ขนมบ้าเป็นขนมที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในเทศกาลเดือนสิบของชาวภาคใต้ ซึ่งใช้ในการทำบุญและพิธีตั้งเปรต ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นขนมที่ทำมาจากมันเทศ (ภาคใต้เรียก “มันล่า”) ผสมกับแป้ง และน้ำตาล นวดคลุกเคล้า
ให้เข้ากัน แล้วคลึงให้เป็นลูกกลมๆ หรือทำแบบแบนๆ คล้ายลูกสะบ้า จากนั้นนำมาทอดในน้ำมันจนสุกและกรอบ
ขนมบ้าเป็นสัญลักษณ์แห่งบุญแทนลูกสะบ้า ใช้สำหรับ “เล่นบ้า” ซึ่งได้ละเล่นในสมัยก่อน จึงทำขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญให้ “ตายาย” หรือ “เปรตชน”
ที่ล่วงลับไปแล้ว
ส่วนผสมแป้งข้าวเหนียว 125 กรัมมันเทศต้มสุก 250 กรัมน้ำตาล 45 กรัมงาขาว 30 กรัมไข่ไก่ 1 ฟองเกลือ 1 ช้อนชาน้ำสะอาด 100 ML
ขนมบ้าแบบโบราณจะไม่มีไส้ด้านใน แต่ภูมิปัญญาก็มีแนวคิดที่จะพัฒนาโดยการใส่ไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ถั่วเหลือง/ถั่วแดง หรือไส้หมู/ไก่ เป็นต้น เพื่อเป็นทางเลือกที่แปลกใหม่ให้กับนักชิม รวมไปถึงนำไปวางจำหน่าย
ในร้านอาหารเช้าหรือรับประทานคู่กับกาแฟ เป็นมูลค่าเพิ่มรายได้ให้ชุมชนได้เป็นอย่างดี
สภาวัฒนธรรมจังหวัดกระบี่
สนับสนุนงบประมาณโดย: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม