ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 8.2914"
13.7356365
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 6' 45.3042"
101.1125845
เลขที่ : 187625
การเพาะเลี้ยงปลากัด ตำบลบางแก้ว
เสนอโดย amp-a-m-p*-* วันที่ 11 เมษายน 2556
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
1 2612
รายละเอียด

การเพาะเลี้ยงปลากัด ตำบลบางแก้ว เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ของชาวชุมชนหมู่ที่ 1 ,11,12 ตำบลบางแก้ว โดยมีการจัดตั้งเป็นชมรม ชื่อ “ชมรมปลากัดไทยบางแก้ว” มี นายสมยศ โท้เป้า เป็นประธานชมรม

“ปลากัด” เป็นปลาสวยงาม มีผู้นิยมเลี้ยงในขวด หรือในโหลขนาดเล็ก ไม่นิยมเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นเพราะเป็นปลาที่ชอบสร้างอาณาเขต และมักจะไล่กัดปลาที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน ลักษณะของปลากัด จะมีสีสดเข้มสวยงาม แต่ถ้านำไปเลี้ยงกับปลาขนาดใหญ่ ปลากัดจะตื่นตกใจ เหมือนกับการแพ้คู่ต่อสู้ ปลาก็จะมีสีซีดดูไม่สวยงาม จึงจำเป็นต้องเลี้ยงปลากัดไว้เพียงตัวเดียวในภาชนะที่ไม่ใหญ่มากนัก ปลาก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถสร้างอาณาเขตของตัวเองไว้ได้ ปลากัดก็จะมีสีสันสดใสสวยงาม

การเพาะเลี้ยงปลากัด ของชุมชนตำบลบางแก้ว แต่เดิมจะเลี้ยงเฉพาะในบ่อดิน แต่ปัจจุบันมีการเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ด้วย เพราะสะดวกกว่าการขุดบ่อดิน ประหยัดเนื้อที่ พันธุ์ปลากัดที่เพาะเลี้ยงได้แก่

1. ปลากัดแก้มเขียว เป็นปลากัดลูกทุ่งอีสาน ลักษณะเด่น มีเกล็ดเขียว แก้มเขียว

2. ปลากัดหม้อ พันธุ์อินโดนีเซีย พันธุ์มาเลเซีย พันธุ์เวียดนาม

วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัด

1. การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ ปลากัดจะสมบูรณ์เพศ เมื่ออายุ 4-6 เดือน สามารถนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้การเลือกปลากัดเพศผู้ควรเลือกปลาที่คึกคะนอง

2. การเทียบพ่อแม่พันธุ์ เมื่อเลือกได้ปลาเพศผู้และเพศเมีย ที่สมบูรณ์มีลักษณะสีสันตามต้องการแล้วนำปลาใส่ขวดแก้ว ใส่ขวดละตัว แยกเพศกันไว้ก่อน แล้วนำมาตั้งเทียมกันไว้ โดยการวางขวดใส่ปลาให้ชิดกัน และไม่ต้องมีกระดาษปิดกั้น เพราะต้องการปล่อยให้ปลามองเห็นกัน ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่า “การเทียบ”เทียบไว้ ประมาณ 4-7 วัน

3. การเตรียมภาชนะเป็นบ่อเพาะพันธุ์ ภาชนะที่จะใช้เป็นบ่อเพาะพันธุ์ปลากัด ควรมีขนาดเล็ก ส่วนมากนิยมใช้อ่างดินเผา กะละมัง ถัง หรือตุ่มน้ำขนาดเล็ก เพราะสะดวกกว่าการเพาะในบ่อ

4. การปล่อยปลาลงบ่อเพาะพันธุ์ เมื่อเทียบปลาไว้เรียบร้อยแล้ว จึงปล่อยปลาทั้งคู่ลงบ่อเพาะที่เตรียมไว้ต้องพยายามอย่าให้ปลาตื่นตกใจมากนัก จากนั้นหาแผ่นวัสดุ เช่น กระดาษแข็ง หรือแผ่นกระเบื้อง ปิดบนภาชนะที่ใช้เพาะ โดยปิดไว้ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ปากภาชนะ เพราะปลากัดมักชอบวางไข่ในบริเวณที่มืด เนื่องจากต้องการความเงียบสงบ

5. การตรวจสอบการวางไข่ของปลากัด ตามปกติแล้วถ้าปลามีการวางไข่ ก็มักจะวางไข่เสร็จก่อนเวลาประมาณ 10.00 น. ดังนั้น เมื่อปล่อยปลาลงบ่อเพาะแล้ว เช้าวันต่อมาค่อย ๆ เปิดดู ถ้าพบว่ามีไข่เม็ดเล็ก ๆสีขาวอยู่ที่หวอด และมีพ่อปลาคอยเฝ้าอยู่ แสดงว่าปลาวางไข่เรียบร้อยแล้ว จึงค่อย ๆ ช้อนเอาแม่ปลาไปเลี้ยงต่อไป ส่วนปลาเพศผู้จะคอยดูแลรักษาไข่

6. การอนุบาลลูกปลากัด การอนุบาลลูกปลากัด จะเริ่มจากที่ลูกปลาเริ่มหากินอาหาร อาหารที่เหมาะสมที่ให้ลูกปลากินในช่วงนี้ คือ ไข่แดง โดยใช้ไข่ไก่ หรือ ไข่เป็ด มาต้มให้สุก แล้วแกะเอาเฉพาะไข่แดงไปเลี้ยงปลาลูกปลากัด 1 ครอก จะใช้ไข่แดงเฉพาะถั่วดำ ต่อการให้ 1 ครั้ง จะเลี้ยงด้วยไข่แดง ประมาณ 3-5 วันลูกปลาจะมีขนาดโตขึ้น จะเปลี่ยนบ่ออนุบาลให้มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจใช้กระลังพลาสติกขนาดใหญ่ หรืออ่างซีเมนต์และอนุบาลต่อโดยใช้ไรแดงเลี้ยง ประมาณ 15 – 20 วัน พร้อมมีการถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

7. การเลี้ยงปลากัด บ่อเลี้ยงปลากัด ถ้าเป็นบ่อดิน ควรมีพื้นที่ขนาด 10 – 30 ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อปูนซีเมนต์ ควรมีพื้นที่ขนาด 2 - 6 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร แยกปลาออกจากบ่ออนุบาล โดยเอาเฉพาะปลาเพศผู้มาเลี้ยง เนื่องจากปลาเพศผู้เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่า และราคาสูงกล่าปลาเพศเมียมาก

การถ่ายทอดภูมิปัญญา

ปัจจุบัน ชมรมปลากัดไทยบางแก้ว มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากัดให้ผู้สนใจโดยทั่วไปโดยมี นายสมยศ โท้เป้า อยู่บ้านเลขที่ 18/3 หมู่ที่ 12 ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลากัดให้ผู้สนใจโดยทั่วไป

สถานที่ตั้ง
ชมรมปลากัดไทยบางแก้ว
เลขที่ 12
ตำบล บางแก้ว อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เอกสารข้อมูลองค์กรการปกครองส่วนตำบลบางแก้ว
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
ถนน เรืองวุฒิ
ตำบล หน้าเมือง อำเภอ เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24000
โทรศัพท์ 081-8743973
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่