ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 8' 33.4356"
7.1426210
Longitude : E 100° 24' 6.867"
100.4019075
No. : 149240
การแทงหยวก
Proposed by. สงขลา Date 6 August 2012
Approved by. สงขลา Date 8 August 2012
Province : Songkhla
0 820
Description

การแทงหยวก

ในสมัยโบราณการเผาศพจะเผากันที่เชิงตะกอน ผู้ที่พอมีฐานะนิยมประดับโลงศพและเชิงตะกอนให้แลดูสวยงาม ช่างแทงหยวกจึงเข้ามามีบทบาทในการแกะสลักหยวกกล้วยให้เกิดลวดลายวิจิตรบรรจง จากการสัมภาษณ์นายสวัสดิ์ ยางทอง หนึ่งในผู้ที่มีความสามารถในการแทงหยวก เกิดเมื่อวันที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายถัดและนางเป้า ยางทอง จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยม
ปีที่ 5 จากโรงเรียนเกษตรกรรมสงขลา สมรสกับนางน่วม ยางทอง มีบุตรธิดา 4 คน คือ นายเสวียน
ยางทอง นายบุญเทียน ยางทอง นายวิเชียร ยางทอง และนางศิริวรรณ บุญฤทธิ์ ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 191 หมู่ 10 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 081-097-6459

ศิลปะการแทงหยวกได้รับการถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่มาก ยางทอง รุ่นพ่อถัด ยางทอง ต่อมาจึงถ่ายทอดให้นายสวัสดิ์ ยางทอง ก่อนหน้านั้นนายสวัสดิ์ ยางทอง ยังไม่ได้ให้ความสนใจศิลปะการแทงหยวกมากนัก ต่อมาขณะอายุได้ 20 ปี บรรพชาเป็นพระภิกษุ ขณะบวชมีกิจนิมนต์ในงานบำเพ็ญกุศลศพและได้สังเกตลายกนกไทยต่างๆ บนหยวกกล้วยที่ประดับโลงและเชิงตะกอนอย่างชัดเจนหลายต่อหลายครั้ง เมื่อลาสิขาสู่เพศฆราวาสจึงให้ความสนใจกับลวดลายต่างๆ อย่างจริงจังมากขึ้น กระทั่งสามารถจดจำลวดลายและเรียกชื่อได้ถูกต้อง ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีโอกาสได้ลองแกะสลักลวดลายที่จดจำไว้

ทั้งนี้นายสวัสดิ์ ยางทองเป็นผู้ที่อยู่ในตระกูลศิลปินซึ่งบิดารับแทงหยวกกล้วยในงานศพขาดผู้ช่วยในการแกะสลักจึงขอให้ลูกชายคนโต คือ นายสวัสดิ์ ยางทอง มาช่วยงาน โดยบิดาเป็นผู้วาดลายจากแบบพิมพ์ที่แกะสลักไว้เองด้วยแผ่นสังกะสี นับเป็นครั้งแรกของการแทงหยวกและสามารถทำได้อย่างสวยงาม พร้อมๆ กับความเข้าใจในรูปแบบการเขียนลายบนหยวกกล้วย หลังจากนั้นไม่นานจึงสามารถแทงหยวกให้เป็นลวดลายต่างๆ ได้จากความทรงจำ

โอกาสในการใช้

1. งานศพ ในสมัยก่อนนิยมแทงหยวกประดับโลงศพและเชิงตะกอน ส่วนใหญ่ใช้ในวันเผา ช่างแทงหยวกจะใช้เวลาในการแกะสลักประมาณ 1 คืน กล่าวคือ เริ่มแกะสลักประมาณ 16.00 ถึงรุ่งเช้าของวันใหม่และนำไปประดับโลงศพและเชิงตะกอน เนื่องจากหยวกกล้วยจะเหี่ยวและเป็นสีดำหากหยวกกล้วยโดนแสงแดด

2. งานรดน้ำดำหัว โดยแกะลวดลายประดับโต๊ะพิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส

3. งานบวช แกะลวดลายประดับบริเวณที่ใช้ปลงผมนาค (เรียกสระหัวเจ้านาค)

อุปกรณ์การแทงหยวก

1. หยวกกล้วย

2. มีดแทงหยวก

3. ไม้เสียบ ไม้ขนาดเกือบเท่าดินสอไม้สำหรับยึดหยวกกล้วยแต่ละลายเข้าด้วยกัน

ลวดลายแทงหยวกยกตัวอย่างเช่น ลายเสา (ลายเถาว์) ลายน่องสิงห์ ลายฟันปลา ลายฟันสาม ลายก้ามปู ลายตุ๊ดตู่ ลายฟันสามกนกจีน เป็นต้น ลายที่แทงง่ายที่สุด คือ ลายฟันปลา แต่ต้องแทงให้เท่ากันจึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ต่อเนื่องสวยงาม สำหรับลายที่ยากที่สุดและจะได้รับการถ่ายทอดหลังจากทำลายต่างๆ ได้แล้ว คือ ลายก้ามปู ในการจัดวางรูปแบบลวดลายต่างๆ นั้น ลายฟันปลาและลายฟันสามนิยมประกอบส่วนฐานชั้นล่างและฐานชั้นบนเชิงตะกอน ลายเสา (ลายเถา) นิยมนำไปประดับเสา และนำลายน่องสิงห์ไปประกอบกับลายก้ามปู หรือลายตุ๊ดตู่ ก่อนที่จะนำไปประดับโลงและเชิงตะกอน เป็นต้น สำหรับกล้วยที่นิยมนำมาแทงหยวก คือ กล้วยตานี เนื่องจากมีความกรอบแต่เหนียว ไม่หักง่าย ไม่เหี่ยวง่าย

Location
No. 191 Moo 10
Tambon บางเหรียง Amphoe Khuan Niang Province Songkhla
Details of access
นายสวัสดิ์ ยางทอง
Reference นางธารารักษ์ ภู่ริยะพันธ์
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
No. 10/1 Road สุขุม
Tambon บ่อยาง Amphoe Mueang Songkhla Province Songkhla ZIP code 90000
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่