ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 57' 54.0972"
13.9650270
Longitude : E 101° 26' 53.2576"
101.4481271
No. : 197892
ประเพณีวัฒนธรรมไทพวน บุญข้าวหลาม บ้านดงกระทงยาม
Proposed by. ปราจีนบุรี Date 8 May 2023
Approved by. ปราจีนบุรี Date 11 May 2023
Province : Prachin Buri
0 406
Description

งานประเพณีบุญข้าวหลาม บ้านดงกระทงยาม เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีหนึ่งของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนจากนครเวียงจันทน์ที่อพยพย้ายถิ่นฐานมายังแถบลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวบ้านบางส่วนในพื้นที่ตำบลดงกระทงยาม ยังคงรักษาและสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวน ผ่านการทำกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่”

วัฒนธรรมประเพณี “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวน เป็นเอกลักษณ์ที่เชื่อมโยงเอาพิธีกรรมความเชื่อในเรื่องผี วิถีชีวิตทางการเกษตร เข้ากับความศรัทธาในพุทธศาสนา โดยคำว่า ฮีต มาจากคำว่า จารีต หมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ส่วนคำว่า สิบสอง หมายถึง จำนวนสิบสองเดือน ตามปฏิทินรอบปี คำว่า “ฮีตสิบสอง” จึงหมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติกันในรอบสิบสองเดือนของแต่ละปี ขณะที่คำว่า คองสิบสี่ คำว่า คอง หมายถึง แนวทางหรือครรลอง ส่วนคำว่า สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคำว่า คองสิบสี่ จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิวัติในการดำเนินชีวิตของผู้คนในทุกระดับ

งานประเพณีบุญข้าวหลาม เป็นส่วนหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณี “ฮีตสิบสอง คองสิบสี่” ของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนบ้านดงกระทงยาม โดยนิยมจัดขึ้นในช่วงเดือน 3 ของทุกปี เป็นงานประเพณีที่ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลดงกระทงยามจะร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจกรรมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปทำบุญถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ณ วัดใหม่ดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุร

ประวัติความเป็นมา

ประเพณีวัฒนธรรมไทพวน (บุญข้าวหลาม) บ้านดงกระทงยาม เป็นงานวัฒนธรรมประเพณีที่ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนในพื้นที่ตำบลดงกระทงยาม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี รักษาและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน โดยเป็นประเพณีการทำบุญถวายข้าวหลามแด่พระภิกษุสงฆ์ในช่วงเดือน 3 ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว

ด้วยประวัติศาสตร์พื้นเพของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนมีทักษะความสามารถในด้านการทำการเกษตร จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลดงกระทงยามประกอบอาชีพทำนา และทำให้ ข้าว ถือเป็นพืชผลหลักทางการเกษตรของชาวบ้าน โดยในช่วงเดือน 3 ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวที่ได้รับการเก็บเกี่ยวในครั้งแรกซึ่งเรียกกันว่า “ข้าวใหม่” จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ชาวบ้านจึงนิยมนำข้าว (ข้าวเหนียว) มาเป็นส่วนผสมคลุกเคล้ากับวัตถุดิบต่าง ๆ จนกลายเป็น “ข้าวหลาม” นำมาหยอดลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วทำการเผาจน “ข้าวหลาม” ข้างในกระบอกสุก แล้วจึงนำ “ข้าวหลาม” ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อทำบุญตามความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยชาวบ้านจะนิยมนำข้าวหลามไปทำบุญที่วัดในเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

อัตลักษณ์ของประเพณีวัฒนธรรมไทพวน (บุญข้าวหลาม)

ประเพณีวัฒนธรรมไทพวน (บุญข้าวหลาม) บ้านดงกระทงยาม เป็นประเพณีวัฒนธรรมที่สะท้อนภูมิธรรม ภูมิปัญญา เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และความเชื่อของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนบ้านดงกระทงยาม อย่างน้อย 3 มิติ คือ หนึ่ง สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนบ้านดงกระทงยามที่ผูกโยงกับทักษะทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าว ซึ่งเป็นภูมิปัญญาทางด้านการเกษตรที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวน สอง สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางด้านอาหารในการนำพืชผลทางการเกษตรอย่างข้าวมาแปรรูปเป็นอาหารพื้นถิ่นอย่าง “ข้าวหลาม” และ สาม สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวน ผ่านการร่วมกันทำกิจกรรมเผาข้าวหลาม เพื่อนำไปบุญถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่วัด

สำหรับกิจกรรมในประเพณีวัฒนธรรมไทพวน (บุญข้าวหลาม) บ้านดงกระทงยาม นอกจากกิจกรรมการเผาข้าวหลามแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ไทพวนบ้านดงกระทงยาม เช่น การประกวดเทพีข้าวหลาม การแข่งขันกินข้าวหลามการแข่งขันหุงข้าวหม้อดินเกมภาษาพวน วิถีชีวิตไทยพวน แต่งกายย้อนยุคไทยพวน และการละเล่นพื้นบ้านของลูกหลานไทยพวน

Location
วัดใหม่ดงกระทงยาม
Tambon ดงกระทงยาม Amphoe Si Maha Phot Province Prachin Buri
Details of access
Reference ร.ต.ต.วิบูลย์ งามวงศ์
Tambon ดงกระทงยาม Amphoe Si Maha Phot Province Prachin Buri ZIP code 25140
Tel. 081-9777849
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่