ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 35' 57.8533"
16.5994037
Longitude : E 99° 50' 55.2602"
99.8486834
No. : 109868
นายรอน เจนจบ
Proposed by. รัฐไกร Date 24 August 2011
Approved by. กำแพงเพชร Date 31 January 2013
Province : Kamphaeng Phet
1 619
Description

นายรอน เจนจบ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ บุตรนายรอด - นางชิด เจนจบ มีความชอบในเรื่องความเชื่อ ได้ศึกษา

หาความรู้จากตำรา มีความสามารถในการดูดวง การรักษาแบบโบราณ (การเป่าพ่นน้ำมนต์) และการตั้งศาลพระภูมิ

ความสำคัญและความเชื่อ

การตั้งศาลพระภูมิจะกระทำเมื่อมีการปลูกบ้านใหม่ เจ้าของบ้านเข้ามาอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้วหรือย้ายที่อยู่ ซึ่งที่อยู่ใหม่นั้นยังไม่มีศาลพระภูมิ

ลักษณะของศาลแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทได้แก่

๑. ศาล พรหม-เทพ-เทพารักษ์ หากเป็นตำราโบราณกำหนดลักษณะในการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชั้นสวรรค์ ดาวดึงส์ พรหมโลก เทวโลก เทพเทวดาชั้นฟ้าทั้งหลาย โดยลักษณะของศาลให้มีเสา ๖ ต้น จึงจะถูกต้อง หากตั้งบนดาดฟ้าจะอัญเชิญเทพ-พรหมสถิต ในกรณีตั้งศาล ๖ เสาบนพื้นดิน สามารถ อัญเชิญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมได้ทั้งพระพรหม-พระอินทร์-เทพ-รุกเทวดา-พระภูมิเจ้าที่-แม่พระธรณี-เจ้าที่-เจ้าท่า-เจ้าป่าเจ้าเขา-นางฟ้า-นางไม้-แม่นางเจ้าของที่ หากแต่ปัจจุบัน หลายที่สังเกตเห็นว่าใช้ศาลใหญ่เสาเดียว เชิญพระพรหมสถิตตามอาคารใหญ่ต่างๆ ทั่วไป

๒. ศาลเจ้าที่ ต้องตั้งที่พื้นดิน ห้ามขึ้นบนบ้าน หรือตั้งบนดาดฟ้าเป็นอันขาด โดยลักษณะของศาลให้มีเสา ๔ ต้น

๓. ศาลพระภูมิ ต้องตั้งที่พื้นดิน และห้ามขึ้นบนบ้านเช่นเดียวกับศาลเจ้าที่ โดยลักษณะของศาลให้มีเสาเพียง ๑ ต้น

สาระที่สะท้อนความเชื่อหรือเหตุผลในการจัดพิธีกรรม

คนไทยแต่อดีตกาล มีความเชื่อว่าตามฟ้า ดิน น้ำ ภูเขา ต้นไม้ และอาคารบ้านเรือน มีผีเจ้า ที่เจ้าทาง ปกปักรักษาอยู่ ผนวกกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู ทำให้เกิดการพัฒนา พิธีการอัญเชิญผีเจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประทับในศาล(ศาลพระภูมิ,ศาลเจ้าที่) เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแล รักษาสถานที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ให้มีความเป็นสิริมงคล เจริญก้าวหน้าในทุกสถานนิยมตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ ในวันที่ปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่ การตั้งศาลพระภูมิ นำแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดูว่า พระอิศวร หรือพระศิวะ ทรงมีวิมาน ประทับบนยอดเขาพระสุเมรุ เปรียบประดุจมณฑลจักรวาล พระภูมิถือเป็นเทวดา ขั้นหนึ่งเหมือนกัน วิมานของศาลพระภูมิ จึงต้องมีเสาเดียว เปรียบประดุจเขาพระสุเมรุมาศวิมานของ พระอิศวร ฉะนั้น การตั้งศาลพระภูมิ ตามคติบ้านเรือนของคนไทย จึงมีเสาเดียว ส่วนศาลเจ้าที่นั้นเปรียบ

เสมือนบ้านเรือนชาวบ้านจึงมี ๔ เสา ส่วนศาลที่อยู่ตามโคนต้นไม้ ทางสามแพ่ง เป็นที่สิงสถิตของวิณญาณเร่ร่อนพเนจร นิยมสร้างศาลมี ๖ เสา หรือ ๘ เสา คนไทย นั้นเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เร้นลับ เป็นสิ่งที่ผูกพันในชีวิตเราแทบทุกคน ศาลพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวอันแสดงถึงความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อสิ่งนี้

การสืบทอดประเพณี

ปัจจุบันวิถีของคนจะอยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มอาทิเช่นหมู่บ้านจัดสรร คอนโดฯ ทั้งหลาย เรียกว่า บ้านชนบ้านกันเลยทีเดียว การอยู่รวมกลุ่มแบบนี้อาจใช้วิธีตั้งศาลเพื่อให้ทุกบ้านมาใช้ได้ ซึ่งหมู่บ้านต่าง ๆ ก็นิยมที่ตั้งศาลของหมู่บ้านอยู่แล้ว คนรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้จึงไม่นิยมตั้งศาลพระภูมิหรือศาลเจ้าที่บ้านเพราะสามารถไปใช้ศาลของหมู่บ้านแทนก็ได้ แต่ก็ยังมีบุคคลที่มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องนี้ ไม่น้อย ที่เชื่อว่าตั้งศาลแล้วดีก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย เชื่อว่าได้อัญเชิญพระภูมิมาสถิติ

Location
No. ๖๖ Moo ๘/บ้านโนนใน
Tambon ลานกระบือ Amphoe Lan Krabue Province Kamphaeng Phet
Details of access
จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา และภูมินาม อำเภอลานกระบือ
Reference นางจารีรัตน์ นทีประสิทธิพร
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
Tambon หนองปลิง Amphoe Mueang Kamphaeng Phet Province Kamphaeng Phet
Tel. ๐๕๕-๗๐๕๐๘๙ Fax. ๐๕๕-๗๐๕๐๙๐
Website http:prorince.m_culture.go.th/kamphang
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่