ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
เลขที่ : 194887
ขุนศรัทธาท่าแค
เสนอโดย พัทลุง วันที่ 29 กันยายน 2564
อนุมัติโดย พัทลุง วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : พัทลุง
0 338
รายละเอียด

ตำนานห้องถิ่นเล่ากันมาว่าขุนศรีศรัทธา

ซึ่งซาวบ้านตำบลท่าแค เรียกชื่อโนราโรงครูใหญ่วัดท่าแคว่า "โรงครูขุนหา" เพราะเชื่อกันว่าวัดท่าแคหรือบ้านท่าแคเป็นที่อยู่ของขุนศรีศรัทธาและครูโนราคนอื่น ๆคำว่า "ขุนศรีศรัทธา" ไม่ได้เป็นชื่อบุคคล แต่เข้าใจว่าเป็นชื่อตำแหน่งดังเจ้าชายน้อย เมื่อรำโนราถวายท้าวโกสินทร์ซึ่งเป็นพระอัยกาก็ได้รับยศเป็นที่ขุนศรีศรัทธา เดิมใครได้เป็นโนราใหญ่ก็น่าจะเรียกขุนหาแล้วต่อด้วยชื่อตัว เช่น ศรัทธาเทพ ศรัทธาราม ศรัทธาขุ้ย ศรัทธานาปรือ เป็นต้น

ส่วนโนราแปลก ชนะบาล กล่าวว่า ศรัทธาท่าแค เป็นคนคนเดียวกับพ่อเทพสิงหร แต่คนละภาค ดังบทว่า ศรัทธาท่าแค ถัดแต่พ่อเทพสิงหร ชาวบ้านตำบลท่าแคและคณะโนราเชื่อว่าขุนศรัทธานั้น มีศรัทธาเทพหรือเทพสิงหร ศรัทธาแย้ม เป็นผู้สร้างวัดโคกแย้ ศรัทธารามเป็นผู้สร้างวัดอภยราม ศรัทธาเกลาบ้านนาปรือ

จากตำนานโนราพอสรุปได้ว่า ขุนศรีศรัทธาหรือขุนศรัทธาท่าแค ก็คือ เจ้าชายน้อยโอรสของนางศรีคงคาหรือนางศรีมาลา หรือนางนวลทองสำลีที่ถูกพระบิดาเนรเทศลอยแพ และได้ไปอาศัยอยู่ที่เกาะกะชังจนนางให้กำเนิดโอรสแล้วตั้งชื่อว่า เจ้าชายน้อย เจ้าชายน้อยได้ฝึกหัดรำโนรากับพระมารดาจนชำนาญ ภายหลังได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตน คือ เมืองพัทลุง และได้มีโอกาสเข้ารำโนราถวายพระอัยกา พระอัยกาพระราชทานเครื่องต้นสำหรับกษัตริย์ให้เป็นเครื่องแต่งตัวโนรา และตั้งเจ้าชายน้อยเป็นขุนศรีศรัทธา เมื่อเจ้าชายน้อยได้เป็นขุนศรีศรัทธาแล้วก็ได้มา ควบคุมอาณาบริเวณการเกษตรใหญ่ อันเป็นท้องของกองพับ ณ ดินแดนตรงที่เรียกว่า ท่าแค เป็นศูนย์กลางการเกษตร ควบคุมกองทัพช้างที่คชรัฐ และควบคุมการเคลื่อนไหวของทมิฬนครด้วย ณ ที่แห่งนี้การฝึกหัดรำโนราและการสืบทอดโนราก็เกิดขึ้น

ดังปรากฏหลักฐานทั้งที่เป็นวัตถุสถานที่ ตำนานที่เกี่ยวข้องกับขุนศรีศรัทธาและโนราตามความเชื่อของชาวบ้านตำบลท่าแค ในเขตตำบลท่าแค และบริเวณใกล้เคียง เช่น โคกขุนหา เขื่อนขุนทา อ่างขุนหา ฯลฯ และการจัดโนราโรงครูเพื่อรำถวายครูโนราที่เคารพนับถือมาจนทุกวันนี้

สถานที่ตั้ง
ถนน ราเมศวร์
จังหวัด พัทลุง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
พิทยา บุษรารัตน์.(๒๕๓๕).โนราโรงครูตำบลท่าแค อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).สงขลา.มศว
บุคคลอ้างอิง นางสาวจิตตรา จันทรโชติ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง อีเมล์ culture-phatthalung@hotmail.com
ถนน ราเมศวร์
ตำบล คูหาสวรรค์ อำเภอ เมืองพัทลุง จังหวัด พัทลุง รหัสไปรษณีย์ 93000
โทรศัพท์ ๐ ๗๔๖๑ ๗๙๕๘ โทรสาร ๐ ๗๔๖๑ ๗๙๕๙
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่