การทำหอพระอุปคุตในงานแจกข้าว
โดยชาวบ้านจะสร้างหอพระอุปคุตไว้มุมใดมุมหนึ่งในบริเวณงานส่วนมากจะสร้างจากไม้ไผ่หรืออุปกรณ์ที่หาได้ในชุมชนหลังจากสร้างหอพระอุปคุตแล้วจะต้องมีพิธีการอันเชิญพระอุปคุตมาประดิษฐานโดยจะต้องไปอัญเชิญขึ้นจากน้ำตามแบบประเพณีอีสานโบราณซึ่งมีความเชื่อกันว่าพระอุปคุตเป็นพระเถระที่มีฤทธิ์มากซึ่งไปบำเพ็ญเพียรที่ใต้ท้องทะเลการอัญเชิญจึงต้องอัญเชิญขึ้นจากน้ำ
หลังจากที่อัญเชิญขึ้นจากน้ำแล้วก็จะนำไปประดิษฐานไว้ที่หอพระอุปคุตที่สร้างไว้จากนั้นจะมีพิธีการอาราธนาและบวงสรวงบูชาโดยการอารธนาและการบูชาจะต้องทำก่อนที่จะเริ่มงานซึ่งสิ่งที่จะต้องนำมาบูชาพระอุปคุต ได้แก่
1.ผ้าไตร1ไตร
2.บาตรพระ
3.ตาลปัตร
4.ธูป
5.เทียน
6.ขันห้า(ดอกไม้5คู่เทียน5คู่เงิน5บาท)
7. สำรับอาหาร(กลับข้าว4อย่างประกอบด้วยคราว3อย่างหวาน1อย่างน้ำ1แก้วหมากพลูบุหรี่ก่องข้าว)
8.ขันหมากเบ็ง
นอกจากนี้บางพื้นที่ยังมีการแห่พระอุปคุตก่อนนำไปประดิษฐานอีกด้วยกล่าวคือหลังจากการนำพระอุปคุตขึ้นจากน้ำแล้วจะนำไปแห่แล้วค่อยนำไปประดิษฐานไว้หอพระอุปคุตที่ได้สร้างไว้ซึ่งแต่ละชุมชนแต่ละพื้นที่ก็มีความแตกต่างกันบ้างในทางปฏิบัติแต่ในทางความเชื่อแล้วทุกพื้นที่ล้วนมีวัตถุประสงค์เดียวกันในการสร้างหอพระอุปคุตคือการให้พระอุปคุตได้ดูแลรักษางาน
สิ่งหนึ่งที่สังเกตเห็นเป็นประจำในการจัดงานบุญในภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือการสร้างหอพระอุปคุตซึ่งเป็นความเชื่อที่ทำกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเราสามารถเห็นการสร้างหอพระอุปคุตได้ทุกพื้นที่ในภาคอีสาน
โดยคนอีสานมีความเชื่อว่าหากมีงานบุญเช่นบุญประเพณีบุญแจกข้าว (อุทิศส่วนกุศลให้แด่ผู้ตาย) บุญซำฮะฯลฯจะต้องมีการสร้างหอพระอุปคุตขึ้นมาเพื่อให้พระอุปคุตเป็นผู้ปกปักรักษาและดูแลงานให้เกิดความเรียบร้อยไปด้วยดีไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในบริเวณงานได้ อันจะส่งผลให้งานสำเร็จโดยดีทุกประการ
การประกอบพิธีกรรมนี้นอกจากจะเป็นการแสดงถึงความเชื่อของคนอีสานแล้วยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีในการรวมตัวกันประกอบพิธีกรรมของคนอีสานแสดงให้เห็นว่าคนอีสานมักมีพิธีกรรมที่รวมกลุ่มกันทำเนื่องจากโดยนิสัยของคนอีสานแล้วจะมีการรวมกลุ่มกันตลอดเวลาเพื่อจะได้มีโอกาสช่วยเหลือเกื้อกูลกันมีการแบ่งปันซึ่งกันและกันอันเป็นสิ่งที่ดีงามในสังคม พิธีกรรมนี้ถูกถ่ายทอดโดยบรรพบุรุษของคนอีสานที่ยังคงสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังสามารถเห็นได้ในทุกพื้นที่ของภาคอีสานซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่แรงกล้าในพระอุปคุตของคนในภาคอีสานและยังจะคงสืบทอดต่อไป
…สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โทรศัพท์ 0-437-216 หรือผู้ประสานงาน : นายบุญชู ศรีเวียงยา โทรศัพท์ 090-019-2909https://intrend.trueid.net/article