ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 36' 55.7082"
14.6154745
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 43' 37.7324"
100.7271479
เลขที่ : 161973
งานประเพณีทิ้งกระจาด
เสนอโดย warranittha chan-iam วันที่ 1 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย สระบุรี วันที่ 14 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สระบุรี
0 536
รายละเอียด

งานประเพณีทิ้งกระจาดนี้จะเริ่มหลังวันสารทจีน ๓ วัน วันเพ็ญเดือน ๗ ตามปฏิทินจีน ประมาณปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายน ตามปฏิทินไทย ซึ่งในช่วงเดือน ๗ คนจีนถือว่าเป็นเดือนผี เรียกว่า “กุ้ยโจ่ย”เพราะว่ากันว่าทางนรกภูมิจะมีการปล่อยดวงวิญญาณให้ออกมารับส่วนบุญในโลกมนุษย์อย่างเป็นทางการกำหนดเวลาให้ ๑ เดือน เมื่อครบกำหนดสิ้นเดือน ๗ แล้ว บรรดาวิญญาณเหล่านี้ต้องกลับสู่ที่เดิม มีบางท่านเรียกว่า “เปิดและปิดประตูผี”

ในการไหว้สารทจีน ที่นอกจากตามบ้านจะมีการ “ไป๊ฮ้อเฮียตี๋” คือไหว้ผีไม่มีญาติแล้ว ตามวัดจีนและศาลเจ้าต่างๆ ก็จะมีการทำพิธี “ซิโกว”แปลเป็นไทยได้ว่า ทิ้งกระจาดวิญญาณ ตามวัดและศาลเจ้าต่างๆ จะมีการทิ้งทานหรือทิ้งกระจาดให้คนยากคนจนในวันนี้วันนั้น

ของที่ให้เป็นทาน ก็คือของที่คนนำมาบริจาคหรือนำมาไหว้ในงานซิโกวนั่นเอง เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคอันได้แก่ ข้าวสาร บะหมี่ น้ำมัน ผ้าห่ม หมวกกันฝน ที่เรียกกันว่า “โก๊ยโล้ย”ทุกอย่างที่คนนำมาทำบุญ

งานทิ้งกระจาดนี้จึงเท่ากับเป็นการทำทานในสองมิติคือ ทำทานให้ทั้งกับคนจนและวิญญาณไร้ญาติ ซึ่งจะจุดธูปเชิญดวงวิญญาณไร้ญาติทุกประเภท และทุกจำพวก ซึ่งในทางพระจะมีแยกประเภทเลยว่า

ตายในน้ำมี ๑๒ จำพวก

ตายในอากาศมี ๑๒ จำพวก

ตายบนบกมีอีก ๑๒ จำพวก

รวมทั้งสิ้น ๓๖ จำพวก

อีกนัยหนึ่ง จะมีที่อยู่ของดวงวิญญาณ เรียกว่า คติ ๖ คือ

นรกคติเปรตคติเดียรัจฉานคติอสุรกายคติมนุษยคติและสวรรค์คติ

จะเชิญดวงวิญญาณไร้ญาติใน ๔ คติแรกให้มารับส่วนบุญกุศลที่คนมาไหว้อุทิศให้ บุญอันเกิดจากการทิ้งทานให้คนจน และทานสำหรับวิญญาณคือเครื่องเซ่นไหว้ที่นอกจากจะมีของกินของใช้ดังกล่าวข้างต้น ก็ยังมีกระดาษเงินกระดาษทองอีกมากมาย

สถานที่ตั้ง
ตำบล บ้านหมอ อำเภอ บ้านหมอ จังหวัด สระบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านหมอ
ตำบล บ้านหมอ อำเภอ บ้านหมอ จังหวัด สระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่