ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 5' 46.2566"
13.0961824
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 3' 45.6145"
100.0626707
เลขที่ : 110712
รำโทน
เสนอโดย พิเชษฐ สวจ.เพชรบุรี วันที่ 30 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย เพชรบุรี วันที่ 13 ธันวาคม 2554
จังหวัด : เพชรบุรี
0 1251
รายละเอียด

รำโทน เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เล่นกันทั่วไปในกลุ่มจังหวัดภาคกลาง รำโทนจะก่อกำเนิดขึ้นในยุคใดสมัยใดไม่ปรากฏแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่า เล่นสืบต่อกันมานานหลายชั่วคน ท่ารำของรำโทนเป็นการรำที่มีลักษณะเรียกว่า “รำใช้บท” หรือ “รำตีบท” ด้วยเหตุที่มีการร้อง และรำเข้ากับจังหวะเสียงโทน จึงเรียกว่า “รำโทน”

ปัจจุบ้ัน ชาวตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ยังมีการสืบทอดรำโทน มาตั้งแต่ โบราณกาล จนถึง ปัจจุบัน ซึ่งมีป้าเจื้อย เพิ่มสิน ปัจจุบัน อายุ 64 ปี เกิดเมื่อ ปี พ.ศ. 2480 ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ 1 ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โทรศัพท์ 032 405218 เป็นผู้สืบทอดเพลงรำโทน และพยายามที่ถ่ายทอดให้ลูกหลาน เยาวชนตำบลบางแก้ว ได้อนุรักษืศิลปะการแสดงเรื่องรำโทนเอาไว้

ลักษณะท่ารำของการรำโทน จะมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านคิดสร้างสรรค์เป็นศิลปะประจำท้องถิ่น มีรูปแบบท่าทาง ท่วงที ท่ารำตามบทเพลงในแต่ละเพลง ที่เล่นกันมาแต่โบราณ

อุปกรณ์การเล่น

โทน เครื่องดนตรี เดิมใช้ "โทน" ตีให้จังหวะ "ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น ป๊ะ โท่น โท่น" หรือ"ป๊ะ โท่น โท่น ป๊ะ โท่น โท่น" ใช้โทนใบเดียวหรือหลายใบก็ได้ ต่อมานิยมใช้ "รำมะนา" แทนเพราะเสียงดังไพเราะและเร้าใจดีกว่า อาจใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถังน้ำมันตีให้จังหวะแทนก็ได้ นอกจากนี้อาจจะใช้ฉิ่งตีให้จังหวะได้อีกด้วย
วิธีการเล่น

ผู้เล่นชายจะโค้งชวนหญิงออกมารำเป็นคู่ ๆ ช่วยกันร้องรำตามกันไปเป็นวง นักดนตรีก็ตีโทนให้จังหวะเร้าใจ เพลงหนึ่งๆ จะร้องซ้ำ ๓-๔ เที่ยวก็จะเปลี่ยนเพลงต่อไป การรำไม่มีท่ารำแน่นอนตายตัวมักเป็นการใส่ท่าตามเนื้อร้อง ใครต้องการรำคู่กับใครก็เปลี่ยนคู่รำกันตามใจ เด็กๆ หรือผู้มาดูก็ยืนล้อมวง อาจช่วยปรบมือและร้องตามไปด้วยอย่างสนุกสนาน ผู้เล่นรำโทนแต่งกายสวยงามตามสบายตามสมัย ไม่มีระเบียบแบบแผนอะไรแน่นอนตายตัว
โอกาสที่เล่น

การเล่นรำโทน ไม่มีโอกาสที่แน่นอน ชาวบ้านนึกอยากจะเล่นเมื่อใดก็ชวนกันมาเล่นที่ลานบ้านคนใดคนหนึ่ง จะเล่นตอนกลางคืนเท่านั้นมักเริ่มเล่นตอนหัวค่ำ เล่นกันไปเรื่อยๆ จนไม่มีคนเล่นหรือง่วงนอนกันมากแล้วก็จะเลิกเล่น แยกย้ายกันกลับบ้านของตน

คุณค่า
หนุ่มสาวสมัยก่อนเล่นรำโทนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เพื่อพักผ่อนหย่อนใจยามเหงาหรือยามค่ำ เป็นการเพิ่มชีวิตชีวาให้กับชีวิต เพลงที่ใช้ร้องมักเป็นเพลงที่มีเนื้อร้องง่ายๆ เป็นเพลงสั้นๆ ไม่มีชื่อเพลงเฉพาะ มักเรียกชื่อตามวรรคแรกของเนื้อร้อง ไม่บอกชื่อผู้แต่งใครอยากแต่งขึ้นมาใหม่ก็ได้ จำกันร้องตามกันต่อๆ มา เนื้อร้องมักเป็นการเกี้ยวพาราสี ปลุกใจหรือสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่หรือมาจากวรรณคดีไทย เช่น ใครรักใครโค้งใคร สาวรำวง เป็นต้น

คำสำคัญ
รำโทน
สถานที่ตั้ง
ตำบลบางแก้ว
เลขที่ 19 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล บางแก้ว อำเภอ บ้านแหลม จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง นางสาวลางสาด พุ่มดอกไม้
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี อีเมล์ petburi_culture@hotmail.com
ถนน ดำเนินเกษม
ตำบล คลองกระแชง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76000
โทรศัพท์ 032-424324 โทรสาร 032-424325
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/petchaburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่