ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 6' 18"
16.105
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 19' 20.64"
104.3224
เลขที่ : 148547
พระสังกัจจายน์
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 30 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 30 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ยโสธร
0 661
รายละเอียด

พระสังกัจจายน์ พระแห่งโชคลาภ "โชคลาภ" "โชคลาภ" เป็นสิ่งปรารถนาของคนทุกชาติทุกศาสนา และที่เหมือนกัน คือ ทุกศาสนาและทุกชนชาติต่างก็มีองค์เทพเป็นที่พึ่ง
เช่น ชาวจีนจะนับถือ เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยหรือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ นับเป็นเทพเจ้าองค์แรกที่ชาวจีนต้องเซ่นไหว้ก่อนเทพองค์อื่นๆ เป็นเทพเจ้าที่มีพลานุภาพให้โชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวยแก่ผู้เซ่นไหว้ ไฉ่ซิงเอี๊ยเป็นเทพชั้นสูง ให้คุณทางด้านอำนวยโชคลาภ ความมั่งคั่งทรัพย์สินเงินทอง ชาวจีนจึงยกย่องให้ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือเทพเจ้าแห่งเงินตรานิยมไหว้ช่วงวันตรุษจีน

นอกจากนี้แล้วชาวจีนยังเชื่อว่า การขอพรให้ท่านช่วยคุ้มครองลูกหลานผู้ไปอยู่ต่างถิ่นแดนไกลให้มีความสำเร็จในเรื่องของการศึกษา ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไฉ่ซิงเอี๊ย เป็นเทพเจ้าที่รวมความศักดิ์สิทธิ์และอานุภาพหลายประการไว้ในองค์ท่านเอง

แต่ถ้าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภของชาวญี่ปุ่นแล้วมีมากถึง ๗ องค์รวมเรียก "ชิจิฟุกุยิน" ในจำนวนนี้มีเทพองค์หนึ่งที่เด่นกว่าองค์อื่นๆ คือ "องค์ไดโกกุ"เป็นเทพแห่งความมั่งคั่งการเพาะปลูก และเทพคุ้มครองข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน โดยเฉพาะในห้องครัว มักเห็นท่านถือช้อนเงินและถือถุงข้าวสารพร้อมใบหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใส ในบางครั้งจะพบหนูตัวเล็กๆ อยู่ข้างๆ ท่านด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ตามร้านขายของมักนำท่านมาประดับเพื่อเป็นสิริมงคล

สำหรับองค์เทพแห่งยุคที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีคือ "จตุคามรามเทพ" โดยมีคำพูดตามมาที่ว่า"มึงมีกูไว้ไม่จน" และ"ขอได้ไหว้รับ" แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอยู่บ้างบางส่วน ซึ่งไม่ชัดเจน แต่ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอย่างชัดเจนและขึ้นชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ คือพระสังกัจจายน์ซึ่งเป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้านั่นเอง

พระสังกัจจายน์มีพุทธลักษณะอ้วน พุงพลุ้ย มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ เป็นหนึ่งในพระสาวกผู้ใหญ่ จัดอยู่ในเอตทัคคะ ลักษณะของพระสังกัจจายน์โดดเด่นมองเห็นก็รู้ว่า เป็นพุทธสาวกองค์ไหน เมื่อสรุปแล้วจะเห็นว่า พุทธสาวกจำนวน ๘๐ องค์ พระเอตทัคคะ ๔๑ องค์นั้น มีเพียงพระสังกัจจายน์เท่านั้นที่สร้างอย่างโดดเด่น คติการสร้างพระสังกัจจายน์นิยมการสร้างมากพระสังกัจจายน์จีนแบบมหายาน หินยาน โดยเฉพาะแบบจีนพระสังกัจจายน์จีนนิยมสร้างมากกว่าในเมืองไทย มีวัดจีนหลายวัดที่สร้างพระสังกัจจายน์ใหญ่ เป็นเนื้อโลหะ เครื่องเคลือบ สมัยเช็งเตาปังโคย กังไส ก็เคยพบพระสังกัจจายน์ในจำนวนมาก พระอรหันต์ทั้ง ๑๘ องค์ รวมพระสังกัจจายน์ไว้ด้วยอีกหนึ่งองค์ โดยมีคติความเชื่อที่ว่า "ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์ ย่อมเป็นมหามงคลอุดมด้วย ลาภ ยศ ความเจริญรุ่งเรืองดีนักแล"

