ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 3' 4.504"
18.0512511
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 6' 43.7782"
100.1121606
เลขที่ : 154001
ตำบลสูงเม่น
เสนอโดย jaturapat วันที่ 29 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย แพร่ วันที่ 5 กันยายน 2555
จังหวัด : แพร่
1 1521
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมาของชื่อ ตำบล “สูงเม่น”

“สูงเม่น” เดิมมีชื่อว่า “สุ่งเม่น” เนื่องจากบริเวณที่ตั้งของบ้านสูงเม่นปัจจุบันนี้เคยมีป่าไม้ที่หนาทึบ

มีต้นไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีลำห้วยแม่มานไหลผ่านเหมาะแก่หมู่สัตว์ป่าทั้งหลายมาอยู่อาศัยในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีฝูงเม่นมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านสุ่งเม่น” ตลอดมาและในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่อบ้าน “สุ่งเม่น” เป็นบ้าน “สูงเม่น” อย่างเป็นทางการและเป็นตำบลหนึ่งของตำบลสูงเม่นในเวลาต่อมา

ตำบลสูงเม่นมีหมู่บ้านในเขตปกครอง จำนวน ๑๐ หมู่บ้านคือ

หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านท่าล้อ มี ๒ ชุมชน คือ

- ชุมชนท่าล้อมร่วมใจ

- ชุมชนร่วมใจพัฒนา

หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านเม่นทองพัฒนา

หมู่ที่ ๓ หมู่บ้านประชารักษ์ถิ่น

หมู่ที่ ๔ หมู่บ้านท่ามด

หมู่ที่ ๕ หมู่บ้านโตนใต้

หมู่ที่ ๖ หมู่บ้านโตน

หมู่ที่ ๗ หมู่บ้านล้อพัฒนา

หมู่ที่ ๘ หมู่บ้านท่าม้าพัฒนา

หมู่ที่ ๙ หมู่บ้านโตนใต้

หมู่ที่ ๑๐ หมู่บ้านโตนเหนือ

หมู่ที่ ๑ หมู่บ้านท่าล้อ มี ๒ ชุมชน คือ

- ชุมชนท่าล้อร่วมใจ

- ชุมชนร่วมใจพัฒนา

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

- ทิศเหนือ ติดกับ ลำเหมืองแม่มาน หมู่ที่ ๒ และหมู่ที่ ๗ ต.สูงเม่น

- ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหัวฝาย

- ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหัวฝาย และบ้านท่า ช้างหมู่ ที่ ๗

- ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนยันตรกิจโกศล

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง ศาสนสถาน โรงเรียน

- เจ้าอาวาสวัดสูงเม่น องค์แรก คือ ครูบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายยศ กล้ำกลาย

- ครูใหญ่โรงเรียนสูงเม่นวิทยาคารคนแรก คือ นายแสน เทพปิตุพงศ์

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้าน

เนื่องจากหมู่บ้านสุ่งเม่นหรือสูงเม่นปัจจุบัน มีทำเลที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ สัตว์ต่างที่ใช้เดินทางและบรรทุกสินค้าจนเรียกว่า “ป๋างสุ่งม่น”หรือปางสูงเม่น เพราะมีลำห้วยแม่มานไหลผ่านมีน้ำ และหญ้าอุดมสมบูรณ์ให้สัตว์ได้ดื่มกิน และเจ้าของสัตว์ก็สามารถหาสัตว์ป่า ล่าเนื้อนำมาทำอาหารได้ แต่ในการเดินทางมีการใช้สัตว์หลายประเภท เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ลา ล่อ บ้างก็ใช้เป็นสัตว์บรรทุกสัมภาระ บ้างก็ใช้เป็นสัตว์เทียมเกวียน ลากจูงบ้าง เมื่อเดินทางมาถึงปางสูงเม่นก็หยุดพักแยกสัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดไปเลี้ยงในสถานที่ต่างกันไป เพื่อไม่ให้สัตว์ทำร้ายกันและสะดวกต่อการดูแล โดยแบ่งเขต เช่น ทางทิศตะวันออกของบ้านสูงเม่นเหนือแม่น้ำแม่มานใช้เป็นที่เลี้ยงช้าง จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านท่าช้าง” ส่วนทางทิศใต้ใช้เป็นที่เลี้ยงลาหรือล่อ จึงเรียกว่า “บ้านท่าล่อ” ซึ่งปัจจุบันเป็นบ้านสูงเม่นหมู่ที่ ๑ ภายหลังมาคำเรียกหมู่บ้านได้เปลี่ยนไปเป็น “บ้านท่อล้อ”

คำเรียกหมู่บ้านท่าล้อนี้มีสมมุติฐานอีกประการหนึ่งคือ ในการเดินทางข้ามลำห้วยแม่มานซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีสะพาน เมื่อขบวนล้อเกวียนผ่านมาต้องมีท่าขึ้น-ลง ของขบวนล้อเกวียน เมื่อขึ้นจากท่าน้ำแล้วก็มาพักในบริเวณนี้นำสัตว์ไปกินน้ำกินหญ้า เจ้าของล้อเกวียนก็ทำการซ่อมแซม หรือสร้างล้อขึ้นใหม่แทนของที่ช้ำรุดไป ชาวบ้านแถบนี้ก็ได้ศึกษากระบวนการสร้างล้อเกวียน ซึ่งต่อมาภายหลังชาวบ้านแห่งนี้สามารถประกอบอาชีพเป็นช่างทำล้อเกวียนนำไปขายในหมู่บ้าน ต่างบ้านต่างตำบล หรือแม่แต่ต่างจังหวัดก็มี จึงได้เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านท่าล้อ”

