ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 6' 44.2411"
13.1122892
Longitude : E 99° 56' 6.7823"
99.9352173
No. : 89224
อำเภอเมืองเพชรบุรี
Proposed by. อรอนงค์ บุญประเสริฐ Date 2 June 2011
Approved by. เพชรบุรี Date 2 June 2011
Province : Phetchaburi
0 408
Description
อำเภอเมืองเพชรบุรี เดิมอำเภอนี้ตั้งอยู่ที่วัดอินทาราม (วัดร้าง) ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี ริมทางรถไฟใกล้บ้านนามอญในตำบลท่าราบ ต่อมามีการสำรวจกรุยเส้นทางจะสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองเพชรบุรี ก็พอดีถูกตรงที่อำเภอนี้และผ่านเข้าไปในบริเวณวัดใหญ่สุวรรณารามด้วย ในเวลานั้น ได้ก่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นในตำบลคลองกระแชง ซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ ตามแผนย้ายเมืองจากฝั่งตะวันออกไปตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก และอำเภอเมืองต้องย้ายตามไปตั้งเข้าแนวเดียวกับศาลากลางจังหวัดด้วย (แต่ภายหลังเส้นทางรถไฟเปลี่ยนย้ายห่างออกไปทางทิศเหนือเพื่อไม่ให้ตัดผ่าเข้าไปในวัดใหญ่สุวรรณาราม ทั้งนี้เพราะเจ้าอาวาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อเสด็จประพาสเพชรบุรี ได้ทูลขอมิให้ตัดทางรถไฟผ่าเข้าในวัด จึงทรงโปรดฯ ให้ย้ายทางหลีกวัดไปไกล ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้) ส่วนอำเภอต้องรื้อไปก่อสร้างต่อแนวศาลากลางจังหวัดตามผังเมืองใหม่ สร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ๓ ห้อง ออกมุขกลางมุงด้วยสังกะสี ใช้ชื่อว่า “ที่ว่าการอำเภอเมืองเพชรบุรี” แต่ภายหลังกระทรวงมหาดไทยสั่งให้เปลี่ยนชื่อตามตำบลที่ตั้ง จึงเปลี่ยนเป็น “อำเภอคลองกระแชง” เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๗๑ ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ในที่เดิมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นครึ่ง แบ่งออกเป็น ๖ ห้อง ยื่นมุขกลางจากเฉลียงนอกห้องทาสีและหลังคามุงกระเบื้อง ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้อำเภอที่ตั้งเมืองทุกจังหวัด เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอเมือง” เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ ฉะนั้นอำเภอคลองกระแชงจึงเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองเพชรบุรีเหมือนเมื่อ ครั้งแรกตั้งชื่ออำเภอ เมื่อตั้งอยู่ที่วัดอินทาราม (ร้าง) ฝั่งท่าราบนั้น จะมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฎ เพราะสมัยโบราณก่อนที่จะย้ายอำเภอไปตั้งฝั่งคลองกระแชงนั้น ตั้งเป็นแขวง ฝั่งตะวันออกมีขุนชำนาญเป็นนายแขวง ราษฎรจึงพากันเรียกว่า แขวงขุนชำนาญ ฯ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรีมีหลวงพรหมสารเป็นนายแขวง ราษฎรจึงเรียกกันว่า แขวงหลวงพรหมฯ ส่วนลงไปทางทิศใต้สุดเขตเพชรบุรี มีหลวงศรีทิพย์ภิบาล เป็นนายแขวง จึงเรียกว่า แขวงหลวงศรี ฯ แต่คำว่า อำเภอคลองกระแชง ตามชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอซึ่งได้ชื่อว่า คลองกระแชง ก็เพราะในตำบลนี้มีคลองเก่าผ่านไปทางบ้านดอนคาน ถึงสะพานยี่หน ตามลำคลองสายนี้มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองหลายบ้าน ซึ่งมีอาชีพเย็บกระแชงขายแก่พวกเรือค้า แต่ที่บ้านดอนคานซึ่งมีชื่อมาจนเดี๋ยวนี้ก็เพราะเป็นที่ นำเรือขึ้นคาน เพื่อตอกหมันยาชัน หรือรับจ้างซ่อมเรือกระแชงนั่นเอง ปัจจุบันนี้เป็นที่นาที่ไร่ ไม่เป็นลำคลองเสียแล้ว เพราะค่อยๆ ตื้นเขินจนหมดเป็นที่ราบไปเลย การเปลี่ยนแปลงตำบลและหมู่บ้านในสมัยโบราณนั้น คงจะเปลี่ยนย้ายโอนกันไปกันมาโดยเห็นว่าเหมาะสมให้ความสะดวกแก่ราษฎรเป็นสำคัญ ทั้งทางอาชีพและคมนาคม ตามกาลสมัยอยู่เสมอมา แต่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏ แน่ชัด เท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มีดังนี้ ๑. ตำบลหัวสะพาน กับตำบลต้นมะพร้าว เดิมอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย เหตุเพราะมีถนนดินพอรถจะวิ่งได้ถึง จึงโอนมาขึ้นกับอำเภอเมือง ๒. ตำบลบางจาน ตำบลสำมะโรง ตำบลนาพันสาม และตำบลหาดเจ้าสำราญ เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านแหลม ได้โอนมาอยู่อำเภอเมือง ๓. ตำบลในอำเภอบ้านลาดซึ่งยกฐานะเป็นอำเภอในชั้นแรกทั้งหมดทุกตำบล เป็นเขตของอำเภอเมือง ๔. ตำบลดอนยางกับตำบลหนองขนาน เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่เมื่อย้ายอำเภอหนองจอกไปอยู่ที่ตำบลชะอำ เรียกว่า อำเภอชะอำ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ แล้วจึงโอน ๒ ตำบลนี้มาขึ้นกับ อำเภอเมือง เพื่อความสะดวกของราษฎรเป็นสำคัญ ที่มาข้อมูล ชาญ ชาญใช้จักร, เรือเอก. ประวัติมหาดไทย. โรงพิมพ์อนุกูลกิจ, เพชรบุรี. ๒๕๑๐. หน้า ๘๑ – ๘๔
Category
Cultural Network
Location
อำเภอเมืองเพชรบุรี
Tambon คลองกระแชง Amphoe Mueang Phetchaburi Province Phetchaburi
Details of access
Reference นางชูศรี เย็นจิตร์
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
Tambon คลองกระแชง Amphoe Mueang Phetchaburi Province Phetchaburi ZIP code 76000
Tel. 032424324 Fax. 032424325
Website http://province.m-culture.go.th/petchaburi
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่