ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 32' 38.3561"
15.5439878
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 1' 35.7341"
103.0265928
เลขที่ : 154236
พระเจ้าใหญ่วัดหงส์
เสนอโดย บุรีรัมย์ วันที่ 30 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย บุรีรัมย์ วันที่ 30 สิงหาคม 2555
จังหวัด : บุรีรัมย์
0 803
รายละเอียด

พระเจ้าใหญ่วัดหงษ์ เป็นพระพุทธรูปโบราณ ปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 133 ชม. สูง 222 ซม. ไม่มีใครทราบว่าพระเจ้าใหญ่สร้างขึ้นเมื่อใด แต่มีผู้อ่านอักษรขอมที่ปรากฎอยู่บนแผ่นหลังขององค์พระเจ้าใหญ่ทราบความว่า "สร้างเมื่อ พ.ศ. 8" ซึ่งน่าจะหมายความว่า สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 (พ.ศ. 700 -800 ) ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากอาณาจักรจำปาแห่งอินเดียแผ่เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ((ซึ่งศิลปะจำปา จะนิยมสร้างพระพุทธรูปเนื้อผง หรือ เนื้อว่าน)

การค้นพบพระเจ้าใหญ่

1.ยุคสมัยทราวดี (ประมาณ พ.ศ. 1000-พ.ศ.1600 ) ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการขุดดินรอบพระเจ้าใหญ่ เพื่อทำการก่อสร้างวิหารใหม่ได้พบพระพิมพ์รวมปราง (เป็นแผ่น) สูงประมาณ 60-70 ซม.ถูกฝังไว้ตรงช่องซากประตูโบราณพอดี มีฝรั่งท่านมาดูและพูดว่า เป็นพระสมัยทวารวดี เนื้อสำริด พระองค์นี้สวยมาก ประมาณค่ามิได้ สันนิษฐานว่าน่าจะฝังไว้คอยเฝ้าองค์พระเจ้าใหญ่ ชุมชนยุคนี้น่าจะเป็นยุคแรกที่ค้นพบพระเจ้าใหญ่ แล้วสร้างวิหารครอบองค์พระเจ้าใหญ่จึงพบพระยุคนี้ฝังไว้ในดิน (พระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปจากวัดนานแล้วไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด ซึ่งทางวัดกำลังดำเนินการสืบหาเพื่อให้ได้กลับคืนมา)

2.ยุคขอมเรืองอำนาจ (ประมาณ พ.ศ.1600-1700) ชุมชนในยุคนี้เมื่อพบพระเจ้าใหญ่และรู้เรื่องราวของพระเจ้าใหญ่ จึงจารึกอักษรขอมไว้ เช่น จารึกบนแผ่นหลังองค์พระเจ้าใหญ่ จารึกบนแผ่นดินเผา จารึกบนแผ่นหินเป็นต้น

3.ยุคท้าวศรีปาก (นา) (ประมาณ พ.ศ. 1790) เจ้าเมืองลาวและไพร่พลติดตามแรดตัวใหญ่มาพบพระเจ้าใหญ่จากการขุดเพื่อบูรณะเมื่อปี 2513 ได้พบพระพุทธรูปบูชาศิลปะลาว ทั้งเนื้อผง เนื้อดินเผา เนื้อสำริด เน้อทองคำ วางเป็นระเบียบอยู่ในไหนับร้อยไห ในยุคนี้ได้มีการสร้างพระนอแรดและเจดีย์ (พระนอแรดชมได้ที่บนวิหารพระเจ้าใหญ่ ส่วนเจดีย์ถูกสร้างครอบไว้ด้วยเจดีย์ใหม่ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารพระเจ้าใหญ่) หลังจากนั้นเป็นเวลานาน พระเจ้าใหญ่ถูกทิ้งร้าง ซากปรักหักพังถูกดินทับถม แม้แต่องค์พระเจ้าใหญ่ก็ถูกดินทับถม เกิดเป็นจอมปลวกขึ้นปกคลุมจนไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นพระพุทธรูป

4.ยุคพรานป่า 2 คน คือ อุปฮาดทาทอง(ยศ) และอุปฮาดเหล็กสะท้านไกรสร (ประมาณพ.ศ.2200) ได้ติดตามหงส์ตัวหนึ่งเข้ามาในป่าบริเวณนี้ พอเข้ามาปรากฎว่าหงส์ตัวนั้นหายไปอย่างลึกลับ ทั้งๆที่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด ทันใดนั้นทั้งสองได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ในลักษณะผุดขึ้นมาจากพื้นดิน (คงจะเป็นเพราะดินปลวกถูกร่อนลงมาบางส่วนตามธรรมชาติ) จึงหยุดตามหงส์ และกลับไปชวนพี่น้องมาตั้งรกรากอยู่ ณ ที่นี้

ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่ที่มีผู้คนลำลือไปทุกหนทุกแห่งคือ

1.การสาบานเลิกสิ่งเสพติดของมึนเมา ผู้ใดปฏิบัติได้ ชีวิตจะพบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ถ้าผิดคำสาบานจะมีอันเป็นไปต่างๆนานา

2.การสาบานเมื่อตกลงกันไม่ได้ หรือการหาผู้ทำผิดไม่ได้ ซึ่งเมื่อผู้ใดทำผิดก็จะมีอันเป็นไปต่างๆนานาทุกราย

3.การบนบานเพื่อให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและการงาน

4.การอธิษฐานขอให้สิ่งที่ปรารถนา เช่น การขอมีบุตร การขอให้โชคดี เป็นต้น ผู้ที่มาพึ่งบุญบารมีแห่งองค์พระเจ้าใหญ่ที่ประสบผลสำเร็จตามปรารถนา ได้บันทึกอิทธิฤทธิ์ , ปาฏิหาริย์และความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจ้าใหญ่ไว้อย่างมากมาย สามารถศึกษาหาองค์ความรู้ในการดำรงชีวิตได้ ณ วิหารพระเจ้าใหญ่ทุกวัน

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดหงส์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 11 บ้านศรีษะแรด
ตำบล มะเฟือง อำเภอ พุทไธสง จังหวัด บุรีรัมย์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สนง.วัฒนธรรมอำเภอพุทไธสง
บุคคลอ้างอิง นางกอบแก้ว สมบูรณ์เรศ
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมอำเภอพุทไธสง
ตำบล มะเฟือง อำเภอ พุทไธสง จังหวัด บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31120
โทรศัพท์ 0818745902
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่