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจดจำมาจนถึงทุกวันนี้ คือ

การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระราชินีนาถ

ในวันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๐๑

๕. อาชีพสำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน

ประชาชนหมู่บ้านท่าล้อมีอาชีพทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพรองคือ การทำล้อเกวียน (ไม้สัก) การสานเสื่อลำแพน เป็นต้น

๖. อาหารท้องถิ่นในหมู่บ้าน

- น้ำพริกน้ำปู ผักนึ่ง

- ตำเตา

- แกงหยวกใส่ปลาแห้ง

๗. ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญและศิลปวัฒนธรรม ภาษาที่ใช้สื่อสารในหมู่บ้าน

๗.๑ ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญของหมู่บ้าน คือ

- การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์ เป็นการแสดงการสัมมาคารวะผู้สูงอายุ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ของตน

- การทำพิธีเรียกขวัญทูลขวัญ

๗.๒ ศิลปวัฒนธรรมในหมู่บ้านและการเล่นต่างๆ

- การเล่นสะบ้า

- การกลิ้งเหรียญ

- การโยนหลุม

๗.๓ ภาษาที่ใช่สื่อสารในหมู่บ้าน

- ใช้ภาษาพื้นเมืองล้านนา (เมืองแป้)

๘. การแต่งกายของประชาชนในหมู่บ้าน

ในอดีต ผู้ชายใส่เสื้อหม้อฮ้อม เตี่ยวกี ผ้าขาวม้าคาดพุง

ผู้หญิง ใส่เสื้อหม้อฮ้อมมีกระดุมเงิน ใส่ผ้าถุง

ปัจจุบัน ชายหญิง ทำงานในทุ่งนา หรืออยู่กับบ้าน จะใช้เสื้อหม้อฮ้อมกางเกงแล้วแต่สะดวกเหมาะกับ การใส่รองเท้าบูท

การแต่งกายออกนอกเคหะสถานไปตลาด มักจะใช้แบบสากล คือ ใช้เสื้อผ้าที่มีขายตามตลาด

๙. โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ของคนในหมู่บ้านไม่มีข้อมูล

๑๐ พิธีกรรม/ความเชื่อ ของคนในหมู่บ้าน

พิธีกรรมทางศาสนา ทำบุญตักบาตร บรรพชา/อุปสมบท

พิธีกรรมตามความเชื่อแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว จะมีการรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ ทำขวัญทูลขวัญ เลี้ยงผีปู่-ผีย่า

หมู่ที่ ๒ หมู่บ้านเม่นทองพัฒนา (บ้านสูงเม่นเหนือ)

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ ลำเหมืองหลวง และหมู่ที่ ๗ ต.ดอนมูล

ทิศใต้ ติดกับ ลำเหมืองแม่มาน และหมู่ที่ ๗ ต.สูงเม่น

ทิศตะวันออก ติดกับ ทุ่งนา และหมู่ที่ ๗ ต.ดอนมูล (บ้านร่องแหย่ง)

ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนยันตรกิจโกศล

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายนนท์ เจริญนุกูล (เหมืองหม้อ)

ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าอาวาส และครูใหญ่คนแรกของหมู่บ้านเหมือนกับบ้านหมู่ที่ ๑ เพราะใช้บริการโรงเรียนและวัดเดียวกันและเป็นตำบลเดียวกัน จึงมีชื่อกำนันเหมือนกัน

๓. ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของหมู่บ้าน

เนื่องจากหมู่ที่ ๒ อดีตเป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีแมกไม้ขึ้นหนาทึบ เหมาะสำหรับนำช้างมาเลี้ยง ประกอบ

กับมีลำห้วยแม่มานไหลผ่าน ควานช้างจึงนำช้างมาอาบน้ำที่ท่าน้ำนี้ โดยเฉพาะบริเวณท้ายบ้านหน้าบ้านผู้ใหญ่นนท์ ชาวบ้านจึงเรียกบ้านนี้ว่าบ้านท่าช้างบ้าง ซึ่งบริเวณดังกล่าวปัจจุบันได้แยกเป็นหมู่บ้านที่ ๗ ต.สูงเม่นไปแล้ว

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความประทับใจ

ได้รับพระราชทานเงินขวัญถุง “กองทุนแม่แผ่นดิน” จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นหมู่บ้านแรก

ในตำบล เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐

๕. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนจดจำมาจนถึงทุกวันนี้

ช่วงปลายเดือนเมษายน ๒๕๒๙ หลังสงกรานต์ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองทำให้บ้านเรือนในหมู่บ้านถูกลมพัดเสียหาย หลังคาบ้านพังไปเกือบ ๑๐ หลัง โดยเฉพาะหลังคาบ้านนายเสงี่ยม เวียงคำ นายอำนวย ขอบปี ถูกลมพัดยกเอาหลังคาบ้านไปตกบริเวณผากทางเข้าตำบลน้ำชำ ห่างจากจุดเกิดเหตุเกือบ ๒๐๐ เมตร ทำให้ชาวบ้านจดจำไม่ลืม

