ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 0' 32.985"
15.0091625
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 47' 4.547"
104.7845964
เลขที่ : 180202
การเล่นบักขั่ง
เสนอโดย waiphod วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย อุบลราชธานี วันที่ 16 มีนาคม 2556
จังหวัด : อุบลราชธานี
0 604
รายละเอียด

ลูกข่าง ชาวพื้นบ้านอีสานเรียกว่า “บักขั่ง” ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้หนามแท่ง ไม้ประดู่ ไม้พยุง ไม้มะขาว เป็นต้น โดยนำไม้ดังกล่าวมากลึงหรือเหลาให้กลมและทำส่วนก้นลูกข่างให้แหลมเข้าหาแกนกลางส่วนด้านบนก็ทำลักษณะเดียวกัน แต่เหลือเนื้อไม้ให้รอบแกนกลางประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลาง ก็จะได้ลูกข่าง 1 ลูก ลูกข่างถือเป็นของเล่นที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก มีใช้ในการละเล่นเพื่อความบันเทิง การพนัน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น
1.ลูกข่าง
2.เชือกยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร ปลายเชือกด้านหนึ่งผูกด้วยไม้
3.วงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50-60 เซนติเมตร
การเล่นลูกข่าง หรือที่ชาวอีสานเรียกว่า“บักขั่ง”เป็นการละเล่นอีกอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในเวลาว่างจากงานประจำ เป็นการละเล่นสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ การเล่นลูกข่างจะแยกเล่นเป็นวงผู้ใหญ่และวงเด็กวิธีการละเล่นเมื่อต้องการเล่นก็จะนำไม้ที่ผูกเชือกยาวประมาณสองถึงสามเมตรมาม้วนรอบ ลูกข่าง โดยมือข้างหนึ่งจะถือลูกข่างที่ถูกเชือกหมุนพันรอบไว้ และมืออีกข้างจะถือไม้ที่ผูกเชือกที่หมุนรอบลูกข่างไว้ แล้วเอามือทั้งสองสะบัดไปข้างหน้า พร้อมดึงไม้ที่ผูกเชือกไว้อย่างแรง แล้วลูกข่างจะตกสู่พื้นแล้วหมุน ซึ่งในกติกาในการเล่นจะถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายตีลูกข่างที่กำลังหมุนอยู่ของอีกฝ่าย โดยฝ่ายที่ตีนั้นจะต้องพยายามตีลูกข่างให้ถูกมากที่สุด ซึ่งถ้าหากสามารถทำการตีถูกมาก ก็จะสามารถทำการตีต่อไปได้ แต่หากตีไม่ถูกก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายหมุนลูกข่างให้อีกฝ่ายผลัดไปเป็น ฝ่ายตีแทน การเล่นลูกข่างนี้ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานจากการเล่นแล้ว ยังเป็นการฝึก และทดสอบความแม่นยำทางด้านสายตาด้วยปัจจุบันการละเล่นลูกข่างเริ่มหายไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป

สถานที่ตั้ง
ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตำบลสำโรง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านสำโรง ซอย - ถนน -
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมตำบลสำโรง
บุคคลอ้างอิง นายไวพจน์ อ่อนวรรณะ อีเมล์ waiphod@yahoo.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสำโรง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 9 ซอย - ถนน พระภิบาล
ตำบล สำโรง อำเภอ สำโรง จังหวัด อุบลราชธานี รหัสไปรษณีย์ 34360
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่