ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 7.9999"
14.3522222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 36.0001"
100.5766667
เลขที่ : 115701
คลังสินค้า
เสนอโดย สำนักศิลปากรที่๓อย วันที่ 26 กันยายน 2554
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 21 มีนาคม 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 2853
รายละเอียด

คลังสินค้าหรือพระคลังสินค้า ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัด

พระนครศรีอยุธยา เป็นแหล่งโบราณคดีในสมัยอยุธยา สภาพปัจจุบันเป็นบ้านเรือน รับจ้างตอกเสาเข็ม และบริเวณถนนป่าตอง (อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดบรมพุทธาเดิมในมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา)

จากเอกสารประวัติศาสตร์พบว่า คลังสินค้าหรือพระคลังสินค้า เป็นส่วนที่ราชสำนักสร้างขึ้น

มารวบรวมสินค้าที่ได้มาจากการเก็บ "ส่วย" จากบ้านเมืองประเทศราช และจากการ "ซื้อ"จากประชาชนที่ขนมาขาย แล้วพระคลังสินค้าก็ส่งขายให้กับชาวต่างชาติอีกทอดหนึ่ง โดยจะมีการขายให้ต่างชาติ2อย่างคือ แต่งสำเภาขนสินค้าไปขายถึงเมืองจีน เมืองญี่ปุ่น และอื่นๆ กับมีเรือสำเภาต่างชาติเข้ามาขอซื้อถึงที่ พระคลังสินค้าจึงเป็นการค้าภายนอกกับต่างชาติที่เป็นระบบผูกขาด

การจัดตั้งคลังสินค้าหรือพระคลังสินค้านี้เริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดย

ทรงใช้จัดตั้งกรมท่าขึ้นดำเนินการในด้านการค้าขาย ทรงจัดให้พระจุฬาราชมนตรีว่าฝ่ายแขก และหลวงโชฎึกราชเศรษฐีว่าฝ่ายจีน เรียกว่า กรมท่าขวาและกรมท่าซ้ายตามลำดับ รวมอยู่ในอำนาจของโกษาธิบดี (พระคลัง) การค้าของหลวงภายใต้ระบบพระคลังสินค้าในขั้นแรกคงไม่ได้ผูกขาดการค้ามากนัก การค้าผูกขาดหรือระบบพระคลังสินค้า คงเกิดขึ้นในตอนหลัง เมื่อมีพ่อค้าชาติตะวันตกเข้ามาค้าขาย จึงมีกฎข้อบังคับในการค้าขายมากขึ้น จนกระทั้งมีลักษณะคลังสินค้าขึ้น แต่ไม่ได้ปรากฎว่าเป็นสมัยใด

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ตลาดอยุธยามีลักษณะเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ

ที่ใหญ่แห่งหนึ่ง จึงมีสินค้าต่างๆจากหลายถิ่นมากมาย พระคลังสินค้าที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับต่างประเทศจึงต้องระวังการซื้อขายสินค้าบางชนิดที่เป็น"สินค้าต้องห้าม"หรือ"สินค้าผูกขาด"คือ อาวุธยุทโธปกรณ์ สินค้าป่าบางชนิด เช่น ดินประสิว ตะกั่ว ฝาง ดีบุก และไม้หอม เป็นต้น บางครั้งก็มีข้าวเปลือกและข้าวสาร ส่วนสินค้าที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาต้องให้พระคลังสินค้าเลือกซื้อก่อน คือ ผ้าแดง เครื่องถ้วยชาม เป็นต้น

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
คลังสินค้า
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา
ชื่อที่ทำงาน สำนักศิลปากรที่ ๓ อย
ถนน อู่ทอง
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 035-242-448 โทรสาร 035-242-501
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่