๖. อาชีพสำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน คือ

- รับจ้างทั่วไป ๖๕ % - เกษตรกรรม ๑๐ %

- ค้าขาย ๒๐ % - รับราชการ ๕ %

๗. อาหารในหมู่บ้าน ได้แก่

- ลาบหมู ลาบเนื้อวัว/ควาย

- แกงอ่อม หมู-เนื้อ

- ต้มไก่ ยำไก่ คั่วไก่

- น้ำพริก ผักลวก

- ขนมจีน

๘. วัฒนธรรม/ประเพณี การแต่งกายและศิลปะการแสดงต่างๆในหมู่บ้าน

- ประเพณีสำคัญของหมู่บ้าน คือ การรดน้ำดำหัวผู้สูอายุในวันสงกรานต์

- ศิลปวัฒนธรรมการแสดงในหมู่บ้านมีการเล่นซะล้อ ซอ ซึง เป็นวงโดยเฉพาะในเทศกาลวันสงกรานต์

- การแต่งกาย ในสมัยก่อนอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะใส่เตี่ยวกี เสื้อหม้อฮ้อม ในปัจจุบันแต่งตัวตามยุคสมัย ส่วนเตี่ยวกีและเสื้อหม้อฮ้อมก็ยังมีคนใช้อยู่บ้าง

- ภาษาพูด ชาวบ้านจะพูดคำเมืองเหนือ

๙. แหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้านบ้าน

- มีสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว ในชุมชน

- มีสวนสาธารณะให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ใช้พักผ่อน

๑๐. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- มีการเซ่นไหว้ผีปู่ผีย่า ผีเรือน

๑๑. การศาสนา/ประเพณี ในหมู่บ้าน

- ประชาชนนับถือพระพุทธศาสนา มีการบรรพชา อุปสมบทบุตรหลาน ฟังเทศน์ ใส่บาตร พิธีกรรมเข้าพรรษา ออกพรรษา

- พิธีงานสงกรานต์ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ลอยกระทง ทอดกฐิน ผ้าป่าสามัคคี

หมู่ที่ ๓ หมู่บ้านประชารักษ์ถิ่น

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๒ ต.สูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๘ ต.สูงเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายธิ กันเดช

ข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าอาวาสองค์แรก กำนันคนแรก ครูใหญ่คนแรกเหมือนกับหมู่ที่ ๑ เพราะใช้บริจาคบริการวัดและโรงเรียนเดียวกัน และเป็นตำบลเดียวกัน จึงมีข้อมูลเหมือนกัน

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน เหตุผลที่ตั้งชื่อหมู่บ้าน

หมู่ที่ ๓ ประวัติความเป็นมาเหมือนกับประวัติชื่อตำบล ซึ่งหมู่บ้านที่ ๓ ได้ตั้งมานานแล้ว มีผู้นำมาหลาย

สมัย จนมาภายหลังพื้นที่หมู่ที่ ๓ ได้เปลี่ยนการปกครองอยู่ในเขตสุขาภิบาลสูงเม่น และเทศบาลตำบลสูงเม่น จึงมีการจัดตั้งกลุ่มคณะต่างๆ ขึ้น เพื่อช่วยเหลือการบริหารงานของผู้ใหญ่บ้าน อาทิ คณะกรรมการหมู่บ้าน ชุมชนผู้สูงอายุ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน กลุ่มตำรวจบ้าน เป็นต้น เมื่อคณะกรรมการจากกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับมา โดยมติของประชาคมหมู่บ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้านใหม่จากเดิมที่เรียกว่า “บ้านสูงเม่น” มาเป็น “ชุมชนประชารักษ์ถิ่น” มาจนปัจจุบัน

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนประทับใจมาจนถึงทุกวันนี้

- วันที่ ๑๕-๑๗ มีนาคม ๒๕๐๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ซึ่งเป็นที่ตั้งหมู่ที่ ๓

๕. อาชีพที่สำคัญของประชาชน และอาหารท้องถิ่นในหมู่บ้าน

- อาชีพสำคัญ คือการเกษตร

- อาหารท้องถิ่นในหมู่บ้าน คือ น้ำพริก น้ำปู ผักนึ่ง ตำเตา

๖. ประเพณีวัฒนธรรม การแต่งกาย การแสดงศิลปวัฒนธรรมตลอดจนการเล่นต่างๆ

- ประเพณีวัฒนธรรมสำคัญคือการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

- ศิลปวัฒนธรรม/การเล่นต่างๆ คือ การเล่นสะบ้า การเล่นกลิ้งเหรียญ เล่นโยนหลุม

- การแต่งกาย ผู้ชาย ใส่เสื้อหม้อฮ้อม ผ้าขาวม้าคาดพุง

หญิง ใส่เสื้อหม้อฮ้อม และซิ้นแล้

๗. แหล่งท่อเที่ยวโบราณสถานวัตถุ และภาพต่างๆ

- แหล่งท่องเที่ยววัดสูงเม่นเป็นการท่องเที่ยวอนุรักษ์วัฒนธรรม

- โบราณสถานมีวัดสูงเม่น เจดีย์ครูบามหาเถร แหล่งศึกษาคัมภีร์ใบลาน

- ภาษาพูด ใช้ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

๘. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- การรดน้ำมนต์ เพื่อเสดาะเคราะห์

