ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 7.9999"
14.3522222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 36.0001"
100.5766667
เลขที่ : 139583
ตุ๊กตาดินเผา
เสนอโดย chaosam วันที่ 16 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 13 สิงหาคม 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 3325
รายละเอียด

ตุ๊กตาดินเผา ทำเป็นรูปผู้ชายนั่งอุ้มไก่ แสดงถึงวัฒนธรรมการละเล่นของคนไทยในสมัยอยุธยา ศิลปะอยุธยา

เครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยา

ตลอดระยะเวลาของการดำรงอยู่แห่งอาณาจักรพระนครศรีอยุธยา ๔๑๗ ปีนั้น ความมั่งคั่ง

ของอาณาจักรแห่งนี้เป็นผลมาจากการค้าขายทั้งในอาณาจักรและนอกอาณาจักร เมืองอยุธยานั้น

เป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำคัญ พร้อมกับเป็นแหล่งพักสินค้าที่มาจากต่างประเทศ

เครื่องปั้นดินเผานั้นก็เป็นสินค้าที่อยุธยาผลิตมากแห่งหนึ่ง เพราะพื้นที่บริเวณ

รอบเกาะเมืองนั้นเป็นที่ลุ่ม มีดินเหนียวที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่แล้ว

เป็นการผลิตเพื่อใช้ในเกาะเมืองจึงมีลักษณะที่ไม่งดงามมากนัก เน้นประโยชน์ใช้สอย หลักฐาน

ทางโบราณคดีที่พบเช่นท่อประปาดินเผา เตาไฟ โอ่ง อ่าง กระถาง หม้อ ไห ล้วนแต่เป็นสิ่งของ

เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นของเล่นต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตา กรงจิ้งหรีด รูปสัตว์ต่าง ๆ

และรูปฝรั่งสวมหมวกจูงสุนัข ซึ่งสะท้อนภาพของความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมของอยุธยาได้เป็นอย่างดี

อาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผาจึงเป็นอาชีพของบรรพชนไทยมาแต่โบราณกาล

คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา

ตอนปลายระบุถึงย่านการค้าต่าง ๆ ในเกาะเมืองอยุธยาและในบริเวณใกล้เคียง ความตอนหนึ่งว่า

“บ้านม่อปั้นม่อแกงใหญ่เลก แลกะทะ เตาขนมครก ขนมเบื้อง เตาไฟ ตะเกียงใต้

ตะคันเชิงไฟพานภู่มสีผึ้งถวายพระเข้าวษา บาตร์ดิน กะโถนดิน ๑ บ้านกระเบื้อง ทำกระเบื้อง

ผู้มียแลกระเบื้องเกลดเต่า กระเบื้องขอกระเบื้องลูกฟูกฃาย ๑ บ้านศาลาปูน ตั้งเตาทำปูนแดงฃาย

๑ บ้านฃาหลวง พวกจีนตั้งโรงต้มสุราฃาย ๑ บ้านห้าตำบลนี้อยู่ในแขวงเกาะทุ่งขวัญ.... บ้านคนที่ปั้นกระโถนดิน กระถางดินปลูกต้นไม้ แลตะคันเชิงไฟเตาไฟและปั้นรูปช้างรูปม้าตุกตาต่าง ๆ ฃาย ๑ “

หลักฐานเครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยาที่พบยังมีเตาเชิงกรานขนาดใหญ่ พร้อมหวดที่ทำจาก

ดินเผาเจาะรูสำหรับตั้งบนเตาเชิงกราน หม้อตาลขนาดต่าง ๆ หม้อทะนน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใช้สอยใน

ครัวเรือนของคนไทยมาแต่โบราณ

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
บุคคลอ้างอิง นางวิไลวรรณ ไกรสกุล อีเมล์ aoywilai@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 089-0537664 โทรสาร 035-241587 ,03524457
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่