ฮั่วท้อเซียนซือ (華陀仙師) ฮั่วท้อเซียงซือ หรือเรียกอีกชื่อว่า ฮั่วท้อ เดิมชื่อว่าฮั้วย้ง “ ฉายาง่วนฮ่วย ” เกิดในราชวงศ์ฮั่น ตำบทเจียวกุ่ย ท่านมีความเฉลียวฉลาดตั้งแต่เล็ก ชอบค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ชอบสันโดษเชี่ยวชาญด้านฝั่งเข็มและปรุงยา ท่านยังสามารถผ่าตัดล้างกระเพาะบำบัดโรค หรือผ่ากำจัดเนื้อร้าย ยังสามารถผลิตยา คิดค้นยาต่างๆ เป็นท่านแรก ท่านยังเป็นผู้มีอัจฉริยะในการแพทย์ คนที่ให้ท่านรักษาล้วนหายขาดจากโรคเหมือนรักษาคนตายให้ฟื้นดังนั้น การรักษาของฮั่วท้อ ซึ่งยังคงฝั่งใจของประชาชนคนจีนจนถึงปัจจุบันนี้ หนังสือสามก๊กกล่าวว่า ในชีวิตของฮั่วท้อสามารถผ่าตัดกระดูกที่โดนพิษให้กับกวนอู ฮั่วท้อมีความรู้อันลึกซึ้งสามารถรักษาโรคได้ทุกชนิด ดังนั้น ประชาชนจึงยกย่องว่าเป็นบรมครูแห่งการแพทย์และเภสัชกรจีน
จากประวัติข้างต้น ยามใดที่เจ็บป่วย ชาวจีนหรือชาวไทยสายเลือดจีนจะมาบนบานขอให้ฮั่วท้อเซียนซือ ซึ่งถือว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งการแพทย์ ช่วยปัดเป่าความเจ็บความป่วยให้หมดสิ้นไป
วันคล้ายวันเกิดประจำปีของท่านซึ่งตรงกับเดือน ๔ วันที่ ๑๘ ของจีน
ลักษณะประติมากรรม
ฮั่วท้อเซียนซือ แต่งกายแบบนักพรตลัทธิเต๋า บริเวณคอเสื้อประดับลายม้วนวน หรือ ลายสายฟ้า (leiwenor thunder pattern) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนเมฆและเสียงฟ้าร้องที่ใช้กันมาตั้งราวสมัยราชวงศ์ซาง (Shang Dynasty) เรื่อยมาจนปัจจุบัน ส่วนในประเทศไทยนั้นมักเรียกกันว่าลายประแจจีน (Key-pattern) ซึ่งมีที่มาจากการศึกษาเรื่องลวดลายในศิลปะจีนของชาวตะวันตกที่ให้ความเห็นว่าลายดังกล่าวมีลักษณะเป็นเส้นคดเคี้ยว(The Meander) สามารถนำไปพัฒนาเป็นลวดลายต่างๆได้อีกมาก (Key-pattern) ถัดลงมาเป็นลายหยูอี้ (如意) เป็นสัญลักษณ์แห่งสิริมงคล บริเวณกลางลำตัวประดับลายสัญลักษณ์ไท่จี๋ (太極/Taiji) สัญลักษณ์การเคลื่อนไหวของหยินและหยาง ล้อมรอบด้วยลายสัญลักษณ์ ปากั่ว (bagua) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนปรากฏการณ์หรือสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ 8 สิ่ง คือ ท้องฟ้า ทะเลสาบ ไฟ สายฟ้า ลม น้ำ ภูเขา และโลก บริเวณหัวไหล่และเข่าทั้ง ๒ ข้าง ประดับลายดอกโบตั๋นในวงกลม มือขวาถือแส้ มือขวาถือยาวิเศษ นั่งบนเก้าอี้มีเท้าแขนเป็นมังกรทั้งสองด้าน