- การเลี้ยงผีปู่ย่า

๙. ในด้านศาสนาเนื่องจากวัดสูงเม่นอยู่ในเขตของหมู่ที่ ๓ ความศรัทธาจึงได้ทำพิธีทางศาสนา และรักษาวัฒนธรรมประเพณีกันอย่างดี อาทิ การทำบุญตักบาตร จัดประเพณีวัฒนธรรม ประเพณีไหว้สาครูบามหาเถร ประเพณีตากธรรม เป็นต้น

หมู่บ้านที่ ๔ บ้านท่ามด

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ ๘ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ ๑๐ ตำบลสูงเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่คนแรกของหมู่บ้าน คือ นายสอน ขยัก

- เจ้าอาวาสคนแรกของวัดศรีสว่าง คือ พระนายกัญจนวาสี

- ครูใหญ่โรงเรียนวัดศรีสว่างคนแรก คือ นายเจริญ เจือจาน (โรงเรียนยุบแล้ว)

- ส่วนกำนันตำบลสูงเม่น เหมือนในหมู่ที่ ๑

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน

มีประวัติความเป็นมาพร้อมกับวัดศรีสว่าง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๖ วัดศรีดอกเดิมชื่อ “วัดแต๋นมด “

เพราะสถานที่เป็นป่าดงดิบ ติดลำน้ำแม่สาย ในครั้งนั้นมีพระรูปหนึ่งชื่อว่า พระนายกัญจนวาสี ได้อพยพติดตามโยมพ่อ โยมแม่มาจากจังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงแสน ได้มาจำวัตรอยู่ริมดงแห่งนี้ วันหนึ่งพระนายได้เดินออกไปดูรอบๆ ที่พักได้พบแตนรังหนึ่ง ดูคล้ายมด พระนายเดินไปดูใกล้ๆ แตนก็ไม่ทำร้าย ตัวแตน (แต๋น) นั้นมีสีฟ้าอ่อน ไม่เหมือนแตนธรรมดาทั่วไป พระนายจึงกลับมาบอกโยมพ่อ โยมแม่ว่าดงนี้เป็นดงสำคัญตนจะตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นในดงแห่งนี้ โยมพ่อโยมแม่ก็ดีใจ

วันต่อมาพระนายได้ออกไปบอกให้ญาติโยมทั้งหลายที่อาศัยอยู่ริมดงแห่งนี้ ว่าจะตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น แล้วพาโยมทั้งหลายช่วยกันตัดไม้ทำที่พักอาศัย และสร้างศาลาที่ทำบุญ เมื่อสร้างเสร็จแล้วพระสงฆ์จึงตั้งชื่อว่า “วัดแต๋นมด” และชุมชนแห่งนั้นก็มีชื่อเหมือนวัด ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๒ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์เจ้าคณะจังหวัดแพร่ ได้มาตรวจเยี่ยมวัดในเขตปกครองจึงได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “วัดศรีสว่าง” และบ้านแต๋นมดก็เปลี่ยนไปตามวัดเป็นบ้านท่ามดมาจนถึงปัจจุบัน

๔. อาชีพที่สำคัญในชุมชน คือ

- การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้

- การทำการเกษตรกรรม

๕. ประเพณีวัฒนธรรม/งานเทศกาลประจำปี/การแต่งกาย/ศิลปวัฒนธรรม อาหารการกินในหมู่บ้าน

๕.๑ ประเพณี

- งานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์

- งานเทศกาลแห่เทียนพรรษา

- งานประเพณีลอยกระทง

- งานประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

- งานประเพณีกินสลากหรือตานก๋วยสลาก

๕.๒ การแต่งกายนิยมสวนเสื้อหม้อฮ้อม ผู้ชายใส่กางเกงยาก๊วย (เกี่ยวกี) ผู้หญิงสวมสิ้นแล้

๕.๓ อาหารพื้นเมือง เช่น แกงแค แกงอ่อม แกงฮังเล ลาบ น้ำพริกผักต้ม ไส้อั่ว

๕.๔ ศิลปวัฒนธรรม ได้มีการตัดตุงเพื่อใช้ในพิธีกรรมต่างๆ

๖. โบราณสถาน/โบราณวัตถุ ในหมู่บ้าน

- โบราณสถานได้แก่ วัดศรีสว่าง

- โบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูป ชื่อ พระอสิหิงสอง

๗. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- พิธีกรรมการทำบายศรีสู่ขวัญ

- การทำพิธีเสดาะเคราะห์

- การบวงสรวงพ่อพญาแก้วในวัดศรีสว่าง

หมู่ที่ ๕ บ้านโตนใต้หมู่ที่ ๕

๑. อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๖ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๙ ตำบลสูงเม่น

๒. การปกครองในปัจจุบัน

- เจ้าอาวาสคนแรกของวัดโชคเกษมคนแรก คือ ครูบาอุปทะ

- ผู้ใหญ่คนแรก คือ นายปั๋น พานพม (๒๕๑๔-๒๕๓๘)

