ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 36' 33.0001"
15.6091667
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 48' 1.0001"
103.8002778
เลขที่ : 160668
ทุ่งกุลาร้องไห้
เสนอโดย ร้อยเอ็ด วันที่ 25 กันยายน 2555
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 25 กันยายน 2555
จังหวัด : ร้อยเอ็ด
2 1200
รายละเอียด

ทุ่งกุลาร้องไห้
เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ล้านไร่ มีอาณาเขตครอบคลุม พื้นที่ ๕ จังหวัด คือจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดมหาสารคาม พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ไร่อยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอโพนทราย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย และอำเภอปทุมรัตต์
สาเหตุที่ทุ่งแห่งนี้ได้ชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” มีเรื่องเล่าสืบต่อมาว่า ชนเผ่ากุลา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า มีอาชีพเดินทางค้าขายสินค้าระหว่างเมือง นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า เครื่องทองเหลืองต่าง ๆ เดินทางค้าขายผ่านทุ่งกุลาแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้าน ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีต้นไม้เป็นร่มเงา มีแต่หญ้าสูงขึ้นเต็มไปหมด ส่วนพื้นดินก็เป็นทราย ยากลำบากต่อการเดินทางเสมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้ชนเผากุลาถึงกับร้องไห้จึงให้ชื่อ ทุ่งแห่งนี้ว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้งพื้นที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งมากเป็นดินทราย ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปก็จะเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรใด ๆ ได้หลังจากที่รัฐบาลออสเตรียได้สนับสนุนให้ทุนแก่รัฐบาลไทย ผ่านกรมพัฒนาที่ดินพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการสำรวจและพัฒนาที่ดินในปี พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๗ (จบโครงการ) โดยจัดสร้าง ถนน คลองส่งน้ำ และอ่างเก็บน้ำ สำนักงานปฏิรูปที่ดินได้ทำการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรได้ทำกินอย่างทั่วถึง สามารถพลิกฟื้นทุ่งกุลาร้องไห้เป็นแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากคุณสมบัติเฉพาะของดินทุ่งกุลาร้องไห้แห่งนี้ทำให้ข้าวหอมมะลิที่ผลิตได้มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ ทุ่งกุลาร้องไห้จึงกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียง เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด

สถานที่ตั้ง
ทุ่งกุลาร้องไห้
อำเภอ สุวรรณภูมิ จังหวัด ร้อยเอ็ด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดร้อยเอ็ด
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด
อำเภอ เมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่