ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 6' 18"
16.105
Longitude : E 104° 19' 20.64"
104.3224
No. : 148547
พระสังกัจจายน์
Proposed by. ยโสธร Date 30 July 2012
Approved by. ยโสธร Date 30 July 2012
Province : Yasothon
0 660
Description

พระสังกัจจายน์ พระแห่งโชคลาภ "โชคลาภ" "โชคลาภ" เป็นสิ่งปรารถนาของคนทุกชาติทุกศาสนา และที่เหมือนกัน คือ ทุกศาสนาและทุกชนชาติต่างก็มีองค์เทพเป็นที่พึ่ง
เช่น ชาวจีนจะนับถือ เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยหรือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ นับเป็นเทพเจ้าองค์แรกที่ชาวจีนต้องเซ่นไหว้ก่อนเทพองค์อื่นๆ เป็นเทพเจ้าที่มีพลานุภาพให้โชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวยแก่ผู้เซ่นไหว้ ไฉ่ซิงเอี๊ยเป็นเทพชั้นสูง ให้คุณทางด้านอำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่งทรัพย์สินเงินทอง ชาวจีนจึงยกย่องให้ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือเทพเจ้าแห่งเงินตรานิยมไหว้ช่วงวันตรุษจีน

นอกจากนี้แล้วชาวจีนยังเชื่อว่า การขอพรให้ท่านช่วยคุ้มครองลูกหลานผู้ไปอยู่ต่างถิ่นแดนไกลให้มีความสำเร็จในเรื่องของการศึกษา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไฉ่ซิงเอี๊ย เป็นเทพเจ้าที่รวมความศักดิ์สิทธิ์และอานุภาพหลายประการไว้ในองค์ท่านเอง

แต่ถ้าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภของชาวญี่ปุ่นแล้วมีมากถึง ๗ องค์รวมเรียก "ชิจิฟุกุยิน" ในจำนวนนี้มีเทพองค์หนึ่งที่เด่นกว่าองค์อื่นๆ คือ "องค์ไดโกกุ"เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งการเพาะปลูก และเทพคุ้มครองข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องครัว มักเห็นท่านถือช้อนเงินและถือถุงข้าวสารพร้อมใบหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส ในบางครั้งจะพบหนูตัวเล็กๆ อยู่ข้างๆ ท่านด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ตามร้านขายของมักนำท่านมาประดับเพื่อเป็นสิริมงคล

สำหรับองค์เทพแห่งยุคที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีคือ "จตุคามรามเทพ" โดยมีคำพูดตามมาที่ว่า"มึงมีกูไว้ไม่จน" และ"ขอได้ไหว้รับ" แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอยู่บ้างบางส่วน ซึ่งไม่ชัดเจน แต่ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจนและขึ้นชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ คือพระสังกัจจายน์ซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้านั่นเอง

พระสังกัจจายน์มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมากพระสังกัจจายน์จีนแบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีนพระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมืองไทย มีวัดจีนหลายวัดที่สร้างพระสังกัจจายน์ใหญ่ เป็นเนื้อโลหะ เครื่องเคลือบ สมัยเช็งเตาปังโคย กังไส ก็เคยพบพระสังกัจจายน์ในจำนวนมาก พระอรหันต์ทั้ง ๑๘ องค์ รวมพระสังกัจจายน์ไว้ด้วยอีกหนึ่งองค์ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"

ประวัติพระสังกัจจายน์
ในตำนานพุทธสาวกทั้ง๘๐ องค์มีประวัติพระสังกัจจายน์กล่าวว่าพระสังกัจจายน์เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูลเสด็จกรุงอุชเชนี

กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ๗ คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอน ในที่สุดบรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน หลังจากนั้นทั้ง ๘ ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า "ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน"

พระกัจจายนะ จึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก ๗ องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร นับจากนั้นมา พระสังกัจจายน์ ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก

พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง

พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์ สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส

Location
วัดป่าวังน้ำทิพย์เทพสถิตย์วนาราม
Moo ม่วงกาซัง
Tambon สวาท Amphoe Loeng Nok Tha Province Yasothon
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเลิงนกทา
Reference นายจีรชัย วงศ์ชารี Email john2553@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเลิงนกทา
No. ที่ว่าการอ Moo อำเภอเลิงนกทา
Tambon สามแยก Amphoe Loeng Nok Tha Province Yasothon ZIP code 35120
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่