- ครูใหญ่ โรงเรียนวัดโชคเกษม คนแรก คือ นายนิพนธ์ วรรณสุคนธ์

- กำนันคนแรกของตำบล เหมือนกับหมู่ที่ ๑ เพราะอยู่ตำบลเดียวกัน

๓. ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน

เนื่องจากบ้านโตน หมู่ที่ ๕ เดิมมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีประชากรหนาแน่น ผู้ใหญ่บ้านดูแลและให้บริการไม่ทั่วถึง นายเสริมกันทา ซึ่งเป็นนายอำเภอในสมัยนั้น จึงได้แยกหมู่บ้านออกเป็น ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๕ และหมู่ที่ ๖ โดยมายปั๋น พานพม เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ และนายยอง พวงลำเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๖ และในเวลาต่อมาประชากรหมู่ที่ ๕ ได้เพิ่มมากขึ้น ยากแก่การปกครองดูแลในวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๔ หมู่บ้านหมู่ ๕ จึงแยกออกเป็น ๒ หมู่บ้าน คือหมู่บ้านที่ ๕ เดิมและหมู่ที่ ๙ โดยหมู่ที่ ๕ มีนายมงคล กังหัน ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ส่วนหมู่ที่ ๙ มีนายพวม พานพม เป็นผู้ ใหญ่บ้าน

บ้านโตน มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจ เพราะเดิมมีชื่อเรียกหมู่บ้านว่า “บ้านสันโตน” เหตุที่เรี่ยกว่าบ้านสันโตน เพราะว่า เป็นหมู่บ้านที่โดดเดี่ยวห่างไกลจาหมู่บ้านอื่น การคมนาคมก็ไม่สะดวก ถนนหนทางก็เป็นทางล้อเกวียน คนที่ตั้งถิ่นฐานครอบครัวแรกไม่ทราบชื่อแน่ชัด ทราบแต่เพียงว่าเป็นพ่อ-แม่ ของแม่ใหญ่สีแก้ว พ่อใหญ่วงศ์ตั๋น ได้มาทำไร่ทำนา และทำสวนบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ แล้วต่อมาได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่นมาอยู่อาศัยในหมู่บ้านนี้จนมีประชากรเพิ่มขึ้น และมีศูนย์กลางการบริหารหมู่บ้านที่วัดสร่างโศก หมู่ที่ ๖ ปัจจุบัน ชาวบ้านได้ปรึกษาหารือกันเพื่อเลือกผู้นำหมู่บ้านขึ้น ซึ่งเรียกว่า “แก่บ้าน” ผู้ใหญ่บ้านหรือแก่บ้านคนแรกไม่ปรากฏหลักฐานชื่ออะไร เมื่อผู้นำคนแรกถึงแก่กรรมลง ชาวบ้านก็ได้เลือกพ่อหนาน กิจตะวงศ์ กระสาย เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา และได้ร่วมกันสร้างวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านขึ้นมาเรียกชื่อว่า “ วัดสันโตน” หรือวัดสร่างโศก ปัจจุบันโดยมีพระกาวินตา เป็นเจ้าอาวาสคนแรก และมีการสืบทอดมรดกทางศาสนาและสังคมสืบมาหลายชั่วคน จวบจนปัจจุบัน

เมื่อหมู่บ้านมีประชากรเพิ่มขึ้น มีการขยายบริเวณที่ทำกินให้กว้างขวางออกไป ประชาชนที่อาศัยทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านอันมีวัดสร่างโศกเป็นศูนย์กลาง มีความไม่สะดวกในการมาปฏิบัติศาสนพิธี ประกอบกับมีคณบดีที่มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดขึ้นใหม่ คือ พ่อหนานสุยะ อนันทสุข บิดาของหนานพิชัย อนันทสุข และแม่จันดี กาบเกี้ยว ได้ร่วมกับชาวบ้านผู้มีใจบุญทั้งหลาย ได้สร้างวัดขึ้นใหม่ชื่อว่า “วัดศรีบุญเรือง เมืองหน้าด่าน” คือวัดโชคเกษมในปัจจุบัน โดยมีพระครูบาอุปทะเป็นเจ้าอาวาสคนแรกของวัดนี้ และมีประชาชนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยตั้งบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเป็นหมู่บ้านใหม่ เรียกว่า “บ้านโตนใต้” และได้แยกออกมาเป็นหมู่บ้านใหม่ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นบ้านโตนใต้ หมู่ที่ ๕ ในปัจจุบัน

๔. อาชีพที่สำคัญของประชาชนและอาหารพื้นบ้านหมู่บ้านโตนใต้ หมู่ที่ ๕

- อาชีพหลัก คือ การทำเกษตร

- อาชีพสอง คือ การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

อาหารพื้นเมือง แกงแค แกงอ่อม ลาบขม น้ำพริกผักนึ่ง น้ำพริกน้ำปู เป็นต้น

๕. วัฒนธรรมประเพณี/การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการแต่งกายตลอดจนการ

- ประเพณีการรดน้ำดำหัววันสงกรานต์

- พระเพณีไหว้สถูปพระครูเกษมโชติคุณ

- ประเพณีตักบาตรเทโว

- การแต่งกาย ส่วนใหญ่ใช้แบบสากลทั่วไป ไปทำงานในไร่ใส่เสื้อหม้อฮ้อม ทั้งหญิงชาย ส่วนกางเกงใส่ตามสะดวก

