ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 20' 22.7015"
14.3396393
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 0' 2.0606"
101.0005724
เลขที่ : 195817
พิธีแต่งงานแบบจีน (ยกน้ำชา)
เสนอโดย สระบุรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : สระบุรี
0 841
รายละเอียด

การแต่งงานแบบจีน “พิธียกน้ำชา” หรือ “ขั่งเต๊” เป็นพิธีที่มีความสำคัญมากสำหรับคู่บ่าวสาว

เนื่องจากพิธียกน้ำชาเป็นการแสดงถึงความเคารพและคารวะต่อญาติผู้ใหญ่ ต้องยอมรับว่าในสังคมวัฒนธรรมของชาวจีน ครอบครัวถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในสมัยโบราณกาลนั้น คนที่เป็น “แซ่” เดียวกัน ก็ถือว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน รวมถึงการให้ความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสมากกว่า ด้วยเหตุผลนี้เองที่เราจะเห็นชาวจีนไปมาหาสู่กับครอบครัว รวมถึงผู้ที่มีพระคุณเคารพนับถือกันตลอดเวลา ซึ่งในพื้นที่อำเภอวิหารแดงมีชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก งานมงคลและพิธียกน้ำชาจึงมีความสำคัญมาก และผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการจัดงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทางชมรมฮกหลีโก้ว จึงได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าพิธีในการดำเนินการงานมงคลนี้อยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ และมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้การดำเนินพิธีกรรมมีความถูกต้องเป็นไปตามจารีตประเพณีดั้งเดิม นำมาซึ่งความสุขให้กับคู่บ่าวสาวตลอดจนครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องทุกคน

พิธีแต่งงานแบบจีน หรือพิธียกน้ำชา ของชาวอำเภอวิหารแดง ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีที่มีความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้รูปแบบการแต่งงานก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน แต่ทางชมรมฮกหลีโก้วก็ยังคงสืบสานรูปแบบการจัดงานแต่งงานแบบขนมธรรมเนียมจีนไว้อย่างเหนี่ยวแน่น ภายใต้การสืบทอดของชมรม “ฮกหลี่โก๊ว” อำเภอวิหารแดง วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ คู่แต่งงานที่ถือว่ากำลังจะสร้างครอบครัวใหม่ และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตคู่ รวมถึงเป็นการแสดงความเคารพต่อญาติผู้ใหญ่ ซึ่งครอบครัวชาวจีนจะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ประเพณีการแต่งงานแบบจีน ที่เป็นพิธีการแต่งงานที่อยู่ใกล้ชิดกับคนไทย และมีความหมาย อันงดงามซ่อนอยู่ในทุกรายละเอียด ซึ่งความงดงามในขั้นตอนพิธีการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพิธีการแต่งงานแบบจีนนั้น เริ่มตั้งแต่การจัดเครื่องขันหมาก และสิ่งของที่ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องจัดเตรียมให้ ครบครัน เพื่อการเข้าพิธีวิวาห์แบบจีนที่สมบูรณ์แบบซึ่งพิธีแต่งงานจะเริ่มจากการไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ในบ้าน ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้พ่อแม่ เพื่อเป็นการบอกกล่าวว่าทั้งคู่ได้แต่งงานกันแล้ว ถัดมาจึงเป็นการยกน้ำชา หรือ "ขั่งเต๊" ให้กับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าว โดยทั้งสองต้องคุกเข่าลง พร้อมกับรินน้ำชาใส่ถ้วยวางลงบนถาดแล้วส่งให้ ผู้ใหญ่จะรับถ้วยชามาดื่มแล้วให้ศีลให้พร และเงินทองเพื่อเป็นทุนตั้งตัว เสร็จพิธียกน้ำชา คู่บ่าวสาว จึงกินขนมอี๊สีชมพูอีกครั้ง พิธีนี้จะทำในวันเดียวกันหรือจะทำอีกวันก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมทำพิธีให้จบในวันเดียว ส่วนช่วงเย็นจะจัดงานเลี้ยงแบบฝรั่งฉลองต่อแบบสมัยใหม่ ที่กลายเป็นธรรมเนียมของทุกงานแล้วก็ได้

ในประเพณีการแต่งงานแบบจีน "พิธียกน้ำชา" ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คู่บ่าว-สาวจะขาดไม่ได้ เนื่องจากพิธียกน้ำชาแสดงถึงการเคารพและคารวะญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีขั้นตอนเริ่มแรกคือจากการจัดที่นั่งให้ผู้ใหญ่ โดยให้คุณพ่อเจ้าบ่าวนั่งด้านซ้ายของคุณแม่ จากนั้นคู่บ่าว-สาว คลานเข่ายกถาดชาที่มีถ้วยชา 2 ใบรินน้ำชาเตรียมไว้แล้วยกให้คุณพ่อคุณแม่ ท่านจะหยิบถ้วยน้ำชาขึ้นดื่มกัน โดยจะจิบแค่นิดหน่อย ห้ามจิบหมดถ้วย เพราะถือว่าน้ำชาที่เหลือมอบเป็นทุนกลับไปให้คู่บ่าว-สาว (ส่วนใหญ่นิยมเทกลับไปในกา) จากนั้น คู่บ่าว-สาวจึงยกย้ำชาให้ญาติผู้ใหญ่ท่านอื่นตามลำดับความอาวุโส ทั้งนี้ ทุกครั้งที่ยกน้ำชา ต้องรินชาใส่ถ้วย 2 ใบทุกครั้ง ไม่เว้นแม้แต่ผู้ใหญ่ที่คู่ชีวิตเสียไปแล้ว แต่แทนที่ผู้ใหญ่จะดื่มเองทั้ง 2 ถ้วย ก็ดื่มแค่ถ้วยเดียว ส่วนผู้ใหญ่ที่คู่ชีวิตยังมีชีวิตอยู่แต่มาไม่ได้ ก็ให้ดื่มทั้ง 2 ถ้วย เมื่อผู้ใหญ่ดื่มแล้วจะให้ศีลให้พร และมอบเงินทองให้คู่บ่าว-สาวโดยใส่ไว้ในถาด ต่อมาคู่บ่าว-สาวจะร่วมกันรับประทาน ขนมอี๊ (เป็นขนมบัวลอยจีน ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดจนได้ที่ปั้นเป็นลูกกลม ผสมสีชมพูเพื่อให้ได้สีสิริมงคล) ซึ่งเป็นอันเสร็จพิธี

สถานที่ตั้ง
อำเภอ วิหารแดง จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชมรม “ฮกหลี่โก๊ว วิหารแดง”
บุคคลอ้างอิง นายอนันต์ พระปริยัติ
อำเภอ วิหารแดง จังหวัด สระบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่