ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 24' 26.2116"
17.407281
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 11.85"
103.236625
เลขที่ : 169691
ลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : อุดรธานี
1 3224
รายละเอียด
ลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เป็นลวดลายที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ภาชนะในยุคอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 5,000 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งขุดค้นพบที่ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคต้น อายุ 5,600-3,000 ปี ใช้ลายเชือกทาบซึ่งคาดว่าเป็นลายที่ทำจากปอกัญชา ลายขูดขีด และการเขียนสี ยุคกลาง อายุ 3,000 ปี - 2,300 ปี เริ่มมีการขีดทาสีแดงบนภาชนะ ยุคปลาย อายุ 2,300 ปี - 1,800 ปี เป็นยุคที่มีลวดลายสวยงามกว่ายุคอื่นๆ ด้วยการเขีนลวดลายสีแดงจากสีที่เรียกว่าสีดินเทศ และลายส่วนใหญ่เป็นลายเรขาคณิต ลายสี่เหลี่ยม ลายวงกลม ลายก้านขด และลายก้นหอย กรมศิลปากร เห็นความสำคัญของอารยธรรมก่อนประวัติศาสตร์จึงได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาลายบ้านเชียงทั้งในด้านการปั้น การเขียนสี และรวบรวมผู้สนใจเรียนการปั้นหม้อและการเขียนสี จากชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านเชียงเพื่อถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง ในปัจจุบันชาวบ้านเชียงได้ทำเครื่องปั้นดินเผาและเขียนสีลายบ้านเชียงตามแบบดั้งเดิมและคิดค้นลวดลายขึ้นใหม่เพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นการสืบสานภูมิปัญญาจากอดีตร่วมกับการประยุกต์ตามแนวทางของปัจจุบันอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านเชียง (ภาพและข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง)
หมวดหมู่
ทัศนศิลป์
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเชียง
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เลขที่ พิพิธภัณฑ์ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านเชียง
ตำบล บ้านเชียง อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่