๖. โบราณสถาน/โบราณวัตถุ ในหมู่บ้าน

- โบราณสถานได้แก่ วัดโชคเกษม

- สถูปพระครูเกษมโชติคุณ

๗. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- พิธีทำขวัญ

- เสดาะเคราะห์

- พิธีเลี้ยงผีปู่-ย่า

หมู่ที่ ๖ บ้านโตนหมู่ที่ ๖

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๕ ตำบลสูงเม่น

๒. การปกครองในปัจจุบัน

- เจ้าอาวาสคนแรกของวัดวร่างโศก คือ พระอธิการกาวินตา

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมุ่ที่ ๖ คือ นายยอง พวงคำ (อมรรัตนปัญญา)

- ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนวัดสร่างโศก คือ นายแสน ขานไข (เทพปิตุพงศ์)

- ส่วนกำนันคนแรกเหมือนกับหมู่ที่ ๑

๓. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

เนื่องจากหมู่ที่ ๖ เป็นหมู่บ้านที่แยกจากหมู่ที่ ๕ เดิม ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๔ แต่ตำแหน่งที่ตั้งหมู่บ้านนี้อยู่ในพิกัดทางภูมิศาสตร์ของหมู่ที่ ๕ เดิมทุกประการ ดังนั้นประวัติศาสตร์การสร้างบ้านแปลงเมือง จะเหมือนประวัติทางบ้านโตน หมู่ที่๕ ทุกประการ และมีหลักฐานการสร้างหมู่บ้านจากประวัติวัดสร่างโศก เพิ่มเติมให้เห็นท้ายนี้ด้วย

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านจดจำจนทุกวันนี้

วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๘ น้ำท่วมใหญ่ในหมู่บ้าน

๕. อาชีพที่สำคัญและอาหารพื้นบ้านในหมู่บ้าน

- อาชีพสำคัญคือการทำเกษตรกรรม

- การทำเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก

- อาหารพื้นบ้านน้ำพริกน้ำปู ผักนึ่ง ผักลวก แกงอ่อม แกงแค

๖. ประเพณีวัฒนธรรมและการแต่งกายของคนในหมู่บ้าน/ภาษาที่ใช้

- รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุวันสงกรานต์

- ทำบุญเขาพรรษาและออกพรรษา

- งานพิธีลอยกระทง งานจันยี่เป็ง

- การแต่งกาย ด้วยชุดหม้อฮ้อม

ภาษาที่ใช้เป็นภาพื้นเมืองภาคเหนือ

๗. โบราณสถาน/โบราณวัตถุ ของหมู่บ้าน

- โบราณสถาน คือ วัดสร่างโศก และสถูปเจดีย์พระสงฆ์ในอดีต

- พระพุทธรูปต่างๆ

๘. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- เลี้ยงผีปู่-ย่า

- ทรงเจ้าพ่อขุนตาล

๙. ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญา

๑. นายสนิท กิงคง อายุ ๖๐ ปี บ้านเลขที่ ๙๘ หมู่ที่ ๖ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญด้านการนวดแผนโบราณ

๒. นางโต๋ แก้วรอบ อายุ ๗๔ ปี บ้านเลขที่ ๙๐/๓ ม.๖ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญด้านการจักสาน

๓. นายเสริมศักดิ์ มหาวัน อายุ ๓๘ ปี บ้านเลขที่ ๑๕๙ ม.๖ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญด้านการเจียรไนอัญมณี

ประวัติวัดสร่างโศก

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชาวนายากจนครอบครัวหนึ่ง ได้มาทำมาหากินอยู่บริเวณเนินระหว่างแม่น้ำ ๒ สาย คือ แม่น้ำเหมืองและแม่น้ำร่องเกลี้ยง แม่น้ำ ๒ สายนี้ได้ไหลโอบอ้อมบริเวณเนินแห่งนี้เป็นแนวไหลสู่แม่น้ำยม นับได้ว่าเนินแห่งนี้ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี สามารถทำไร่เพาะปลูกได้ตลอดฤดูกาล ชาวนาครอบครัวนี้จึงตัดสินใจเลือกเอาถิ่นทำมาหากินบนเนินแห่งนี้ปักหลัก ตั้งฐานปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นครอบครัวแรกและเป็นครอบครัวเดียวสมัยนั้น จึงถูกเรียกว่า “บ้านสันโตน” (สันแปลว่าเนิน โตนแปลว่าสิ่งเดียว อันเดียว)

ต่อมาชาวบ้านจากถิ่นอื่นทราบข่าวความอุดมสมบูรณ์ของเนินแห่งนี้จึงหลั่งไหลพากันมาตั้งถิ่นฐาน จนในที่สุดบ้านสันโตนจึงมีผู้คนมาอาศัยหนาแน่นมากขึ้น

