ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 15° 58' 35.8262"
15.9766184
Longitude : E 100° 32' 14.3927"
100.5373313
No. : 195847
กระเป๋าจากกะลามะพร้าว
Proposed by. พิจิตร Date 23 Febuary 2022
Approved by. พิจิตร Date 23 Febuary 2022
Province : Phichit
10 1531
Description

ประวัติความเป็นมา

กะลา เป็นไม้มะพร้าวเนื้อแข็งบาง เป็นวัสดุที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์และประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยโบราณและในปัจจุบันนี้กะลามะพร้าวได้ถูกนำมาสร้างสรรค์ เป็นงานหัตถกรรมหลากหลายรูปแบบ เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากกะลามะพร้าวเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กะลามะพร้าวมีลวดลายความงามตามธรรมชาติ รูปแบบเฉพาะที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาของ คนไทย ซึ่งในขณะนี้ทั่วโลกต้องการวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษจากวัสดุสังเคราะห์ ดังนั้น งานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว จึงเป็นงานที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมาก ทำให้มีกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวเกิดขึ้นมากมายหลายกลุ่มด้วยกัน ปัจจุบันกะลามะพร้าว ถูกแปรรูปออกเป็นของใช้ในหลาย ๆ อย่างที่ให้เข้ากับสมัยในปัจจุบันและเพิ่มความน่าสนใจลงไปให้ตัวของกะลามะพร้าว จึงทำให้สินค้าจากกะลามะพร้าวเป็นที่สนใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากขึ้น เพิ่มคุณค่าจากกะลาที่ไร้ค่ามาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่นอกจากจะทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ เครื่องประดับเครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีเช่น กระเป๋าถือ เข็มขัด เข็มกลัด ปิ่นปักผม สร้อย ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่นิยมของชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งยังสร้างรายได้ที่เพิ่มพูนให้แก่คนไทยที่ยากไร้ในชนบท

อำเภอดงเจริญ ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสามารถทำนาได้ ปีละ ๑ ครั้ง เมื่อเว้นว่างจากการทำนา จึงต้องหาอาชีพเสริมและเห็นวัสดุเหลือใช้ คือกะลามะพร้าว สามารถที่จะนำมาต่อยอดเป็นอย่างอื่นได้ เริ่มต้นจากผลิตเป็นของใช้ใน ครัวเรือน ต่อมาคิดประดิษฐ์ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น ทำเข็มขัด สร้อยข้อมือ ต่างหู เข็มกลัดติดเสื้อ ยางรัดผม ปิ่นปักผม กระเป๋า เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเป็นงานหัตถกรรม โดยช่างที่มีฝีมือจากชุมชนบ้านไดรัง ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร คือ นายนิคม แก้วชาลี และ นางสุภาพ แก้วชาลี เป็นผู้ประดิษฐ์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบพัฒนาขึ้นให้มีความหลากหลาย กะลามะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจุดเด่นอยู่ที่การสะท้อนถึงทักษะภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้ เป็นงานฝีมือที่สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชนจนกลายเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ CPOT จากกระทรวงวัฒนธรรม

วัตถุประสงค

๑) นำวัสดุเหลือใช้ คือกะลามะพร้าว มาต่อยอดเป็นสิ่งของต่างๆสำหรับใช้งาน และเครื่องประดับ

๒) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

วัสดุ/อุปกรณ์

๑) กะลามะพร้าว ๓-๔ ลูก

๒) กระดาษทราย

๓) เส้นหวาย

๔) กาว

๕) ด้าย

๖) ลูกปัดกะลา

กระบวนการ/ขั้นตอน (ทำอย่างไร)

๑) คัดเลือกมะพร้าวให้เหมาะสม โดยเลือกใช้มะพร้าว ๓-๔ ลูก

๒) ขัดผิวกะลา นำกะลาที่คัดแล้ว ขูดขุยมะพร้าวให้เกลี้ยงตัดด้านบนเพื่อนำน้ำและเนื้อมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะเนื้อกะลา จากนั้นนำไปขัดด้วยกระดาษทราย ให้ผิวกะลาเรียบทั้งในและนอกตัวกะลา

๓) ออกแบบแต่ละชิ้นงานวาดลวดลายตามต้องการ ให้สวยงาม แล้วนำมาเจาะรูทำส่วน ฝากระเป๋า

๔) นำลูกปัดกะลามาต่อเป็นฐานกระเป๋าให้กะลามะพร้าวสามารถตั้งวางได้และนำด้ายมา ผูกกับเส้นหวายเพื่อทำเป็นสายกระเป๋า

๕) นำกะละมะพร้าวประกอบเป็นกระเป๋า และเคลือบเงาเพื่อให้สวยงาม

สถานที่ตั้งขององค์ความรู้

บ้านนางสุภาพ แก้วชาลี เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร

คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้

๑. คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

- มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เพิ่มขึ้น

- การประยุกต์ใช้สิ่งของที่ไม่มีประโยชน์แล้วนำกลับมาผลิตเป็นสินค้า / ผลิตภัณฑ์ ออกจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชน

๒. บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

- เพี่อให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

- เพี่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม

- ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เป็นผลิตภัณฑ์ CPOT และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงเจริญ เป็น ผลิตภัณฑ์ OTOP

สถานภาพปัจจุบัน

๑. สถานะการคงอยู่ขององค์ความรู้

- มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

๒. สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม

สถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID -๑๙ ทำให้ไม่สามารถไปออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ส่งผลให้รายได้ลดลง

ข้อเสนอแนะ

- เด็ก และเยาวชน ในพื้นที่ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ ควรมีการเรียนรู้ รักษา ต่อยอดการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวให้ยังคงอยู่

ข้อมูลอ้างอิงบุคคล

ชื่อ-นามสกุล นางสุภาพ แก้วชาลี

ตำแหน่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ที่อยู่ บ้านเลขที่ - หมู่ที่ ๕ ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร

รหัสไปรษณีย์ ๖๖๒๑๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๖๓-๖๘๑๓๗๘๑

ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ

๑)https://wegophatthalung.comสืบค้นเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕

๒) อรอนงค์ ทองปานดี, อุดมศักดิ์เดโชชัย, จิตติมา ดำรงวัฒนะ และเดโช แขน้ำแก้ว. (๒๕๖๐). การศึกษากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว กรณีศึกษา : กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านคอกวัว หมู่ที่ ๑ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ : วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑.

ข้อมูลเจ้าของเรื่อง (ผู้สัมภาษณ์)

ชื่อ-นามสกุล นางสาวเบญจรัตน์ พรานระวัง

ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

หน่วยงาน/องค์กร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร

ที่อยู่หน่วยงาน/องค์กร ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) ถนนบุษบา

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

เบอร์โทรสำนักงาน ๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕

ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๓๗๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลตะกุดไร อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

รหัสไปรษณีย์ ๖๗๑๙๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๗๔๒๙๑๐

Category
Local Scholar
Location
บ้านนางสุภาพ แก้วชาลี
No. 17 Moo 2
Tambon ห้วยร่วม Amphoe Dong Charoen Province Phichit
Details of access
บ้านนางสุภาพ แก้วชาลี
Reference นางสาวเบญจรัตน์ พรานระวัง
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม)
Road บุษบา
Amphoe Mueang Phichit Province Phichit ZIP code 66000
Tel. 081-8742910 Fax. 0 5661 2675
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่