ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 1' 12.576"
17.02016
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 44' 1.32"
99.7337
เลขที่ : 169032
เครื่องสีข้าว (สุโขทัย)
เสนอโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ ไม่ระบุ
อนุมัติโดย ศูนย์ข้อมูลกลาง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 1801
รายละเอียด
เครื่องมือการจัดเก็บข้อมูล 13 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ชื่อ เครื่องสีข้าว (สุโขทัย) ประเภทและลักษณะ เครื่องสีข้าวโบราณแบบมือหมุน ทำจากไม้เนื้อแข็งและไม้ไผ่สาน ใช้แรงงานแบบคนหมุน เครื่องสีข้าว มีกระบวนการทำคือเอาข้าวเปลือกใส่ข้างบนฝาสีหรือถังหมุน จากนั้นหมุนจากทางด้านขวาไปทางด้านซ้าย ข้าวเปลือกจะถูกสีกะเทาะเปลือกมาอยู่ที่ถาดรองแล้วนำออกไปฝัดกระด้ง เอาเปลือกออก จากนั้นมาคัดข้าวปลายในตะแกรงคัดปลาย ก็จะได้ข้าวกล้องไปหุงได้ ประวัติความเป็นมา - ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง - วัสดุที่ใช้ ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ วิธีทำ การสีข้าวมีวิธีการคล้ายโม่แป้ง เครื่องสีข้าวสานด้วยผิวไม้ไผ่เป็นรูปกระบอก มีขอบสูงทำเป็นถาดรองข้าวกล้อง ส่วนประกอบที่สำคัญ ๕ ส่วน คือ ท่อนฟันบน ท่อนฟันล่าง แกนหมุน ไม้คาน และ คันโยก ท่อนฟันบน สาน ด้วยผิวตอกไม้ไผ่เป็นรูปทรงกลมสูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร วัดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร ใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดไม้แปรขวางเป็นไม้คาน ให้ปลายไม้ทะลุผิวไม้ไผ่ที่สานท่อนฟันบนออกมาข้างละ ๒๕ เซนติเมตร ไม้คานที่โผล่จะเจาะรูให้ทะลุเพื่อให้สลักคันโยก ซึ่งมีเดือยสอดไว้สำหรับโยกให้หมุนไปโดยรอบ ใช้ดินเหนียวอัดให้แน่นพรมด้วยน้ำเกลือเพื่อให้ดินรัดตัวแน่นขึ้น และป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดเครื่องสีข้าวด้วย ตรงศูนย์กลางท่อนฟันบนทำเป็นรูกลวงไว้ เมื่อเทข้าวเปลือกลงไปภายในท่อฟันบน เวลาท่อนฟันบนหมุนข้าวเปลือกจะไหลลงไประหว่างท่อนฟันบนและท่อนฟันล่างซึ่งทำ ขบกันอยู่ ฟันบนและฟันล่างที่ใช้เสียดสีเปลือกข้าวแตกออกจากเมล็ดจะทำด้วยแผ่นไม้แข็ง บาง ๆ สลับกับดินเหนียวคลุกแกลบอัดจนแน่นหลาย ๆ ซี่จนรอบท่อนฟันบนและฟันล่าง ท่อนฟันล่าง สานด้วยผิวตอกไม้ไผ่ทำเป็นถาดขอบสูงรองรับข้าวกล้องที่สีแล้ว เจาะรูให้ไหลลงมาที่กระบุงหรือถังรองรับตรงกลางท่อนฟันล่างอัดดินเหนียว พรมด้วยน้ำเกลือเช่นกัน ทำฐานรองรับฟันล่าง แกนหมุน ทำด้วยไม้แกนหมุนไว้ตรงศูนย์กลางของท่อนฟันล่างอัดดินให้แน่น แกนหมุนจะเป็นเดือยสอดไม้คานที่ขวางไว้ ไม้คาน ทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดไม้แปร ยาวประมาณ ๒ เมตร ขวางท่อนฟันบนเจาะปลายไม้เมื่อสอดสลัดคันโยก คันโยก ใช้ลำไม้ไผ่โต ๆ ทำเป็นคันโยกมีมือจับเจาะรูปลายไม้คันโยกทำสลักเดือยสอดกับรูไม้คาน บทบาทและหน้าที่ ความสำคัญในอดีต วิธีการเรียนการสอน ข ประโยชน์ของภูมิปัญญา ใช้ในการสีข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง สถานที่ พิพิธภัณฑ์ชาวนา ข้าวตอกพระร่วง เลขที่ 382/1 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ชาวนาข้าวตอกพระร่วง
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเหล็ง จันทร์ฉาย
เลขที่ เลขที่ 382
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
โทรศัพท์ (055)633350, 087-201
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่