ประมาณปี จุลศักราช ๑๐๖๔ (พ.ศ. ๒๒๔๕) มีพระภิกษุรูปหนึ่งพร้อมกับสามเณรรูปหนึ่ง ชื่อ พระกาวินดา และสามเณรรัตนะ ได้เข้าเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่บ้านแห่งนี้ จนทำให้ชาวบ้านสันโตนเลื่อมใสในพระพุทธสาสนาแสละชักชวนร่วมมือกับพระกาวินดา และสามเณรรัตนะสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นโดยตั้งชื่อว่า “วัดสันโตน”

ต่อมาประมาณ จุลศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๒๓๙๕) วัดสันโตนได้เจริญและถูกพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ โดยมีพระครูคัมภีระเป็นเจ้าอาวาสได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างกุฎิพระวิหารใหม่แทนหลังที่ชำรุด โดยมีขนาดใหญ่และสวยงามกว่าหลังเดิม และได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดโตนเหนือ” มีพระภิกษุสามเณรจากสำนักอื่นมาอาศัยเพื่อศึกษาทางพระธรรมเป็นจำนวนถึง ๑๖ รูป

ในปีจุลศักราช ๑๒๘๐ (พ.ศ. ๒๔๖๑) กุฎิและพระวิหารที่พระคำภีระสร้างไว้ชำรุด เจ้าอาวาสคนใหม่ชื่อ พระครูอภิยะโสยาน ได้ร่วมกันศรัทธาวัดสร้างกุฎิและพระวิหาร เป็นครั้งที่ ๓ แต่การสร้างยังไม่เสร็จ พระครูภิระโสยานมรณภาพเสียก่อน ต่อมาก็มีพระพรหมา (พ่อหนานหลวงเทพ กางกั้น) เข้ามารับช่วงเป็นเจ้าอาวาสสร้างกุฎิจนแล้วเสร็จเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดโตนเหนือเป็น “วัดสร่างโศก”

จากนั้นประมาณปีจุลศักราช ๑๒๙๙ (พ.ศ. ๒๔๘๐) พระอธิการคำลือจันทศิริ เป็นเจ้าอาวาสได้ทำการพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องและได้สร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นมา (หลังที่ ๔) แต่การก่อสร้างยังไม่เสร็จท่านก็มามรณภาพเสียก่อน ต่อมาชาวบ้านไปนิมนต์พระครูสมุหัฐชาติ ชินวโร จากวัดสูงเม่นมารับช่วงสร้างพระวิหาร จนแล้วเสร็จในปีจุลศักราช ๑๓๓๗ (พ.ศ. ๒๕๑๘)

หมู่ที่ ๗ บ้านท่าล้อพัฒนา

๑. อาณาเขตขอนงหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลสูงเม่น

ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ ๑ ตำบลสูงเม่นและตำบลหัวฝาย

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลหัวฝาย

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๑ ตำบลสูงเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายชาญ ข้ามสาม

ส่วนข้อมูลอื่นๆ ในด้านนี้ตรงกับหมู่ที่ ๑ ทุกประการ

๓. ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของหมู่บ้าน

ชุมชนท่าล้อพัฒนา หมู่ที่ ๗ ตำบลสูงเม่น เป็นหมู่บ้านที่แยกใหม่ ส่วนใหญ่มีอาชีพทำล้อเกวียน จำหน่ายเป็นอาชีพหลัก จึงใช้ชื่ออาชีพเป็นชื่อของหมู่บ้าน เรี่ยกว่า หมู่บ้าน “ท่าล้อ” แต่พื้นที่บางส่วนในเขตท่าช้างวังขามซึ่งมีประชากรน้อยกว่าเขตบ้านท่าล้อ ชาวบ้านจึงได้มีมติเรียกชื่อของตนว่า “ชุมชนท่าล้อพัฒนา”

๔. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ประทับใจประชาชน คือ

การที่ได้แยกหมู่บ้านมาจากหมู่บ้านที่ ๒ มาเป็นหมุ่บ้านทที่ ๗ ในปัจจุบัน ในพ.ศ. ๒๕๒๙

๕. เหตุการณ์ที่ทำให้ชาวบ้านจดจำมาตลอดจนทุกวานนี้ คือ

ตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๗ ไทยรบกับญี่ปุ่นทำให้ข้าวยากหมากแพง ชุมชนต้องสร้างหลุมหลบภัยจากระเบิดที่ใช้ในสงครามครั้งนั้น

๖. อาชีพของชาวบ้าน อาหารพื้นบ้าน

- อาชีพของประชาชนในหมู่บ้าน คือ การรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ รองลงมา ได้แก่ การเกษตร

- อาหารพื้นบ้านสำคัญ คือ แกงหน่อไม้ น้ำพริกผักนึ่ง และน้ำพริกตาแดง

๗. ประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ/การแต่งกาย/ภาษาพูด

- ประเพณีวัฒนธรรม คือ การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การไหว้ผีปู่ผีย่า

- การแต่งกายนิยมใช้ผ้าหม้อฮ้อมทั้งหญิงและชาย

- ภาษาที่ใช้คือภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ

๘. โบราณสถานและโบราณวัตถุของหมู่บ้าน

- โบราณสถานสำคัญ คือ โบสถ์คริสตจักรไทยวัฒนธรรม

๙. พิธีกรรม/ความเชื่อ

- สืบชะตา

- เสดาะเคราะห์

- เสกเป่าน้ำมนต์

๑๐. ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาในหมู่บ้าน

- นายสวัสดิ์ ขีดสร้อย อายุ ๖๘ ปี บ้านเลขที่ ๑๓๖/๑ ม.๗ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ มีความเชี่ยวชาญในการอ่านเขียน ภาษาล้านนา และจักรสาน

