ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 8' 33.4356"
7.1426210
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 24' 6.867"
100.4019075
เลขที่ : 149240
การแทงหยวก
เสนอโดย สงขลา วันที่ 6 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 8 สิงหาคม 2555
จังหวัด : สงขลา
0 821
รายละเอียด

การแทงหยวก

ในสมัยโบราณการเผาศพจะเผากันที่เชิงตะกอน ผู้ที่พอมีฐานะนิยมประดับโลงศพและเชิงตะกอนให้แลดูสวยงาม ช่างแทงหยวกจึงเข้ามามีบทบาทในการแกะสลักหยวกกล้วยให้เกิดลวดลายวิจิตรบรรจง จากการสัมภาษณ์นายสวัสดิ์ ยางทอง หนึ่งในผู้ที่มีความสามารถในการแทงหยวก เกิดเมื่อวันที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายถัดและนางเป้า ยางทอง จบการศึกษาในระดับชั้นมัธยม
ปีที่ 5 จากโรงเรียนเกษตรกรรมสงขลา สมรสกับนางน่วม ยางทอง มีบุตรธิดา 4 คน คือ นายเสวียน
ยางทอง นายบุญเทียน ยางทอง นายวิเชียร ยางทอง และนางศิริวรรณ บุญฤทธิ์ ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 191 หมู่ 10 ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา เบอร์โทรศัพท์ 081-097-6459

ศิลปะการแทงหยวกได้รับการถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่มาก ยางทอง รุ่นพ่อถัด ยางทอง ต่อมาจึงถ่ายทอดให้นายสวัสดิ์ ยางทอง ก่อนหน้านั้นนายสวัสดิ์ ยางทอง ยังไม่ได้ให้ความสนใจศิลปะการแทงหยวกมากนัก ต่อมาขณะอายุได้ 20 ปี บรรพชาเป็นพระภิกษุ ขณะบวชมีกิจนิมนต์ในงานบำเพ็ญกุศลศพและได้สังเกตลายกนกไทยต่างๆ บนหยวกกล้วยที่ประดับโลงและเชิงตะกอนอย่างชัดเจนหลายต่อหลายครั้ง เมื่อลาสิขาสู่เพศฆราวาสจึงให้ความสนใจกับลวดลายต่างๆ อย่างจริงจังมากขึ้น กระทั่งสามารถจดจำลวดลายและเรียกชื่อได้ถูกต้อง ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีโอกาสได้ลองแกะสลักลวดลายที่จดจำไว้

ทั้งนี้นายสวัสดิ์ ยางทองเป็นผู้ที่อยู่ในตระกูลศิลปินซึ่งบิดารับแทงหยวกกล้วยในงานศพขาดผู้ช่วยในการแกะสลักจึงขอให้ลูกชายคนโต คือ นายสวัสดิ์ ยางทอง มาช่วยงาน โดยบิดาเป็นผู้วาดลายจากแบบพิมพ์ที่แกะสลักไว้เองด้วยแผ่นสังกะสี นับเป็นครั้งแรกของการแทงหยวกและสามารถทำได้อย่างสวยงาม พร้อมๆ กับความเข้าใจในรูปแบบการเขียนลายบนหยวกกล้วย หลังจากนั้นไม่นานจึงสามารถแทงหยวกให้เป็นลวดลายต่างๆ ได้จากความทรงจำ

โอกาสในการใช้

1. งานศพ ในสมัยก่อนนิยมแทงหยวกประดับโลงศพและเชิงตะกอน ส่วนใหญ่ใช้ในวันเผา ช่างแทงหยวกจะใช้เวลาในการแกะสลักประมาณ 1 คืน กล่าวคือ เริ่มแกะสลักประมาณ 16.00 ถึงรุ่งเช้าของวันใหม่และนำไปประดับโลงศพและเชิงตะกอน เนื่องจากหยวกกล้วยจะเหี่ยวและเป็นสีดำหากหยวกกล้วยโดนแสงแดด

2. งานรดน้ำดำหัว โดยแกะลวดลายประดับโต๊ะพิธีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส

3. งานบวช แกะลวดลายประดับบริเวณที่ใช้ปลงผมนาค (เรียกสระหัวเจ้านาค)

อุปกรณ์การแทงหยวก

1. หยวกกล้วย

2. มีดแทงหยวก

3. ไม้เสียบ ไม้ขนาดเกือบเท่าดินสอไม้สำหรับยึดหยวกกล้วยแต่ละลายเข้าด้วยกัน

ลวดลายแทงหยวกยกตัวอย่างเช่น ลายเสา (ลายเถาว์) ลายน่องสิงห์ ลายฟันปลา ลายฟันสาม ลายก้ามปู ลายตุ๊ดตู่ ลายฟันสามกนกจีน เป็นต้น ลายที่แทงง่ายที่สุด คือ ลายฟันปลา แต่ต้องแทงให้เท่ากันจึงจะสามารถนำไปใช้งานได้ต่อเนื่องสวยงาม สำหรับลายที่ยากที่สุดและจะได้รับการถ่ายทอดหลังจากทำลายต่างๆ ได้แล้ว คือ ลายก้ามปู ในการจัดวางรูปแบบลวดลายต่างๆ นั้น ลายฟันปลาและลายฟันสามนิยมประกอบส่วนฐานชั้นล่างและฐานชั้นบนเชิงตะกอน ลายเสา (ลายเถา) นิยมนำไปประดับเสา และนำลายน่องสิงห์ไปประกอบกับลายก้ามปู หรือลายตุ๊ดตู่ ก่อนที่จะนำไปประดับโลงและเชิงตะกอน เป็นต้น สำหรับกล้วยที่นิยมนำมาแทงหยวก คือ กล้วยตานี เนื่องจากมีความกรอบแต่เหนียว ไม่หักง่าย ไม่เหี่ยวง่าย

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 191 หมู่ที่/หมู่บ้าน 10
ตำบล บางเหรียง อำเภอ ควนเนียง จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสวัสดิ์ ยางทอง
บุคคลอ้างอิง นางธารารักษ์ ภู่ริยะพันธ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา
เลขที่ 10/1 ถนน สุขุม
ตำบล บ่อยาง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่