ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 58' 26.679"
12.9740775
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 54' 16.808"
101.9046689
เลขที่ : 197988
ขนมใบหลำป้าง
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : จันทบุรี
0 629
รายละเอียด

ชาวบ้านช่องกะพัด หมู่ที่ 1 ตำบลแก่งหางแมว อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เห็นว่าใบหลำป้างมีกลิ่นหอมจึงได้นำใบหลำป้างมาห่อขนมนึ่ง ตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ชาวบ้านช่องกะพัดรุ่นพ่อรุ่นแม่ ยังนิยมทำขนมใบหลำป้างรับประทานกันเป็นประจำ เพราะ ทำง่าย และมีรสชาติอร่อยถูกปาก หากมีบ้านใดทำขนมใบหลำป้างไปทำบุญ ถวายพระและหากมีเหลือจากใส่บาตรพระแล้วญาติโยนก็มักจะแบ่งกันหยิบไปรับประทานจนหมด

จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะนำภูมิปัญญานี้มาศึกษาเรียนรู้และสืบทอดเพื่อเป็นมรดกและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่อไป

ส่วนผสมของขนมใบหลำป้าง

๑. แป้งข้าวเหนียว ๑ กิโลกรัม

๒. แป้งมันสำปะหลัง/แป้งท้าวยายม่อม ๒ ขีด

๓. น้ำตาลอ้อย ๑ กิโลกรัม

๔. น้ำตาลทราย ๑/๒ กิโลกรัม

๕. มะพร้าวขูด ๑ กิโลกรัม

๖. น้ำมันพืช/น้ำกะทิ ๑ ถ้วย

๗. เกลือ ๑ ช้อนชา

๘. ใบหลำป้าง ๕๐ ใบ

๙. งาขาว/งาดำ ๒ ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนและวิธีการทำ

๑. ตั้งน้ำเปล่าผสมน้ำตาลอ้อยกับน้ำตาลทรายตั้งไฟเคี่ยวให้ละลาย

๒. เทแป้งข้าวเหนียวลงในกาละมัง ตักน้ำตาลเคี่ยวใส่แป้งทีละน้อยและนวดจนแป้งนิ่มเป็นเนื้อเดียวกัน ควรระวังไม่ให้แข็งหรือเหลวเกินไป

๓. นำมะพร้าวขูดมาคลุกเกลือให้มีรสเค็มไม่จัดเกินไป

๔. นำใบหลำป้างมาเด็ดขั้ว เช็ดให้สะอาดและทาน้ำมันจับประกบกันแล้ววางไว้

๕. ปั้นแป้งให้กลมเท่าลูกมะนาว กดแป้งให้แบน วางบนใบหลำป้างใส่ไส้มะพร้าว พับแป้งประกบ แล้วห่อพับทบวางในลังถึงไว้

๖. นึ่งขนมด้วยไฟแรง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เปิดดูแป้งใสแสดงว่าสุกดีแล้ว

สถานที่ตั้ง
สภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเด่น ตันธนกุลวิบูรณ์ อีเมล์ watanatam.chan@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
เลขที่ 22 หมู่ที่/หมู่บ้าน 11
ตำบล แก่งหางแมว อำเภอ แก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี
โทรศัพท์ 061-2485263
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่