ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 58' 35.8262"
15.9766184
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 14.3927"
100.5373313
เลขที่ : 195847
กระเป๋าจากกะลามะพร้าว
เสนอโดย พิจิตร วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : พิจิตร
10 1532
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

กะลา เป็นไม้มะพร้าวเนื้อแข็งบาง เป็นวัสดุที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์และประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยโบราณและในปัจจุบันนี้กะลามะพร้าวได้ถูกนำมาสร้างสรรค์ เป็นงานหัตถกรรมหลากหลายรูปแบบ เหมาะสมกับการใช้งาน เนื่องจากกะลามะพร้าวเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กะลามะพร้าวมีลวดลายความงามตามธรรมชาติ รูปแบบเฉพาะที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย และภูมิปัญญาของ คนไทย ซึ่งในขณะนี้ทั่วโลกต้องการวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงสารพิษจากวัสดุสังเคราะห์ ดังนั้น งานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว จึงเป็นงานที่ได้รับความสนใจค่อนข้างมาก ทำให้มีกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวเกิดขึ้นมากมายหลายกลุ่มด้วยกัน ปัจจุบันกะลามะพร้าว ถูกแปรรูปออกเป็นของใช้ในหลาย ๆ อย่างที่ให้เข้ากับสมัยในปัจจุบันและเพิ่มความน่าสนใจลงไปให้ตัวของกะลามะพร้าว จึงทำให้สินค้าจากกะลามะพร้าวเป็นที่สนใจ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากขึ้น เพิ่มคุณค่าจากกะลาที่ไร้ค่ามาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่นอกจากจะทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ เครื่องประดับเครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีเช่น กระเป๋าถือ เข็มขัด เข็มกลัด ปิ่นปักผม สร้อย ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่นิยมของชาวไทยและชาวต่างชาติ ทั้งยังสร้างรายได้ที่เพิ่มพูนให้แก่คนไทยที่ยากไร้ในชนบท

อำเภอดงเจริญ ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสามารถทำนาได้ ปีละ ๑ ครั้ง เมื่อเว้นว่างจากการทำนา จึงต้องหาอาชีพเสริมและเห็นวัสดุเหลือใช้ คือกะลามะพร้าว สามารถที่จะนำมาต่อยอดเป็นอย่างอื่นได้ เริ่มต้นจากผลิตเป็นของใช้ใน ครัวเรือน ต่อมาคิดประดิษฐ์ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น ทำเข็มขัด สร้อยข้อมือ ต่างหู เข็มกลัดติดเสื้อ ยางรัดผม ปิ่นปักผม กระเป๋า เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวเป็นงานหัตถกรรม โดยช่างที่มีฝีมือจากชุมชนบ้านไดรัง ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร คือ นายนิคม แก้วชาลี และ นางสุภาพ แก้วชาลี เป็นผู้ประดิษฐ์ และมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบพัฒนาขึ้นให้มีความหลากหลาย กะลามะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจุดเด่นอยู่ที่การสะท้อนถึงทักษะภูมิปัญญาของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิต ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้ เป็นงานฝีมือที่สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชนจนกลายเป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ CPOT จากกระทรวงวัฒนธรรม

วัตถุประสงค

๑) นำวัสดุเหลือใช้ คือกะลามะพร้าว มาต่อยอดเป็นสิ่งของต่างๆสำหรับใช้งาน และเครื่องประดับ

๒) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

วัสดุ/อุปกรณ์

๑) กะลามะพร้าว ๓-๔ ลูก

๒) กระดาษทราย

๓) เส้นหวาย

๔) กาว

๕) ด้าย

๖) ลูกปัดกะลา

กระบวนการ/ขั้นตอน (ทำอย่างไร)

๑) คัดเลือกมะพร้าวให้เหมาะสม โดยเลือกใช้มะพร้าว ๓-๔ ลูก

๒) ขัดผิวกะลา นำกะลาที่คัดแล้ว ขูดขุยมะพร้าวให้เกลี้ยงตัดด้านบนเพื่อนำน้ำและเนื้อมะพร้าวออกให้เหลือเฉพาะเนื้อกะลา จากนั้นนำไปขัดด้วยกระดาษทราย ให้ผิวกะลาเรียบทั้งในและนอกตัวกะลา

๓) ออกแบบแต่ละชิ้นงานวาดลวดลายตามต้องการ ให้สวยงาม แล้วนำมาเจาะรูทำส่วน ฝากระเป๋า

๔) นำลูกปัดกะลามาต่อเป็นฐานกระเป๋าให้กะลามะพร้าวสามารถตั้งวางได้และนำด้ายมา ผูกกับเส้นหวายเพื่อทำเป็นสายกระเป๋า

๕) นำกะละมะพร้าวประกอบเป็นกระเป๋า และเคลือบเงาเพื่อให้สวยงาม

สถานที่ตั้งขององค์ความรู้

บ้านนางสุภาพ แก้วชาลี เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร

คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้

๑. คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

- มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เพิ่มขึ้น

- การประยุกต์ใช้สิ่งของที่ไม่มีประโยชน์แล้วนำกลับมาผลิตเป็นสินค้า / ผลิตภัณฑ์ ออกจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับชุมชน

๒. บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

- เพี่อให้ประชาชนในท้องถิ่น ได้มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

- เพี่อส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม

- ได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร เป็นผลิตภัณฑ์ CPOT และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดงเจริญ เป็น ผลิตภัณฑ์ OTOP

สถานภาพปัจจุบัน

๑. สถานะการคงอยู่ขององค์ความรู้

- มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย

๒. สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม

สถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา COVID -๑๙ ทำให้ไม่สามารถไปออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ส่งผลให้รายได้ลดลง

ข้อเสนอแนะ

- เด็ก และเยาวชน ในพื้นที่ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ ควรมีการเรียนรู้ รักษา ต่อยอดการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวให้ยังคงอยู่

ข้อมูลอ้างอิงบุคคล

ชื่อ-นามสกุล นางสุภาพ แก้วชาลี

ตำแหน่ง ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ที่อยู่ บ้านเลขที่ - หมู่ที่ ๕ ตำบลห้วยร่วม อำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร

รหัสไปรษณีย์ ๖๖๒๑๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๖๓-๖๘๑๓๗๘๑

ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ

๑)https://wegophatthalung.comสืบค้นเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕

๒) อรอนงค์ ทองปานดี, อุดมศักดิ์เดโชชัย, จิตติมา ดำรงวัฒนะ และเดโช แขน้ำแก้ว. (๒๕๖๐). การศึกษากระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว กรณีศึกษา : กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าว บ้านคอกวัว หมู่ที่ ๑ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ : วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑.

ข้อมูลเจ้าของเรื่อง (ผู้สัมภาษณ์)

ชื่อ-นามสกุล นางสาวเบญจรัตน์ พรานระวัง

ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ

หน่วยงาน/องค์กร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร

ที่อยู่หน่วยงาน/องค์กร ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) ถนนบุษบา

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

เบอร์โทรสำนักงาน ๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕

ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๓๗๑ หมู่ที่ ๑ ตำบลตะกุดไร อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

รหัสไปรษณีย์ ๖๗๑๙๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๗๔๒๙๑๐

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
บ้านนางสุภาพ แก้วชาลี
เลขที่ 17 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล ห้วยร่วม อำเภอ ดงเจริญ จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านนางสุภาพ แก้วชาลี
บุคคลอ้างอิง นางสาวเบญจรัตน์ พรานระวัง
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม)
ถนน บุษบา
อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 081-8742910 โทรสาร 0 5661 2675
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่