ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 35' 57.8533"
16.5994037
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 50' 55.2602"
99.8486834
เลขที่ : 109868
นายรอน เจนจบ
เสนอโดย รัฐไกร วันที่ 24 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย กำแพงเพชร วันที่ 31 มกราคม 2556
จังหวัด : กำแพงเพชร
1 618
รายละเอียด

นายรอน เจนจบ เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ บุตรนายรอด - นางชิด เจนจบ มีความชอบในเรื่องความเชื่อ ได้ศึกษา

หาความรู้จากตำรา มีความสามารถในการดูดวง การรักษาแบบโบราณ (การเป่าพ่นน้ำมนต์) และการตั้งศาลพระภูมิ

ความสำคัญและความเชื่อ

การตั้งศาลพระภูมิจะกระทำเมื่อมีการปลูกบ้านใหม่ เจ้าของบ้านเข้ามาอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้วหรือย้ายที่อยู่ ซึ่งที่อยู่ใหม่นั้นยังไม่มีศาลพระภูมิ

ลักษณะของศาลแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทได้แก่

๑. ศาล พรหม-เทพ-เทพารักษ์ หากเป็นตำราโบราณกำหนดลักษณะในการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชั้นสวรรค์ ดาวดึงส์ พรหมโลก เทวโลก เทพเทวดาชั้นฟ้าทั้งหลาย โดยลักษณะของศาลให้มีเสา ๖ ต้น จึงจะถูกต้อง หากตั้งบนดาดฟ้าจะอัญเชิญเทพ-พรหมสถิต ในกรณีตั้งศาล ๖ เสาบนพื้นดิน สามารถ อัญเชิญ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมได้ทั้งพระพรหม-พระอินทร์-เทพ-รุกเทวดา-พระภูมิเจ้าที่-แม่พระธรณี-เจ้าที่-เจ้าท่า-เจ้าป่าเจ้าเขา-นางฟ้า-นางไม้-แม่นางเจ้าของที่ หากแต่ปัจจุบัน หลายที่สังเกตเห็นว่าใช้ศาลใหญ่เสาเดียว เชิญพระพรหมสถิตตามอาคารใหญ่ต่างๆ ทั่วไป

๒. ศาลเจ้าที่ ต้องตั้งที่พื้นดิน ห้ามขึ้นบนบ้าน หรือตั้งบนดาดฟ้าเป็นอันขาด โดยลักษณะของศาลให้มีเสา ๔ ต้น

๓. ศาลพระภูมิ ต้องตั้งที่พื้นดิน และห้ามขึ้นบนบ้านเช่นเดียวกับศาลเจ้าที่ โดยลักษณะของศาลให้มีเสาเพียง ๑ ต้น

สาระที่สะท้อนความเชื่อหรือเหตุผลในการจัดพิธีกรรม

คนไทยแต่อดีตกาล มีความเชื่อว่าตามฟ้า ดิน น้ำ ภูเขา ต้นไม้ และอาคารบ้านเรือน มีผีเจ้า ที่เจ้าทาง ปกปักรักษาอยู่ ผนวกกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ และพราหมณ์ฮินดู ทำให้เกิดการพัฒนา พิธีการอัญเชิญผีเจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประทับในศาล(ศาลพระภูมิ,ศาลเจ้าที่) เพื่อปกป้องคุ้มครองดูแล รักษาสถานที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ให้มีความเป็นสิริมงคล เจริญก้าวหน้าในทุกสถานนิยมตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ ในวันที่ปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่ การตั้งศาลพระภูมิ นำแนวคิดมาจากศาสนาพราหมณ์ฮินดูว่า พระอิศวร หรือพระศิวะ ทรงมีวิมาน ประทับบนยอดเขาพระสุเมรุ เปรียบประดุจมณฑลจักรวาล พระภูมิถือเป็นเทวดา ขั้นหนึ่งเหมือนกัน วิมานของศาลพระภูมิ จึงต้องมีเสาเดียว เปรียบประดุจเขาพระสุเมรุมาศวิมานของ พระอิศวร ฉะนั้น การตั้งศาลพระภูมิ ตามคติบ้านเรือนของคนไทย จึงมีเสาเดียว ส่วนศาลเจ้าที่นั้นเปรียบ

เสมือนบ้านเรือนชาวบ้านจึงมี ๔ เสา ส่วนศาลที่อยู่ตามโคนต้นไม้ ทางสามแพ่ง เป็นที่สิงสถิตของวิณญาณเร่ร่อนพเนจร นิยมสร้างศาลมี ๖ เสา หรือ ๘ เสา คนไทย นั้นเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เร้นลับ เป็นสิ่งที่ผูกพันในชีวิตเราแทบทุกคน ศาลพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่างหนึ่งที่ใกล้ตัวอันแสดงถึงความเชื่อ และความศรัทธาที่มีต่อสิ่งนี้

การสืบทอดประเพณี

ปัจจุบันวิถีของคนจะอยู่อาศัยกันเป็นกลุ่มอาทิเช่นหมู่บ้านจัดสรร คอนโดฯ ทั้งหลาย เรียกว่า บ้านชนบ้านกันเลยทีเดียว การอยู่รวมกลุ่มแบบนี้อาจใช้วิธีตั้งศาลเพื่อให้ทุกบ้านมาใช้ได้ ซึ่งหมู่บ้านต่าง ๆ ก็นิยมที่ตั้งศาลของหมู่บ้านอยู่แล้ว คนรุ่นใหม่ ๆ เดี๋ยวนี้จึงไม่นิยมตั้งศาลพระภูมิหรือศาลเจ้าที่บ้านเพราะสามารถไปใช้ศาลของหมู่บ้านแทนก็ได้ แต่ก็ยังมีบุคคลที่มีความเชื่อและความศรัทธาในเรื่องนี้ ไม่น้อย ที่เชื่อว่าตั้งศาลแล้วดีก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย เชื่อว่าได้อัญเชิญพระภูมิมาสถิติ

สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๖๖ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๘/บ้านโนนใน
ตำบล ลานกระบือ อำเภอ ลานกระบือ จังหวัด กำแพงเพชร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา และภูมินาม อำเภอลานกระบือ
บุคคลอ้างอิง นางจารีรัตน์ นทีประสิทธิพร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
ตำบล หนองปลิง อำเภอ เมืองกำแพงเพชร จังหวัด กำแพงเพชร
โทรศัพท์ ๐๕๕-๗๐๕๐๘๙ โทรสาร ๐๕๕-๗๐๕๐๙๐
เว็บไซต์ http:prorince.m_culture.go.th/kamphang
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่