ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 7° 37' 5.9999"
7.6183333
Longitude : E 100° 4' 23.9999"
100.0733333
No. : 196265
สุทธิกรรมชาดก
Proposed by. พัทลุง Date 20 March 2022
Approved by. พัทลุง Date 5 January 2023
Province : Phatthalung
0 1582
Description

สุทธิกรรมชาดก เป็นวรรณกรรมคำสอนที่ใช้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาและคติธรรมของสังคมเป็นเนื้อหาสำคัญในการแต่ง เป็นวรรณกรรมที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งแต่จากการสืบถามผู้สูงอายุทราบว่า ผู้แต่งคือพระอุดมปิฎกเปรียญ ๙ ประโยค อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพ-มหานคร ท่านเป็นชาวจังหวัดพัทลุง (ดู พระอุดมปิฎก) แต่งเรื่องนี้ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ พ.ศ.๒๔๐๖ แต่งด้วยคำประพันธ์๓ ชนิด คือ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์ยานี้ ๑๑

วรรณกรรมเรื่องนี้มุ่งสอนให้ผู้อ่านได้ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามตามคำสอนของพระพุทธองค์และคติธรรมของสังคม ผลที่ผู้แต่งคาดหวังไว้คือ เมื่อพุทธศาสนิกชนปฏิบัติตามเป็นส่วนมากแล้วความสงบสุขในสังคมก็บังเกิดขึ้น

สุทธิกรรมชาดกได้เค้าโครงเรื่องในการแต่งจากเรื่องมิตตามิตชาดก และเรื่องทุกัมมานิกชาดกในนิบาตชาดก เรื่องที่๑๓ ในปัญญาสชาดก การแต่งเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู ยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์บูชาเทวดา และรำลึกถึงครูบาอาจารย์ที่ให้การอบรมสั่งสอน แล้วดำเนินเรื่อง จบด้วยบอกจุดประสงค์ในการแต่งว่าเพื่อให้เป็นคุณประโยชน์แก่กุลบุตรผู้แสวงหาความดีเนื้อเรื่องโดยย่อมีว่ากุฎุมพีคนหนึ่งเป็นผู้ประพฤติดีมีคุณธรรมมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อสุทธิกรรม สุทธิกรรมคบเพื่อนไม่เลือกหน้าจนบิดาเป็นห่วง จึงได้สั่งสอนและทดลองให้ลูกชายได้ประจักษ์ว่าการคบมิตรต้องเลือกให้ดี ไม่เช่นนั้นจะพบกับความเดือดร้อนก่อนถึงแก่กรรม บิดาสุทธิกรรมได้สอนสุทธิกรรมไว้ว่าอย่าคบคน๔ พวก คือ ชาย ๓ โบสถ์ หญิง ๓ ตัว ศิษย์ร่ายครู และพระราชาไร้ความยุติธรรม เมื่อบิดาถึงแก่กรรม สุทธิกรรมต้องการทดสอบคำสอนของบิดาจึงคบคน ๔ พวกนี้ตามลำดับในที่สุดก็ได้ประจักษ์ว่าคน ๔ พวกนี้นำความเดือดร้อน และความเสื่อมเสียมาสู่ผู้ที่คบหาสมาคมด้วย สุทธิกรรมจึงเลิกคบคน ๔ พวกดังกล่าวนี้ ตอนที่ใกล้ชิดพระราชาไร้ความยุติธรรมสุทธิกรรมได้สอนข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาแด่พระราชาไว้หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องศีล ๕ เน้นไว้มากที่สุดเมื่อสอนเสร็จเดินทางออกจากเมืองไปโดยไม่ฟังคำขอร้องในการให้อยู่ในเมืองของพระราชาแต่ประการใด ด้วยผลแห่งความดีที่สร้างสมไว้ตลอดมา สุทธิกรรมจึงได้เป็นพระราชาปกครองประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดพระชนม์ชีพ

Location
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung
Details of access
สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ เล่ม ๑๖. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
Reference นางสาวนิศาชล มีศรี Email meesri.nisachon@gmail.com
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง
Road ราเมศวร์
Tambon คูหาสวรรค์ Amphoe Mueang Phatthalung Province Phatthalung ZIP code 93000
Tel. ๐๗๔-๖๑๗๙๕๘ Fax. ๐๗๔-๖๑๗๙๕๙
Website https://www.m-culture.go.th/phatthalung/main.php?filename=index
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่