ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 6' 44.2411"
13.1122892
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 56' 6.7823"
99.9352173
เลขที่ : 89224
อำเภอเมืองเพชรบุรี
เสนอโดย อรอนงค์ บุญประเสริฐ วันที่ 2 มิถุนายน 2554
อนุมัติโดย เพชรบุรี วันที่ 2 มิถุนายน 2554
จังหวัด : เพชรบุรี
0 409
รายละเอียด
อำเภอเมืองเพชรบุรี เดิมอำเภอนี้ตั้งอยู่ที่วัดอินทาราม (วัดร้าง) ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรี ริมทางรถไฟใกล้บ้านนามอญในตำบลท่าราบ ต่อมามีการสำรวจกรุยเส้นทางจะสร้างทางรถไฟสายใต้ผ่านเมืองเพชรบุรี ก็พอดีถูกตรงที่อำเภอนี้และผ่านเข้าไปในบริเวณวัดใหญ่สุวรรณารามด้วย ในเวลานั้น ได้ก่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นในตำบลคลองกระแชง ซึ่งตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ ตามแผนย้ายเมืองจากฝั่งตะวันออกไปตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก และอำเภอเมืองต้องย้ายตามไปตั้งเข้าแนวเดียวกับศาลากลางจังหวัดด้วย (แต่ภายหลังเส้นทางรถไฟเปลี่ยนย้ายห่างออกไปทางทิศเหนือเพื่อไม่ให้ตัดผ่าเข้าไปในวัดใหญ่สุวรรณาราม ทั้งนี้เพราะเจ้าอาวาสได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อเสด็จประพาสเพชรบุรี ได้ทูลขอมิให้ตัดทางรถไฟผ่าเข้าในวัด จึงทรงโปรดฯ ให้ย้ายทางหลีกวัดไปไกล ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้) ส่วนอำเภอต้องรื้อไปก่อสร้างต่อแนวศาลากลางจังหวัดตามผังเมืองใหม่ สร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ๓ ห้อง ออกมุขกลางมุงด้วยสังกะสี ใช้ชื่อว่า “ที่ว่าการอำเภอเมืองเพชรบุรี” แต่ภายหลังกระทรวงมหาดไทยสั่งให้เปลี่ยนชื่อตามตำบลที่ตั้ง จึงเปลี่ยนเป็น “อำเภอคลองกระแชง” เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๗๑ ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ในที่เดิมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเป็นอาคารไม้ ๒ ชั้นครึ่ง แบ่งออกเป็น ๖ ห้อง ยื่นมุขกลางจากเฉลียงนอกห้องทาสีและหลังคามุงกระเบื้อง ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งให้อำเภอที่ตั้งเมืองทุกจังหวัด เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอเมือง” เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ ฉะนั้นอำเภอคลองกระแชงจึงเปลี่ยนเป็นอำเภอเมืองเพชรบุรีเหมือนเมื่อ ครั้งแรกตั้งชื่ออำเภอ เมื่อตั้งอยู่ที่วัดอินทาราม (ร้าง) ฝั่งท่าราบนั้น จะมีชื่ออย่างไรไม่ปรากฎ เพราะสมัยโบราณก่อนที่จะย้ายอำเภอไปตั้งฝั่งคลองกระแชงนั้น ตั้งเป็นแขวง ฝั่งตะวันออกมีขุนชำนาญเป็นนายแขวง ราษฎรจึงพากันเรียกว่า แขวงขุนชำนาญ ฯ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรีมีหลวงพรหมสารเป็นนายแขวง ราษฎรจึงเรียกกันว่า แขวงหลวงพรหมฯ ส่วนลงไปทางทิศใต้สุดเขตเพชรบุรี มีหลวงศรีทิพย์ภิบาล เป็นนายแขวง จึงเรียกว่า แขวงหลวงศรี ฯ แต่คำว่า อำเภอคลองกระแชง ตามชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอซึ่งได้ชื่อว่า คลองกระแชง ก็เพราะในตำบลนี้มีคลองเก่าผ่านไปทางบ้านดอนคาน ถึงสะพานยี่หน ตามลำคลองสายนี้มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองหลายบ้าน ซึ่งมีอาชีพเย็บกระแชงขายแก่พวกเรือค้า แต่ที่บ้านดอนคานซึ่งมีชื่อมาจนเดี๋ยวนี้ก็เพราะเป็นที่ นำเรือขึ้นคาน เพื่อตอกหมันยาชัน หรือรับจ้างซ่อมเรือกระแชงนั่นเอง ปัจจุบันนี้เป็นที่นาที่ไร่ ไม่เป็นลำคลองเสียแล้ว เพราะค่อยๆ ตื้นเขินจนหมดเป็นที่ราบไปเลย การเปลี่ยนแปลงตำบลและหมู่บ้านในสมัยโบราณนั้น คงจะเปลี่ยนย้ายโอนกันไปกันมาโดยเห็นว่าเหมาะสมให้ความสะดวกแก่ราษฎรเป็นสำคัญ ทั้งทางอาชีพและคมนาคม ตามกาลสมัยอยู่เสมอมา แต่ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏ แน่ชัด เท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่มีดังนี้ ๑. ตำบลหัวสะพาน กับตำบลต้นมะพร้าว เดิมอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย เหตุเพราะมีถนนดินพอรถจะวิ่งได้ถึง จึงโอนมาขึ้นกับอำเภอเมือง ๒. ตำบลบางจาน ตำบลสำมะโรง ตำบลนาพันสาม และตำบลหาดเจ้าสำราญ เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบ้านแหลม ได้โอนมาอยู่อำเภอเมือง ๓. ตำบลในอำเภอบ้านลาดซึ่งยกฐานะเป็นอำเภอในชั้นแรกทั้งหมดทุกตำบล เป็นเขตของอำเภอเมือง ๔. ตำบลดอนยางกับตำบลหนองขนาน เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่เมื่อย้ายอำเภอหนองจอกไปอยู่ที่ตำบลชะอำ เรียกว่า อำเภอชะอำ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ แล้วจึงโอน ๒ ตำบลนี้มาขึ้นกับ อำเภอเมือง เพื่อความสะดวกของราษฎรเป็นสำคัญ ที่มาข้อมูล ชาญ ชาญใช้จักร, เรือเอก. ประวัติมหาดไทย. โรงพิมพ์อนุกูลกิจ, เพชรบุรี. ๒๕๑๐. หน้า ๘๑ – ๘๔
สถานที่ตั้ง
อำเภอเมืองเพชรบุรี
ตำบล คลองกระแชง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางชูศรี เย็นจิตร์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี
ตำบล คลองกระแชง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76000
โทรศัพท์ 032424324 โทรสาร 032424325
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/petchaburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่