ประวัติพระสังกัจจายน์
ในตำนานพุทธสาวกทั้ง๘๐ องค์มีประวัติพระสังกัจจายน์กล่าวว่าพระสังกัจจายน์เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิต กัจจานโคตร หรือกัจจายนโคตร ในแผ่นดินของพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมื่อกัจจายนะกุมารเจริญวัย เรียนจบไตรเพท บิดาได้ถึงแก่กรรม จึงได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทนบิดา ครั้นต่อมาพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงทราบว่า พระศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จเที่ยวโปรดสัตว์สั่งสอน ประชุมชนธรรมะที่พระองค์สอนนั้น เป็นธรรมที่แท้จริง ยังประโยชน์แก่ผู้ประพฤติตาม จึงมีพระประสงค์ใคร่เชิญเสด็จพระบรมศาสดาไปประกาศที่กรุงอุชเชนี จึงรับสั่งให้กัจจายนะปุโรหิตไปทูลเสด็จกรุงอุชเชนี

กัจจายนะปุโรหิตพร้อมด้วยผู้ติดตาม ๗ คน จึงออกจากกรุงอุชเชนี ครั้นมาถึงจึงพากันเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระองค์ทรงเทศน์สั่งสอน ในที่สุดบรรลุอรหันต์ทั้ง ๘ คน หลังจากนั้นทั้ง ๘ ก็ทูลขออุปสมบท ทรงขออนุญาต ครั้นอุปสมบทแล้ว จึงทูลเชิญเสด็จกรุงอุชเชนี ตามหน้าที่ พระองค์รับสั่งว่า "ท่านไปเองเถิด เมื่อท่านไปแล้ว พระเจ้าปัชโชตจักทรงเลื่อมใสท่าน"

พระกัจจายนะ จึงออกเดินทางพร้อมพระอรหันต์อีก ๗ องค์ ที่ติดตามมาด้วย กลับคืนสู่กรุงอุชเชนี และประกาศสัจธรรมให้แก่พระเจ้าจัณฑปัชโชต พร้อมชาวพระนครเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และถ้อยคำประการอันเป็นสัจธรรม หลังจากนั้นกลับคืนสู่สำนักของพระพุทธองค์ ตรัสว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในการอธิบายแห่งการย่อคำพิสดาร นับจากนั้นมา พระสังกัจจายน์ ก็เป็นผู้สรุปย่อคำสอนบอกแก่บรรดาสาวกทั้งหลาย ด้วยความพอใจอย่างยิ่ง ในคำย่อนั้น และยังเป็นผู้ทูลขอให้พระพุทธองค์บัญญัติแก้ไขพุทธบัญญัติบางประการ ปรากฏว่าเป็นที่พอพระทัยแก่องค์พระศาสดาเป็นอย่างมาก

พระสังกัจจายน์ เป็นผู้มีรูปงาม ผิวเหลืองดุจทอง ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีโสเรยยะบุตรเศรษฐีคะนอง เห็นพระสังกัจจายน์จึงปากพล่อยกล่าวว่า ถ้าเราได้ภรรยามีรูปกายงดงามเยี่ยงท่านนี้ จักพอใจยิ่ง

พลันปรากฏว่าโสเรยยะบุตรมหาเศรษฐีหนุ่มคะนองปาก ได้กลายเพศเป็นหญิงในทันที จึงหลบหนีไป ต่อมาได้สามีและบุตรสองคน จึงกลับมาขอขมากับพระสังกัจจายน์ โสเรยยะจึงกลับคืนสู่เพศชายเช่นเดิม นับว่าพระสังกัจจายน์มีฤทธิ์อำนาจยิ่งองค์หนึ่งในพุทธสาวก มีเรื่องแทรกเข้ามาว่าเพราะ รูปกายอันงดงามของพระสังกัจจายน์ สร้างความปั่นป่วนแก่อิตถีเพศอย่างมาก จึงได้เนรมิตกายใหม่ให้อ้วน พุงพลุ้ย น่าเกลียด เพื่อความสงบแห่งจิตและกิเลส

สถานที่ตั้ง
วัดป่าวังน้ำทิพย์เทพสถิตย์วนาราม
หมู่ที่/หมู่บ้าน ม่วงกาซัง
ตำบล สวาท อำเภอ เลิงนกทา จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเลิงนกทา
บุคคลอ้างอิง นายจีรชัย วงศ์ชารี อีเมล์ john2553@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอเลิงนกทา
เลขที่ ที่ว่าการอ หมู่ที่/หมู่บ้าน อำเภอเลิงนกทา
ตำบล สามแยก อำเภอ เลิงนกทา จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35120
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่