ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 33' 28.2326"
14.5578424
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 53' 3.7262"
100.8843684
เลขที่ : 186212
รอยพระพุทธบาท วัดเขาแก้ววรวิหาร
เสนอโดย chaweewann วันที่ 28 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 11 มิถุนายน 2564
จังหวัด : สระบุรี
0 721
รายละเอียด

รอยพระพุทธบาทประดิษฐานภายในซุ้มด้านทิศใต้ของเจดีย์ จากภายนอกจะเห็นได้ว่าเป็นสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง รอยพระพุทธบาทอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม นิ้วเท้าทั้ง ๕ นิ้ว มีความยาวเท่ากันฝ่าพระบาทเป็นลายมงคลเรียงกันภายในช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ค่อนไปทางส้นพระบาทปรากฏลายดอกบัวบาน รอยพระพุทธบาทตั้งอยู่บนประติมากรรมนูนสูงรูปโขดหินทาสีแดง

ความสำคัญ / ตำนาน / คติความเชื่อ

เดิมก่อนมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นในประเทศอินเดียมีการได้สัญลักษณ์ต่างๆแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น ธรรมจักร ฉัตร บัลลังก์ รอยพระบาท เป็นต้น หลักฐานการบูชารอยพระบาทพบในอินเดียตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๕ โดยการทำความเคารพรอยพระบาทนั้นสอดคล้องกับประพณีอินเดียที่นิยมทำความเคารพบุคคลที่พึงบูชาที่เท้าบุคคลนั้น

ลักษณะที่ปรากฏบนรอยพระบาทนั้น เริ่มแรกเป็นลักษณะที่ปรากฏในมหาปานสูตรและละกขณสูตร พระสุตตันตปิฎกของทีฆนิกาย ซึ่งกล่าวถึงพระพุทธมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มีลักษณะของพระบาทระบุอยู่ ๕ ประการ คือ

๑)พื้นฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน เมื่อเหยียบถึงพื้นพร้อมกัน เมื่อยกก็พ้นพื้นพร้อมกัน

๒)ใต้ฝ่าพระบาททั้งสองมีจักร ซี่หนึ่งกำหนึ่งพัน มีกงและดุม มั่นคงสมบูรณ์

๓)ส้นพระบาทยาว นิ้วพระบาทอ่อน

๔)หลังพระบาทมีอังสะอูม

๕)ฝ่ายพระบาทอ่อนนุ่ม มีลายดังตาข่าย

ต่อมารูปแบบรอยพระพุทธบาทในศิลปะลังกามีรอยมงคลใต้ฝ่าพระบาทเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ถึง ๑๐๘ ลาย และมีการทำเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งคติดังกล่าวมีกล่าวถึงในมหาปานสูตร คัมภีร์ชินลังกาฎีกา แต่งโดยพระธรรมทัตตแห่งลังกา ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔

ลายมงคล ๑๐๘ สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทหลักๆ ได้ คือ ลายมงคลประเภทเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ความเจริญและความอุดมสมบูรณ์ ลายมงคลประเภทเครื่องประกอบบารมีกษัตริย์ และลายมงคลประเภทส่วนประกอบทางรูปธรรมและนามธรรมของสุคติภพจักรวาล ซึ่งรอยพระพุทธบาทที่พบในประเทศไทยน่าจะเป็นอิทธิพลจากลังกา

หลักฐานการบูชารอยพระพุทธบาทในไทยที่เก่าสุด คือ รอยพระบาทคู่ที่สระมรกต จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓ ในวัฒนธรรมสมัยทวารวดี หลังจากนั้นไม่ปรากฏหลักฐานการทำรอยพระบาทอีกจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงพบแพร่หลายขึ้นทั้งในสุโขทัยและล้านนา อันอาจเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่พระเถระจากสุโขทัยและล้านนาหลายรูปได้เดินทางไปลังกาหรือพม่าอันเป็นดินแดนที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ไปเจริญอยู่ กระทั่งสืบคติดังกล่าวต่อมาจนถึงสมัยอยุธยา โดยเฉพาะเมื่อมีการค้นพบรอยพระพุทธบาทบนเขาสุวรรณบรรพตในจังหวัดสระบุรี การบูชารอยพระพุทธบาทยิ่งแพร่หลายขึ้นอีกมาก มีการค้นพบรอยพระบาทตามที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่ง พร้อมไปกับความนิยมในการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ก็มีมากยิ่งขึ้น ด้วยเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทจำลองย่อมมีอานุภาพและสิริมงคลประดุจรอยพระพุทธบาทอันแท้จริง

นอกจากนี้ยังปรากฏบทสวดที่กล่าวถึงรอยพระพุทธบาท ๕ แห่งนี้ คือ

วันทามิ พุทธัง ภะวะปาระติณณัง ติโลกะเกตุง ติภะเวกะนาถัง โย โลกะเสฏโฐ สะกะลังกิเลสัง เฉตะวานะ โพเธสิ ชะนัง อะนันตัง ยัง นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน จะ ตีเร ยัง สัจจะพันธะคิริเก สุเมนา จะลัคเค
ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร มุนิโน จะ ปาทัง ตัง ปาทะัลัญชะนะมะหังสิระสา นะมามิ สุวัณณะมาลิเก สุวัณณะปัพพะเต สุมะนะกูเฏ โยนะกะปุเร นัมมะทายะ นะทิยา ปัญจะปาทะวะรัง ฐานัง อะหัง วันทามิ ทูระโต ฯ อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโยฯ
อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้ข้ามพ้นฝั่งแห่งภพ, ผู้เป็นธงชัยของไตรโลกผู้เป็นนาถะเอกของไตรภพ, ผู้ประเสริฐในโลกตัดกิเลสทั้งสิ้นได้แล้วช่วยปลุกชนหาที่สุดมิได้ให้ตรัสรู้มรรคผลและนิพพาน, รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้, ในหาดทรายแทบฝั่งแม่น้ำนัมมะทา, รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้,
เหนือยอดเขาสัจจะพันธ์และเหนือยอดเขาสุมะนา, รอยพระบาทใดอันพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้, ในเมืองโยนะกะข้าพเจ้าขอนมัสการพระบาทและรอยพระบาทนั้น ๆของพระมุนีด้วยเศียรเกล้า,ข้าพเจ้าขอนมัสการสถานที่มีรอยพระบาท, อันประเสริฐ๕ สถานแต่ที่ไกล, คือที่เขาสุวรรณมาลิก ๑ที่เขาสุวรรณะบรรพต๑, ที่ยอดเขาสุมะนะกูฏ๑, ที่โยนะกะบุรี๑, ที่แม่น้ำชื่อนัมมะทา๑, ข้าพเจ้าขอนมัสการอยู่ซึ่งพระรัตนตรัยใดๆ อันบุคคลควรไหว้โดยส่วนยิ่ง, อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้, ได้แล้วซึ่งกองบุญอันไพบูลย์, ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้นจงขจัดภัยอันตราย เสียเถิด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลายดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอให้ท่านทั้งหลายทราบไว้ว่าสังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา, ขอให้ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด,ด้วยประการฉะนี้แลฯ

หมวดหมู่
โบราณวัตถุ
สถานที่ตั้ง
วัดเขาแก้วรวิหาร
เลขที่หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ ๑
ตำบล ต้นตาล อำเภอ เสาไห้ จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดเขาแก้วรวิหาร
บุคคลอ้างอิง นายจีระพันธ์ ขุนทอง
ชื่อที่ทำงาน วัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี
ตำบล ตะกุด อำเภอ เมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18000
โทรศัพท์ 036340768-70 โทรสาร 036340768
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/saraburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่