ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 3' 9.3697"
15.0526027065063
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 35' 6.363"
99.5851008465231
เลขที่ : 173062
กลองเพล
เสนอโดย bomxx วันที่ 13 ธันวาคม 2555
อนุมัติโดย อุทัยธานี วันที่ 24 มิถุนายน 2556
จังหวัด : อุทัยธานี
0 2370
รายละเอียด

กลองเพล(กลอง-เพน) คำว่าเพล เป็นคำย่อมาจากคำว่า เพลา ซึ่งแปลงมาจากคำว่า เวลา อีกทอดหนึ่ง กลองเพลเป็นกลองชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่ากลองทัด แต่มีขนาดใหญ่หน้ากลองขึงหนังสองหน้าขนาดใหญ่ใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง หุ่นกลองมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกป่องตรงกลาง ทำจากไม้เนื้อแข็งเจาะคว้านทะลุเป็นกล่องเสียง ขึงหน้ากลองทั้งสองหน้าด้วยหนัง โค กระบือ แล้วยึดติดกับหุ่นกลองด้วยหมุดที่ทำจากโลหะ งาช้าง กระดูกสัตว์ ซึ่งมีชื่อเรียกส่วนนี้ว่า “แส้กลอง” แล้วทายางรักบริเวณตรงกลางเพื่อรักษาหน้ากลอง
ด้านหนึ่งของกลองทัด มีหูโลหะเล็กๆ เรียกว่า “หูระวิง” สำหรับยึดกับขาหยั่งในการตั้งกลองกับพื้นในเวลาบรรเลงในวงปี่พาทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้กลองทัด 2 ใบซึ่งเป็นแบบแผนที่ยึดปฏิบัติมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกชื่อแบ่งออกตามลักษณะเสียงที่แตกต่าง ได้แก่ กลองทัดตัวผู้ (เสียงสูง) กลองทัดตัวเมีย (เสียงต่ำ)
กลองทัดนั้นมีบทบาทหน้าที่สำคัญบรรเลงคู่กับตะโพนในวงปี่พาทย์มาแต่โบราณ ประกอบการแสดง โขน ละคร หนังใหญ่ เป็นอาทิ ทั้งยังมีพัฒนาการเพิ่มเติมจำนวนจาก หนึ่งใบไปจนกระทั่งครบ 3 ใบ เพื่อความเหมาะสมในโอกาสต่างๆ
นอกจากนี้ยังนำไปเป็นกลองสัญญาณ เช่น ตี ณ หอกลองของวัด เรียกว่า กลองเพล หรือตีบอกเวลาจากหอกลองปะจำพระนคร เรียกว่า กลองย่ำพระสุริสีห์ เป็นต้นกลอ
งเพลหมายถึง กลองตีบอกเวลา เป็นกลองพิเศษขนาดใหญ่ ใช้ตีบอกเวลาฉันเพลของพระภิกษุสามเณร คือตีในเวลา ๑๑ นาฬิกาหรือเวลา ๕ โมงเช้าซึ่งเป็นเวลาฉันเพลของทุกวันสมัยโบราณเสียงกลองเพลในวัดซึ่งดังไปถึงหมู่บ้านและในทุ่งในสวนด้วยเป็นการบอกเวลาให้ชาวบ้านรู้ว่าขณะนี้เป็นเวลาเท่าไร เพราะสมัยก่อนยังไม่มีนาฬิกาดู ต้องอาศัยเสียกลองเพลเป็นเครื่องบอกเวลากลองเพลในบางวัดใช้ตีคู่กับระฆังหลังจากพระสงฆ์ในวัดทำวัตรเย็นจบแล้ว ในกรณีเช่นนี้เรียกว่า ย่ำค่ำ



คำสำคัญ
กลองเพล
สถานที่ตั้ง
วัดทัพคล้าย
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6 /บ้านทุ่งนา
ตำบล ทัพหลวง อำเภอ บ้านไร่ จังหวัด อุทัยธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดทัพคล้าย
บุคคลอ้างอิง นายสามารถ สายเพ็ชร์ อีเมล์ sammart1410@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอบ้านไ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1/บ้านไร่
ตำบล บ้านไร่ อำเภอ บ้านไร่ จังหวัด อุทัยธานี รหัสไปรษณีย์ 61140
โทรศัพท์ 08 1874 2407
เว็บไซต์ http://m-culture.in.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่