ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 16° 21' 13.2728"
16.3536869
Longitude : E 99° 34' 46.3354"
99.5795376
No. : 192531
โมเดลเกวียน
Proposed by. กำแพงเพชร Date 23 March 2020
Approved by. กำแพงเพชร Date 23 March 2020
Province : Kamphaeng Phet
0 348
Description

ประวัติความเป็นมา

วิถีชีวิตของชาวบ้านวังพระธาตุสมัยก่อน ประกอบอาชีพ

ทำไร่ทำนาและขายน้ำยางเป็นหลัก ในการไปไร่ไปนา ก็จะใช้เกวียนเทียมวัว หรือควาย เป็นพาหนะในการขนพืชผลทางการเกษตร หากจำเป็นต้องนอนพักค้างแรม ก็จะนอนใต้เกวียน เพราะเชื่อว่าเป็นที่ที่ปลอดภัยจากภูตผีและ

สัตว์ร้าย เนื่องจากตอนสร้างเกวียนก่อนที่จะประกอบส่วนประกอบแต่ละชิ้นนั้น ได้มีการลงคาถาอาคมไว้รอบเกวียนแล้ว ชื่อเรียกส่วนประกอบแต่ละส่วนก็สื่อความหมายถึงการคุ้มครอง ปกปักษ์รักษา เช่น สาแหลกบัง

ขวางทาง ครอบ

ในไร่นาของชาวบ้านวังพระธาตุจะมีต้นยางนา เมื่อต้นยางนาโตพอสมควร ก็จะมีการขุดโพรงที่โคนต้น (บ่อง) และสุมไฟให้น้ำยางไหลลงมาขังอยู่ในบ่อง หาภาชนะรองด้านล่าง ตักเอาน้ำยางใสๆ ด้านบนใส่ปี๊บและเศษด้านล่างข้นๆ (ขี้โล้) นำมาผสมกับไม้ผุ (ขี้พุก) ปั้นเป็นขี้ไต้ ห่อด้วยใบกะพร้อ

ใส่เกวียนไปขายให้เรือเมย์ (เรือเขียวหรือแดง) ล่องเรือไปขายที่จังหวัดนครสวรรค์

เกวียน จึงเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการทำมาหากินของชาวบ้านวังพระธาตุในสมัยก่อน

ส่วนประกอบ

- ใช้ไม้สักหรือไม้เนื้ออ่อน ในการทำ กง กรรม ดุม

สาแหลกบัง ขวางทาง เพลา ครอบ ท้าวแขน ทูบ แอก

ลูกแอก เรือนล้อ ไม้ตะค้ำ

- ใช้ลวดหรือหวายในการทำ อ้อม

- ใช้ กาว เดือย สลัก ในการเชื่อมต่อแต่ละชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน

Location
ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
No. ๑๓๗ MooSoi - Road -
Tambon ไตรตรึงษ์ Amphoe Mueang Kamphaeng Phet Province Kamphaeng Phet
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
Reference ปฐมาภรณ์ จริยวิทยานนท์ Email kainui106@hotmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
Tambon ไตรตรึงษ์ Amphoe Mueang Kamphaeng Phet Province Kamphaeng Phet
Tel. ๐๕๕๗๐๕๐๘๙ Fax. ๐๕๕๗๐๕๐๙๐
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่