- นายหลวง จำเดิม อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที่ ๒๒๕ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เชี่ยวชาญการประดิษฐ์ของใช้จากกะลามะพร้าว

- นางคำมูล มั่งคั่ง อายุ ๖๕ ปี บ้านเลขที่ ๑๔๔ ม.๗ ต.สูงเม่น อ.สูงเม่น จ.แพร่ เชี่ยวชาญด้านการใช้คาถาอาคมเป่าดับพิษไฟน้ำร้อนลวก

๑๑. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศาสนา

โบสถ์คริสจักรไทยวัฒนธรรม เกิดจากการเผยแพร่ ของ “พระกิตติคุณ” โดยศาสนทูตซีอาร์คาแลนเดอร์และภรรยาร่วมกับเจ้าหน้าที่คริสต์จักรที่ ๑ เทสร็จแล้วทำการสถาปนาเมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๕๕

หมู่ที่ ๘ ชุมชนท่าม้าพัฒนา

๑. อาณาเขตของหมู่บ้าน

ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ ๒ ตำบลพระหลวง

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลน้ำชำ

ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ ๓ ตำบลสูงเม่น

ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ ๔ ตำบลสูงมเม่น

๒. ข้อมูลด้านการปกครอง

- ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน คือ นายปั๋น ชอุ่ม

- เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง คนแรก คือ พระนายกัญจนวาสี

- ครูใหญ่คนแรก ของโรงเรียนวัดศรีสว่าง (ยุบ) คือนายเจริญ เจือจาน

- ส่วนกำนันคนแรกของตำบลเหมือนหมู่บ้านอื่นๆ

๓. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน

ชุมชนท่าม้าพัฒนา หมู่ที่ ๘ ในอดีตเป็นทำเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีป่าไม้เขียวชอุ่ม มีแม่น้ำแม่มานไหลผ่านมีน้ำตลอดปี และมีระยะทางไม่ไกลจากที่ตั้ง “ป๋างสู่งเม่น” คณะคาราวานจึงได้กำหนดให้ป่าทางทิศตะวันตกเป็นที่เลี้ยงม้า มีทั้งม้าที่เป็นพาหนะสำหรับขี่ม้า ม้าต่าง ม้าลากจูง เป็นต้น ทำให้มีความสะดวกในการดูแลเอาใจใส่ ไม่ให้สัตว์ต่างประเภทกับมาอยู่ร่วมกัน ซึ่งมันอาจทำร้ายกันได้ ส่วนสัตว์อื่น เช่น ช้างก็จัดให้ไปเลี้ยงทางทิศตะวันออกบริเวณบ้านท่าช้าง เป็นต้น

ในเวลาต่อมามีประชาชนมาอยู่อาศัยกันมากขึ้น เป็นหมู่บ้าน และตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า “บ้านท่าม้า” และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครอง “บ้านท่าม้า” ก็อยู่ในเขตเทศบาลสูงเม่น การบริหารหมู่บ้านจะทำเป็นหมู่เป็นกลุ่มของคนในสาขาต่างๆ แทนที่จะเป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านคนเดียว เหมือนเดิม จึงเปลี่ยนหมู่บ้านเสียใหม่ ว่า “ ชุมชนท่าม้าพัฒนา “ ที่คนในชุมชนทุกคน ทุกหมู่บ้านต่างช่วยกันพัฒนา

๔. ตำนานเรื่องเล่าของหมู่บ้าน

มีเรื่องเล่าว่านานมาแล้วมีผีแม่หม้ายออกอาละวาด ทำให้ผู้ชายในหมู่บ้านอื่นตายเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ชายบ้านท่าม้าไม่มีใครตายเพราะได้รับการปกป้องขัดขวางของเจ้าพ่อพญาแก้ว ท่านทำต้นหางนกยูงยักษ์หักล้มขวางทางไว้ไม่ให้ผีแม่หม้ายมาทำร้ายลูกหลานผู้ชายในหมู่บ้านนี้

๕. เหตุการณ์สำคัญในอดีตทำให้ประชาชนในหมู่บ้านประทับใจมาจนทุกวันนี้คือ ประชาชนในหมู่บ้านได้พระพุทธรูปปางมริชัยจากแม่น้ำยม มาประดิษฐานที่วัดศรีสว่าง ซึ่งชาวบ้านได้เสี่ยงทายเพื่อตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ในที่สุดได้ชื่อว่า “หลวงพ่อยมนา๑”

๖. เหตุการณ์สำคัญในอดีตที่ประชาชนจดจำมาจนวันนี้ คือ

ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เกิดเหตุการณ์วาตภัยถล่มหมู่บ้านทำให้บ้านเรือนเสียหายหลายหลัง มีบ้านที่

สถานที่ตั้ง
ตำบลสูงเม่น
ตำบล สูงเม่น อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง จตุรภัทร อิ่มเพ็ง อีเมล์ mail@pco.go.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 13
ตำบล ป่าแมต อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000
โทรศัพท์ 054625496
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่