ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 22' 48.9821"
16.3802728
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 49' 3.5296"
102.8176471
เลขที่ : 142492
ความเชื่อเกี่ยวกับเถาวัลย์หลง
เสนอโดย piyaporn วันที่ 1 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 1 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 1850
รายละเอียด

ลักษณะ: ต้นใบและเถาเป็นไม้ประเภทพันธุ์เลื้อย ใบคล้ายใบหญ้านางแต่่ใบบางกว่า ท้องใบมีพรายปรอทเป็นมัน เถาคล้ายเถาสลิดหรือขจรเป็นปล้องๆ แต่ใบไม่เหมือนกัน เถาวัลย์หลงนี้มีสองชื่อ ชื่อหนึ่งเรียกว่า "เถาหมาหลง" คนโบราณได้เล่ากันต่อๆมาว่าเป็นต้นไม้เถาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่ออกจะแปลก ถิ่นกำเนิดอยู่ในแดนเมืองลับแล คือเมืองลับแล จังหวัดอุตรดิษถ์ แต่สมัยนี้หายากและยากนักที่ชาวเมืองนั้นจะรู้จักไม้เถาต้นนี้

เถาวัลย์หลงมีอยู่สองชนิด ชนิดดอกขาวเป็นตัวผู้ ชนิดดอกสีม่วงเป็นตัวเมีย ต้นใบและเถาเหมือนกันไม่มีอะไรแปลกแตกต่างกัน

สรรพคุณ: ถ้าได้ทั้งชนิดผู้และเมียปลูกไว้ใกล้กันจะดีมาก ปลูกไว้เป็นซุ้มประตูลอดเข้าออกหน้าบ้านผู้ใดลอดผ่านเข้าไปแล้วจะเกิดงวยงงหลงไหล เกิดความนิยมชมชอบเจ้าของบ้าน จะพูดจะเจรจาพาทีกับเจ้าของบ้านอ่อนละมุลนุ่มนวลถึงแม้ผู้น้ันจะเคยพูดจาโผงผางโฮกฮากมาก่อน ที่เคยระแวงแครงใจหรือเคยเป็นศัตรู เมื่อลอดซุ้มประตูเข้าไปแล้วเกิดเป็นจังงังหลงไหลเปลี่ยนแปลงสิ่งร้ายกลายเป็นดี

ตามตำรายังกล่าวไว้อีกว่าในป่าแถบเมืองลับแลนี้มีมากเถาวัลย์หลงนี้เลื้อยเต็มไปหมดตลอดพื้นดิน ผู้ใดเดินผ่านข้ามเถาวัลย์นี้เข้าไปก็เกิดงงงวยหลงไหลกลับบ้านไม่ถูกเรียกว่าหลงป่าเลยเข้าไปพบหมู่บ้านซึ่งมีแต่สตรีเพศเป็นส่วนมากที่เรียกว่าเมืองแม่หม้าย ในที่สุดก็ลืมบ้าน จึงได้ชื่อว่าเถาหมาหลงอีกชื่อหนึ่ง

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 113 หมู่ที่/หมู่บ้าน 4 บ้านตูม
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จากการสัมภาษณ์ร้านเสริมสวยมณฑิราและหนังสือ108 ว่านมหัสจรรย์เล่ม2 โดยส.เปลี่ยนศรี
บุคคลอ้างอิง ปิยพร ผางน้อย อีเมล์ piyapornpang1@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ถนน ศูนย์ราชการ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40000
โทรศัพท์ 043-245013 โทรสาร 043-245014
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่