ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 40' 34.509"
14.6762525
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 1' 19.556"
101.0220989
เลขที่ : 185541
ไทญ้อ
เสนอโดย chaweewann วันที่ 24 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 5 พฤษภาคม 2564
จังหวัด : สระบุรี
0 2623
รายละเอียด

ชาวบ้านในเขตบ้านหาดสองแควใต้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ หรือ ไทย้อ ซึ่งถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวญ้อนั้นพบว่าเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา ต่อมาชาวญ้อบางส่วนได้อพยพลงมาตามลำน้ำโขง ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองหงษา แขวงไชยบุรีของประเทศลาวในปัจจุบัน ชาวไทญ้อส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่เขตภาคอีสานของประเทศไทย เช่น ชาวญ้อในจังหวัดสกลนคร, ชาวญ้อในจังหวัดกาฬสินธุ์ (ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย), ช้าวญ้อในจังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน) และชาวญ้อในจังหวัดมุกดาหาร (ตำบลดงเย็น อำเภอเมือง) ภาษาและสำเนียงชาวญ้อ จะเหมือนภาษเหนือผสมภาษาลาว

ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้า อนุวงษ์เวียงจันทน์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๙ พวกไทญ้อเมืองไชยบุรีถูกกองทัพเจ้าอนุวงษ์กวาดต้อนให้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอีกและได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงเลง เป็น "พระศรีวรราช" เจ้าเมืองคนแรก คือท้องที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน

นอกจากนี้ไทญ้อจากเมืองคำเกิด, คำม่วน ยังได้อพยพมาตั้งเป็นเมืองท่าขอนยาง ขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ใน พ.ศ.๒๓๘๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ ท้าวคำก้อนจากเมืองคำเกิด เป็น "พระสุวรรณภักดี" เจ้าเมืองท่าขอนยางขึ้นเมืองกาฬสินธุ์ ปัจจุบันคือท้องที่ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งยังมีไทญ้ออยู่ที่บ้านท่าขอนยาง, บ้านกุดน้ำใส, บ้านยาง, บ้านลิ้นฟ้า, บ้านโพนและยังมีไทญ้ออยู่ที่บ้านนายุง จังหวัดอุดรธานี บ้านกุดนางแดง, บ้านหนามแท่งอำเภอพรรณานิคม, บ้านจำปา, บ้านดอกนอ, บ้านบุ่งเป้า, บ้านนาสีนวลอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บ้านโพนสิม, บ้านหนองแวง, บ้านสา อำเภอยางตลาดและบ้านหนองไม้ตาย อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ส่วนไทญ้อในจังหวัดสกลนครอพยพมาจากเมืองมหาชัย ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงซึ่งเป็นดินแดนลาวในปัจจุบัน เมืองมหาชัยอยู่ห่างจากแม่น้ำโขงและเมืองนครพนมประมาณ ๕๐ กิโลเมตรไทญ้อจากเมืองมหาชัยอพยพข้ามโขงมาตั้งอยู่ริมหนองหารในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตั้งขึ้นเป็นเมืองสกลนครเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๑(เอกสาร ร.๓ จ.ศ.๑๒๐๐ เลขที่ ๑๐ หอสมุดแห่งชาติ) ในท้องที่จังหวัดมุกดาหาร มีไทญ้ออยู่ที่ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหารและยังมีไทญ้อ อยู่ในท้องที่อำเภอนิคมคำสร้อยอีกบางหมู่บ้าน ซึ่งอพยพมาจากเมืองคำเกิดคำม่วนในสมัยรัชกาลที่ ๓

ส่วนชาวไทญ้อในเขตบ้านหาดสองแควใต้ อำเภอแก่งคอย สันนิฐานว่ามาพร้อมกับกองทัพของพระยาราชสุภาวดี ภายหลังเสร็จจากศึกษาเจ้าอนุวงศ์ ในราวปี พ.ศ.๒๓๖๙ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๓

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
บ้านหาดสองแควใต้
หมู่ที่/หมู่บ้าน
จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พระกาหลง ธนิสฺสโร
บุคคลอ้างอิง นางสาวศรีวิไล เกตุสุวรรณ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี
เลขที่ ๖๐/๑ ถนน เทศบาล๓
จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่