่ามีสภาพทรุดโทรมมากจึงปลดประจำการ เพื่ออนุรักษ์
เป็นพิพิธภัณฑ์


3. อุทยานฯ ประวัติศาสตร์ทหารเรือ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่ทรงมี
พระชนม์มายุครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2545 สำหรับอุทยาน
ประวัติศาสตร์ทหารเรือนั้น ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ จัดแสดง
ภาพความเสียหายจากการรบ และภาพสู่การพัฒนากองทัพเรือ
นอกจากนั้นภายในอุทยานฯ ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์อาวุธ-
ยุทโธปกรณ์กลางแจ้ง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งแสดงถึง
วิวัฒนาการของกองทัพเรือในการป้องกันประเทศตลอดจนบทบาท
ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ


- กลุ่มปืนเสือหมอบ ซึ่งเป็นปืนรุ่นแรกที่บรรจุทางท้ายกระบอก และเป็น
อาวุธปืนหลุมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ.2436)

- กลุ่มปืนและอาวุธสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
- กลุ่มปืนและอาวุธในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1, 2 ยุทธนาวีที่เกาะช้าง
- กลุ่มปืนและอาวุธที่กองทัพเรือมีใช้ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
จนถึงปัจจุบัน

- การจัดแสดงสิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึง
บทบาทของกองทัพเรือในยามสงบ และการรักษาผลประโยชน์ของ
ชาติทางทะเล


นอกจากนั้นยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ที่นักท่องเที่ยว
สามารถ ชมป่าชายเลนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกระยาง นกนางนวล
ปลาตีน ปูลม หรือปูก้ามดาบ ป้อมพระจุลฯ เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน
ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00–18.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชมแต่อย่างใด
ผู้เข้าชมต้องขออนุญาตจากกองรักษาการณ์บริเวณหน้าประตูป้อมฯ
และแลกบัตรประจำตัวไว้ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการ
วิทยากรนำชมสถานที่ต้องทำหนังสือถึง พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2475 6109,
0 2475 6259, 0 2475 8845 และ 0 2475 6357
(ข้อมูลจาก: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)




สถานที่ตั้ง
ป้อมพระจุลจอมเกล้า
หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 ถนน สุขสวัสดิ์
ตำบล แหลมฟ้าผ่า อำเภอ พระสมุทรเจดีย์ จังหวัด สมุทรปราการ
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.paknam.com/thai/chulachomklao-fort.html
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่